ใกล้ถึงวันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งในประเทศไทยชาวพุทธต่างถือโอกาสประกอบกิจกรรมทางศาสนาตามศาสนสถานต่างๆ กันอย่างพร้อมเพรียง การประกอบพิธีกรรมวันอาสาฬบูชาเป็นการปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมา แต่การกำหนดเป็นวันสำคัญมีการประกาศอย่างเป็นทางการ มารู้จัก “วันอาสาฬหบูชา” ในประเทศไทยกันค่ะ
วันอาสาฬหบูชาถูกกำหนดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยในปี 2501 โดยคณะสังฆมนตรี หรือมหาเถรสมาคมในปัจจุบัน ตามคำแนะนำของ “พระธรรมโกศาจารย์(ชอบ อนุจารี)” ออกประกาศโดยสำนักสังฆนายกใก้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมกำหนดพิธีอาสาฬบูชาขึ้น เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501
ไม่ปรากฎหลักฐานในประเทศไทยว่าในปี 2501 เคยมีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชามาก่อน การกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นการกำหนดแบบแผนการประกอบพิธีอย่างเป็นทางการ โดยหลังจากปี 2501 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการรณรงค์ให้มีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ร่วมใจกันประกอบพิธีนี้กันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายไปทุกจังหวัด จนกลายเป็นพิธีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทยตั้งแต่นั้นมา
ในวันที่ 6 มิถุนายน 2505 คณะรัฐมนตรีโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้น ได้ลงมติให้ประกาศกำหนดเพิ่มวันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส) และวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หลัง (ในปีมีอธิกมาส) เป็นวันหยุดราชการประจำปีอีก 1 วัน เพื่อให้ชาวพุทธได้ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างพร้อมเพรียงกัน
รู้แล้วใช่ไหมคะว่าวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทยมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมเราได้หยุดงาน 1 วัน จุดมุ่งหมายคือต้องการให้ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา…มีคนไปวัดด้วยหรือยังคะ