เปิดชีวประวัติ “พล.อ.เปรม” รัฐบุรุษในตำนาน 5 แผ่นดิน ถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 98 ปี

เช้าวันนี้ 26 พ.ค.62 เวลา 9.00น. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ถึงอสัญกรรมด้วยวัย 98 ปี ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏ สำหรับชีวประวัติ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายทหารแห่งกองทัพบก ที่เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงมีพระชนมชีพและทรงครองราชย์ อยู่ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่่ 1 มกราคม 2423-26 พฤศจิกายน 2468 นับถึงปัจจุบัน พล.อ.เปรม จึงเป็นคนไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ยังอยู่ในราชการ รับใช้ประเทศชาติ ทดแทนคุณแผ่นดินนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลที่ 10 รวมถึง 5 รัชกาล

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีรัฐบุรุษ ที่ปรึกษา และกรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี 2523 ถึง 2531

บุคลิกส่วนตัว พลเอกเปรม เป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม 2531 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

 

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2463 ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) และนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2469 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา หมายเลขประจำตัว 167 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2478 เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 – 8 แผนกวิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หมายเลขประจำตัว 7587

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) เมื่อปี พ.ศ.2481 โดยเข้ารับการศึกษาเป็นรุ่นที่ 5 มีเพื่อนร่วมรุ่น 55 นาย สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2484 ใช้เวลาเพียง 3 ปี ไม่ครบ 5 ปี ตามหลักสูตร เนื่องจากเกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสขึ้น จึงจำเป็นต้องให้นักเรียนนายร้อยออกรับราชการก่อนกำหนด

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการเป็นผู้บังคับหมวด ประจำกรมรถรบ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2484 ปฏิบัติหน้าที่ ณ สมรภูมิรบปอยเปต ประเทศเขมร ในกรณีพิพาทในอินโดจีนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นว่าที่ร้อยตรี (รับกระบี่ในสนามรบ) เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2484

พ.ศ. 2485 – 2488 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงได้รับคำสั่งให้ไปประจำการเป็นกองหนุนของกองทัพพายัพ จังหวัดลำปาง ต่อมากองทัพเคลื่อนย้ายไปอยู่เชียงราย และได้รับคำสั่งให้ไปขึ้นอยู่กับกองพล.3 ที่เชียงตุง จนได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก และเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ลพบุรี

พ.ศ. 2489 – 2492 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ ได้เข้าศึกษาเป็นนายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนนายทหารม้า เมื่อจบการศึกษาได้กลับมารับตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยเดิม และรักษาราชการผู้บังคับกองพันที่ 1 กรมรถรบ

1 กรกฎาคม 2492 ได้รับพระราชทานยศ “พันตรี”

พ.ศ. 2493 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 3 กองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดอุตรดิตถ์ รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 4 และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์อีกตำแหน่งหนึ่ง

พ.ศ. 2495 ได้รับทุนจากกองทัพบกโดยการสอบแข่งขันได้ไปศึกษาต่อที่ The United States Army Armor School รัฐเคนตักกี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2497 กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในแผนกวิชายุทธวิธี กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ กองพลน้อยทหารม้า (กรุงเทพฯ)

30 มกราคม 2497 ได้รับพระราชทานยศ “พันโท”

พ.ศ. 2497 – 2498 เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 2 และเป็นอาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาทหาร กองการศึกษา โรงเรียนยานเกราะ

1 มกราคม 2499 ได้รับพระราชทานยศ “พันเอก”

พ.ศ. 2501 เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า

พ.ศ. 2506 เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และเป็นรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบก สระบุรี

พ.ศ. 2509 – 2510 เข้าศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9 (ยศพันเอก) เดินทางไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี

1 ตุลาคม 2511 ได้รับพระราชทานยศ “พลตรี” และให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า” และ “ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี” พ.ศ. 2512 เป็นองครักษ์เวร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

1 ตุลาคม 2516 เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 จังหวัดสกลนคร

1 ตุลาคม 2517 ได้รับพระราชทานยศ “พลโท” และดำรงตำแหน่ง “แม่ทัพภาคที่ 2” พ.ศ. 2518 เป็นราชองครักษ์พิเศษ

1 ตุลาคม 2520 ได้รับพระราชทานยศ “พลเอก” และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไปฝ่ายทหาร

พ.ศ. 2521 เป็นผู้บัญชาการทหารบก จนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2523 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติต่ออายุราชการอีก 1 ปี 26 สิงหาคม 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้อำลาการรับราชการทหาร


ตำแหน่งทางการเมือง
ในปี 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วงปี 2511 – 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร

พลเอกเปรมเข้าร่วมรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

พลเอกเปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ในช่วงนั้น พลเอกเปรม ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย

ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการทางการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวฺุฒิสมาชิก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2511 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2515 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2520 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 22พฤษภาคม 2522 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 3 มีนาคม 2523 จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2531 รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง มีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 5 ชุด รวมเวลาทั้งสิ้น 8 ปี 5 เดือน หลังจากการปฏิเสธการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกย่อง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษ และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึง วันที่ 13 ตุลาคม 2559

จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม – 1 ธันวาคม 2559 และดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2559 ถึงปัจจุบัน

 

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ดวงรายเดือน พฤษภาคม 2567 เปิดดวง 12 ราศี – “อ.ไวท์”

อาจารย์ไวท์ เปิดดวง เผย ดวงพฤษภาคม 2567 : 12 ราศี ต้นเดือนนี้มีข่าวดีเรื่องเงิน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช็กเลย!

ชายปริศนาบุกบ้าน อ้างรู้จักแม่ หวังลวนลาม แต่ดันเจอเด็กน้อยหลอกกลับ

ไม่หลงกล!? 2 พี่น้องหัวไว หลอกล่อลุงหื่น อ้างว่ารู้จักแม่ ก่อนพยายามลวนลาม สุดท้ายพี่สาววิ่งไปขอความช่วยเหลือ โดนจับทันควัน

แมทช์ได้ทุกชุด! กระเป๋าทรง TOTE ผู้ชาย 9 ใบ ที่ถือยังไงก็ดูเท่!

แนะนำกระเป๋าทรง TOTE สำหรับคุณผู้ชายทั้งหมด 9 ใบ ที่ถือยังไงก็ดูเท่แบบไม่ที่ติ ช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้โดดเด่นตามสไตล์หลุยส์ วิตตอง

อุ๊ย! ผญบ.ฟินแลนด์ แชร์โพสต์ ช่วยขายรถ BM หลังส่งคืน แพรวพราว ลั่น ขอให้ขายออกไวๆ

ผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ แชร์โพสต์ ช่วยขายรถหรู BMW ที่ส่งคืนอดีตภรรยา แพรวพราว แสงทอง ลั่น ขอให้ขายออกไวๆ!

RIIZE บอยแบนด์ K-pop กลุ่มแรก ที่ได้รับเลือกจาก Spotify ให้เป็นศิลปิน RADAR!

ทำถึงเกินสำหรับน้องใหม่ RIIZE ที่ถูกรับเลือกจาก Spotify ให้เป็นศิลปินในโปรเจกต์ ‘RADAR KOREA’ ทำเอาความฮอตเพิ่มขึ้นไม่ไหว

จากปากครั้งแรก! ว่าน ธนกฤต ตอบชัดสถานะ ฟาง ธนันต์ธรญ์ ปมข่าวลือเลิกรา ?

จากปาก! ว่าน ธนกฤต ตอบครั้งแรกผ่านรายการ หลังไมค์ UNCENSORED ปมข่าวลือหนาหูเลิกราแฟนสาว ฟาง ธนันต์ธรญ์
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า