ไม่อยากระบบขับถ่ายพัง! ต้องรู้สิ่งเหล่านี้ก่อนกิน ไฟเบอร์ ตัวช่วยเรื่องสุขภาพ อยากปัง! ไม่อยากพัง! ต้องฟัง!
อยากจะพุงยุบจึงต้องกิน ไฟเบอร์ ในปริมาณที่มาก แต่สุดท้ายระบบขับถ่ายพัง ไม่ปังอย่างที่คิด! เพราะอะไร? วันนี้ ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) มีคำตอบ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไฟเบอร์ ช่วยแก้ปัญหาอาการท้องอืด,ระบบขับถ่ายไม่ดี ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์แปรรูปเป็นผงชง ผงโรย เจลลี่ และแบบเม็ด หรือไฟเบอร์ที่อยู่ในโปรตีนต่างๆ โดยจำแนกไฟเบอร์แต่ละชนิดดังนี้ ยกตัวอย่างเช่น
- อินนูลิน (Inulin) คือ ใยอาหารละลายน้ำที่ผ่านเข้าไปสู่ลำไส้ใหญ่ได้ จึงทำให้อุจจาระมีปริมาณมากขึ้น แก้ปัญหาท้องผูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยสร้างสมดุลแบคทีเรียในลำไส้
- ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo-Oligosaccharides หรือ FOS) คือ สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล สกัดมาจากพืช ร่างกายย่อยไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือด และยังเป็นพรีไบโอติก หรืออาหารสำหรับจุลินทรีย์ชนิดดี ซึ่งช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
- ไซเลียม ฮัสก์ หรือเทียนเกล็ดหอย (Psyllium Husk) เป็นเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายในน้ำ มีลักษณะเป็นเกล็ดขนาดเล็ก ต้องอาศัยน้ำในการพองตัว กินแล้วทำให้รู้สึกอิ่มนาน และมักนิยมนำมาใช้เป็นยาระบาย เพราะช่วยเพิ่มปริมาตรของอุจจาระ ทำให้ขับถ่ายออกมาง่ายขึ้น
- พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ ไฟเบอร์ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากน้ำตาลธรรมชาติ และยังจัดว่าเป็นอาหารของโพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์ชนิดดี ถ้าร่างกายมีพรีไบโอติกมาก ๆ จะทำให้โพรไบโอติกทำงานได้ดี ทำให้ร่างกายมีแบคทีเรียในลำไส้ที่สมดุล มีระบบย่อยอาหารที่ดี สามารถขับถ่ายคล่องขึ้น และแก้ปัญหาท้องผูก
- โพรไบโอติก (Probiotic) คือ จุลินทรีย์มีชีวิตชนิดดี พบในอาหารต่าง ๆ เช่น นมเปรี้ยว กิมจิ ขิงดอง เทมเป้ นัตโตะ คอมบูชา เป็นต้น มีประโยชน์ในการช่วยปรับสมดุลลำไส้ กำจัดเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร ลดอาหารท้องอืด ท้องเสีย กระตุ้นการขับถ่าย
หลักการกิน ไฟเบอร์ ที่ถูกต้องตามช่วงอายุ คือ
- เด็ก ควรได้รับใยอาหารโดยคำนวณจาก อายุ + 5 = จำนวนกรัมต่อวัน เช่น ปริมาณใยอาหารที่เด็กอายุ 10 ขวบ ควรได้รับ คือ 10 + 5= 15 กรัมต่อวัน
- สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะอยู่ที่ประมาณ 25 กรัมต่อวัน (25,000 มิลลิกรัม) แต่ถ้าเราได้รับไฟเบอร์สูงมากกว่า 50 กรัมต่อวัน จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการท้องอืด รวมทั้งขัดขวางการดูดซึมพวกวิตามินและเกลือแร่บางชนิดด้วย
อย่างไรก็ตาม จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความต้องการกินไฟเบอร์เพื่อแก้ปัญหาระบบขับถ่ายรวมถึงต้องการลดน้ำหนักเพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายเพื่อหวังให้หน้าท้องเล็กลง มักจะมากับข้อเสียของการกินไฟเบอร์มากเกินไป โดยข้อเสียของการกินไฟเบอร์มากเกินไป เพราะว่า การกินไฟเบอร์เยอะเกินไปจะทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุ แคลเซียม สังกะสี และธาตุเหล็ก ได้น้อยลง ร่างกายจะเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารและท้องอืด หรือท้องเสียได้ในบางคน และอีกหนึ่งเหตุผล
ชี้เป้าแหล่งโปรตีนพืชผสมไฟเบอร์ : https://www.instagram.com/benefitprotein/


สนใจสั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม
- Line: @benefitprotein (มี@)
- LineMyShop
- IG: Benefitprotein
- Facebook: Benefit Protein
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY