โลกเริ่มอยู่ยากขึ้นอีกแล้วค่ะ ชีวิตประจำวันของเราดูเหมือนจะมีสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้ามาให้พบเจอมากขึ้นทุกที ล่าสุด ทีมนักวิจัยฝั่งยุโรปได้ตรวจพบว่าอุจจาระของทีมงาน 8 คน มี ไมโครพลาสติก (Microplastics) ปนเปื้อนอยู่!! มีได้อย่างไร อันตรายแค่ไหน ไบรท์ออนไลน์มีรายละเอียดของข่าวนี้มาบอกกันค่ะ

 

ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนนะคะว่าเจ้า ‘ไมโครพลาสติก’ คือ ชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเล็กมากๆ (ประมาณ 1 นาโนเมตร) เทียบเท่าได้กับไวรัสจนถึงไข่มด มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าประเภทเครื่องสำอาง รวมถึงของใช้ส่วนตัวเริ่มที่มีการนำเอาไมโครบีดส์ (Microbeads) มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ต่อมามีการพบว่าไมโครบีดส์นี้หลุดลอดไปจากขั้นตอนการบำบัดน้ำเสียจนไปปนเปื้อนอยู่ในแม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้ตอนนี้ไมโครพลาสติกเหล่านี้เริ่มส่งผลต่อระบบนิเวศน์แล้ว

แต่… ข่าวที่ ‘ไบรท์ออนไลน์’ นำมาแจ้งนี้ต้องบอกว่า เป็นครั้งแรกเลยค่ะที่มีการค้นพบ Microplastics ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเจ้าอนุภาคขนาดเล็กชนิดนี้อาจกำลังแพร่กระจายอยู่ในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์เราแล้วก็เป็นได้!!!

การค้นพบครั้งนี้เกิดจาก หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศออสเตรีย ได้ทำการศึกษาเล็กๆ สุ่มตรวจอุจจาระของทีมงานจำนวน 8 คน จากญี่ปุ่น รัสเซีย และประเทศในยุโรป พบว่า ตัวอย่างอุจจาระของทั้ง 8 คน มีไมโครพลาสติกซึ่งเป็นพลาสติกที่แตกต่างกัน 9 จาก 10 ชนิดปนเปื้อนอยู่ โดยยังไม่ทราบแหล่งที่มาของพลาสติกแน่ชัด แต่พบว่าทั้ง 8 คนมีโอกาสสัมผัสกับพลาสติกผ่านการกินอาหารที่ห่อด้วยภาชนะพลาสติก หรือการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ซึ่งมีจำนวน 6 คนในกลุ่มนี้ที่กินปลาทะเล และไม่มีใครเป็นมังสวิรัติ

 

‘Philipp Schwabl’ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทางการแพทย์แห่งเวียนนา หัวหน้าทีมศึกษาเคสนี้ กล่าวว่า นับเป็นการศึกษาครั้งแรกที่ยืนยันข้อสงสัยซึ่งมีมานานแล้วว่าไมโครพลาสติกสามารถเข้าถึงลำไส้ของมนุษย์ได้หรือไม่ และเมื่อผลออกมาว่าเป็นไปได้ สิ่งที่น่ากังวลคือไมโครพลาสติกนี้จะส่งผลอย่างไรต่อมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร เพราะด้วยอนุภาคขนาดเล็กทำให้ไมโครพลาสติกสามารถเข้าสู่กระแสเลือด ระบบน้ำเหลือง จนไปถึงตับ และหากเข้าสู่ลำไส้เล็กอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของระบบทางเดินอาหาร หรือมีส่วนในการช่วยส่งผ่านสารพิษและเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ระบบทางเดินอาหารด้วย ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ประมาณการณ์ได้ว่า กว่า 50% ของประชากรโลกอาจมีไมโครพลาสติกในอุจจาระ และทีมนักวิจัยจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาก่อนหน้านี้พบไมโครพลาสติกในลำไส้ปลา หรือแม้แต่ในเครื่องปรุงอย่างเกลือ และยังมีการพบไมโครไฟเบอร์ในน้ำประปาทั่วโลก ในมหาสมุทร และแมลงบางชนิดด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศอิตาลีก็ตรวจพบไมโครพลาสติกในน้ำอัดลม และในนกหลายชนิด โดยพบเนื้อเยื่อที่มีลักษณะยื่นขึ้นมาจากพื้นผิวคล้ายกับนิ้วมือภายในลำไส้เล็กของนกที่มีไมโครพลาสติกในร่างกาย ซึ่งขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กและมีผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของตับ

ทั้งนี้ การใช้พลาสติกเป็นที่แพร่หลายมากในปัจจุบันจนแทบจะไม่สามารถแยกมันออกจากชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ เพราะจากสถิติพบว่ามีการซื้อขวดพลาสติกในทุกพื้นที่ทั่วโลกทุกนาที และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก 20% ภายในปี 2564 ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมีการดำเนินการเพื่อสกัดกั้นมลพิษพลาสติกที่เพิ่มขึ้น เช่น การห้ามใช้ไมโครบีดส์ในเขตอำนาจศาลบางแห่ง สหประชาชาติและประเทศอื่น ๆ เริ่มรณรงค์เกี่ยวกับกรณีที่มีเม็ดพลาสติก 8 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่ทะเลในแต่ละปี และก่ออันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล

ทางด้านรัฐสภายุโรปได้ลงมติเห็นชอบเมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่าห้ามใช้ไมโครพลาสติกในเครื่องสำอางที่ผลิตในยุโรป ขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการยุโรปก็มีการเสนอไม่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียว เช่น คัตตอนบัดส์ (Cotton Buds) และหลอดพลาสติก โดยกระตุ้นประเทศสมาชิกให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจกับผู้ผลิตในการมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อความสะอาดของท้องทะเล โดยในปี พ.ศ.2568 ประเทศในยุโรปควรมีการแก้ไขปัญหาเรื่องขวดพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวให้ได้ 90%

นอกจากนี้ รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศเกี่ยวกับข้อเสนอที่จะห้ามใช้หลอดพลาสติก เครื่องดื่มภาชนะพลาสติก และคัตตอนบัดส์ ซึ่งอาจถูกย่อยกลายเป็นไมโครพลาสติกได้ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนตุลาคม 2563

ก็ต้องมารอดูกันนะคะว่า มาตรการที่เหล่าชาติมหาอำนาจกำหนดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหา ‘Microplastic Fever’ นี้จะเพียงพอและทันท่วงทีหรือไม่ เพราะดูจากปริมาณการตรวจพบที่เรียกได้ว่ามหาศาล เข้าใกล้คำว่า 100 เปอร์เซ็นต์แบบนี้ ปัญหาของ ‘อนุภาคเล็กๆ’ น่าจะกลายเป็นมหากาพย์ที่สร้างผลกระทบวงกว้างระดับ ‘มหภาค’ ในไม่ช้า

ที่มา: www.theguardian.com

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“RIIZE” เตรียมปล่อยเพลง มินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้แฟนๆ ได้ฟังก่อนใคร!

RIIZE เตรียมปล่อยเพลงในมินิอัลบั้มชุดแรก ‘RIIZING’ ให้ได้ฟังกันก่อนใครในวันที่ 29 เมษยน 2024 นี้ พร้อมสไตล์ที่อันโดดเด่น

ศาลตัดสิน! แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” ไม่ได้รับมรดกสักแดงเดียว

แม่ของนักร้องสาว “คูฮารา” แพ้คดีความเรื่องมรดก และศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้สมาชิกในครอบครัวที่ดูแลเธอได้รับมรดกแทน

“Code Kunst” ตัดสินใจแยกทางกับ AOMG หลังอยู่มานานถึง 6 ปี

นักดนตรี/โปรดิวเซอร์ “Code Kunst” ชื่อดัง ได้ตัดสินใจแยกทางกับค่ายเพลง AOMG หลังจากอยู่มานานถึง 6 ปี ทำเอาใจหายไปกันทั้งทามไลน์

ลายพรางสุดโหด! จับสิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ปมฉุนแซวสาว

โหดเหี้ยม ตร.รวบ สิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ก่อนหิ้วป่าละเมาะ ใกล้ดอยสุเทพ เตรียมเร่งล่าผู้ต้องหาอีก 2 คน

อดีตผู้บริหารโพสต์โต้ข่าว หลัง เมากร่างถีบหน้าตร. ล่าสุดโดน 3 ข้อหาหนัก

ไม่ยอมเสียเปรียบ! อดีตผู้บริหารหญิงบ.ดังระดับโลก เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก หลังตร.แจ้ง 3 ข้อหาหนัก เจ้าตัวลั่น ไม่ขอเป็นเครื่องมือให้ใคร

“เจนนี่ BLACKPINK” ร่วมมือกับ Gentle Monster เปิดตัวคอลเลกชัน ‘Jentle Salon’

“เจนนี่ BLACKPINK” ร่วมมือกับ Gentle Monster เปิดตัวคอลเลกชั่น ‘Jentle Salon’ ทำเอาแฟนๆ ต่างจับจองซื้อตามกันทั่วโลก
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า