ในแต่ละปี ประเทศไทยมีคนพยายามฆ่าตัวตายประมาณ 50,300 ราย
และ ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมีประมาณ 4,000 คน หรือคิดเฉลี่ย วันละประมาณ 10 ราย
หรือ 1 รายในทุกๆ 2 ชั่วโมง
และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียถึง5เท่า
กลุ่มคนที่ฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวัยทำงาน
แต่ในปี 60 ตัวเลขการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้น จนใกล้เคียงกับวัยทำงาน
โดยสถิติแล้วผู้ชาย ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิงถึง4 เท่า
ในทางกลับกัน ผู้หญิงมีความพยายามในการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า
ในแต่ละปีประเทศไทยมีคนพยายามฆ่าตัวตายประมาณ 50,300 ราย และ ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมีประมาณ 4,000 คน หรือคิดเฉลี่ย วันละประมาณ 10 ราย หรือ 1 รายในทุกๆ 2 ชั่วโมง
อัตราการฆ่าตัวตายที่สำเร็จ มีข้อมูลทางสถิติย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2560 เมื่อเทียบกันระหว่างชายและหญิง พบว่า ในประชากร 1 แสนคน มีชายไทยฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิง
ปี 2557 9.6 คน
ปี 2558 10.54 คน
ปี 2559 10.29 คน
ปี 2560 9.93 ตามลำดับ
โดยในปี 2558 มีตัวเลขพุ่งขึ้นไปสูงที่สุดและค่อยๆลดลงมาในสองปีหลัง
สำหรับผู้หญิงพบว่ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จน้อยกว่าผู้ชายหลายเท่า โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 คน ต่อประชากรแสนคน
ปี 2557 2.65 คน
2558 2.53 คน
2559 2.56 คน
2560 2.28 คน
สำหรับวิธีการฆ่าตัวตายที่เลือกใช้ ข้อมูลจากปี 2560 พบว่า การแขวนคอ เป็นวิธีที่คนไทยใช้มากที่สุด คิดเป็น 79.82 %
ยาฆ่าแมลง 12.63%
สารเคมี 3.08%
ปืน 1.4%
ยาระงับปวด ยาลมชัก ยานอนหลับ 1.24%
ควันไฟ เปลวไฟ 0.03%
กระโดดน้ำ 0.02%
และที่สำคัญพบว่า การฆ่าตัวตายของบุคคลที่มีชื่อเสียง จะส่งผลให้เกิด copycat suicideเพิ่มมากถึง 14 เท่า
สำหรับการรณรงค์เนื่องในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกในปีนี้ เน้นในเรื่องการการเชื่อมต่อ กับคนรอบตัว (Social Connection) จากการศึกษาพบว่า การที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และมีความเชื่อมโยงทางสังคม จะเป็นการเพิ่มความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง และทำให้รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถลดระดับความวิตกกังวลและซึมเศร้า การแยกตัวออกจากสังคม เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการฆ่าตัวตาย แต่หากว่าการเชื่อมโยง (Connect)นั้นๆ เป็นการไปเชื่อมโยงกับกลุ่มคนที่มีความคิดอยากจะฆ่าตัวตายเหมือนกัน ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการฆ่าตัวตายมากยิ่งขึ้น