“ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง” เป็นโครงการเพื่อความเป็นเลิศของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากทุน“สร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับงบประมาณจากศูนย์ความเป็นเลิศโรคมะเร็งครบวงจรและศูนย์ความเป็นเลิศเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์บำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการวิจัยพัฒนารักษาโรคมะเร็งในยุคปัจจุบันโดยเน้นไปสู่การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) เนื่องจากเป็นวิธีการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง และความมีจำเพาะต่อโมเลกุลเป้าหมายในเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด โดยการรักษาด้วยวิธีนี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นผ่านกระบวนการพิเศษทำให้มีความสามารถในการจดจำและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นเป้าหมายได้อย่างจำเพาะโดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติในร่างกาย

ถือว่าเป็นเรื่องที่ประชนให้ความสนใจเป็นอย่างต่อเนื่องกับจากงานวิจัยและค้นพบยารักษาโรคมะเร็งของทางแพทย์จุฬาฯ นอกจากจะพัฒนายารักษามะเร็งแล้ว นักวิจัยจากคณะแพทย์ฯ และคณะอื่นในจุฬาฯ จำนวนมากได้มีการร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดอีกหลายแนวทางด้วย เรามาดูกันว่าตอนนี้ทาง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง กำลังทำอะไรกันบ้าง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง

ศ.ดร.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวชี้แจงในงานแถลงข่าวแพทย์จุฬาฯ ก้าวไกล..สร้างนวัตกรรมการรักษามะเร็งว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งได้จัดตั้งมาเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว โดยมีอาจารย์และนักวิจัยจากคณะแพทย์ฯ และคณะอื่นในจุฬาฯ จำนวนมากมาร่วมมือกัน มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดด้วยหลายแนวทาง ประกอบด้วย

กลุ่มวิจัยพัฒนายาแอนติบอดีเพื่อการรักษามะเร็ง (Therapeutic antibody)

สำหรับยาในกลุ่มนี้เป็นยาที่มีประโยชน์มหาศาลแต่ก็มีราคาสูงมากเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้จากนโยบายที่รัฐบาลเร่งจะสนับสนุนให้มีการพัฒนายาในกลุ่มนี้ในประเทศ อย่างไรก็ตามขั้นตอนที่อาจจะตรงไปตรงมาและมีความเสี่ยงน้อยที่สุดคือการลงทุนสร้างยาแอนติบอดีที่กำลังจะหมดสิทธิบัตรหรือที่เรียกกันว่ายา Biosimilar ขึ้นเองในประเทศ สำหรับยาภูมิคุ้มกันบำบัดที่สำคัญที่สุดก็คือยาในกลุ่ม Checkpoint inhibitor ที่ผู้ค้นพบคือนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองท่าน James P Allison และ Tasuku Honjo ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปีนี้นั่นเอง อย่างไรก็ตามยาชนิดนี้เพิ่งมีการอนุมัติให้จำหน่ายและจะหมดสิทธิบัตรเร็วที่สุดในปีพ.ศ. 2577  จึงเป็นที่มาของการริเริ่มโครงการของอ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อพัฒนายาใหม่ที่จะสามารถนำมาทดลองใช้ในผู้ป่วยได้ก่อนนั้น นอกจากนี้เรายังมีทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ที่กำลังพัฒนายารูปแบบอื่นร่วมด้วย

กลุ่มวิจัยภูมิคุ้มกันด้านเซลล์บำบัดมะเร็ง (Cellular Immunotherapy)

ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก หรือไม่มีเม็ดเลือดขาวที่สามารถไปทำลายมะเร็งได้เพียงพอ การให้แอนติบอดี Anti-PD1 หรือ Anti-PDL1ไปปลดเบรกให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ก็ยังไม่เพียงพอ จำเป็นจะต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่วมด้วย วิธีหนึ่งที่ทำได้คือการรักษาด้วยเซลล์บำบัด ซึ่งต้องการห้องปฏิบัติการปลอดเชื้อพิเศษที่สามารถผลิตเซลล์ที่ได้มาตรฐาน รพ.จุฬาฯได้ลงทุนสร้าง Facility ต่าง ๆ ไว้แล้ว และในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขอรับรองตามมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการรักษาที่ทางศูนย์กำลังพัฒนาได้แก่การรักษาโดยการดัดแปลงยีนเพื่อให้เม็ดเลือดขาวทีเซลล์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อต่อต้านโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น วิธีนี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2560 นี้เอง จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่เราตั้งเป้าหมายให้มีการบริการนี้ในโรงพยาบาลจุฬาฯโดยเร็วที่สุดเนื่องจากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีที่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยมะเร็งด้านโลหิตที่ไม่มีทางรักษาอื่นแล้วได้ประสบผลสำเร็จมากกว่า 80%  อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีเซลล์บำบัดมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ต้องทำในสถาบันที่มีความพร้อมและมีมาตรฐานเชื่อถือได้เท่านั้น และยังมีผลดีเฉพาะในโรคมะเร็งบางโรค ส่วนใหญ่จะได้ผลดีในมะเร็งของระบบโลหิตเป็นหลัก ดังนั้นจะขอถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลให้ดี อย่าหลงเชื่อสถาบันที่อาจจะโฆษณาเกินจริง นอกจากนี้ยังมีทีมวิจัยที่กำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโดยกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดเอนเคเซลล์ (NK cell) และทีเซลล์ที่จำเพาะต่อไวรัสเพื่อรักษาโรคมะเร็งที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งคงจะหาโอกาสแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป

กลุ่มวิจัยพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็ง (Personalized Cancer Vaccine)

นอกจากการให้เซลล์บำบัดซึ่งมีราคาแพงมากดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว เรายังมีทีมวิจัยที่กำลังพัฒนาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการให้วัคซีนด้วย การให้วัคซีนมีความซับซ้อน ไม่ใช่แค่ฉีดอะไรเข้าไปก็ได้ แต่ต้องเป็นส่วนของมะเร็งที่มีความสามารถกระตุ้นเม็ดเลือดขาวได้ดีเท่านั้น และจะยิ่งได้ผลดีต่อเมื่อเป็นวัคซีนที่ออกแบบเฉพาะบุคคลด้วย  ในขณะนี้เรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นการศึกษาในสัตว์ทดลองเป็นหลักและจะประกาศให้ทราบถ้ามีโครงการจะทดลองในคนต่อไป

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง

เรียกได้ว่าเป็นความหวังใหม่ของคนไทย กับการผลิตยาเพื่อรักษาโรคมะเร็งในประเทศไทย ที่ทางทีมแพทย์ได้ตั้งเป้าหมาย เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบคุณรูปภาพจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์จุฬาฯ เดินหน้าวิจัยยารักษา “โรคมะเร็ง” เฟส 2 หวังคนไทยเข้าถึงการรักษาได้ทุกคน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“Code Kunst” ตัดสินใจแยกทางกับ AOMG หลังอยู่มานานถึง 6 ปี

นักดนตรี/โปรดิวเซอร์ “Code Kunst” ชื่อดัง ได้ตัดสินใจแยกทางกับค่ายเพลง AOMG หลังจากอยู่มานานถึง 6 ปี ทำเอาใจหายไปกันทั้งทามไลน์

ลายพรางสุดโหด! จับสิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ปมฉุนแซวสาว

โหดเหี้ยม ตร.รวบ สิบโท-ทหารว้าแดง ฆ่าทุบหัวหนุ่มไทใหญ่ ก่อนหิ้วป่าละเมาะ ใกล้ดอยสุเทพ เตรียมเร่งล่าผู้ต้องหาอีก 2 คน

อดีตผู้บริหารโพสต์โต้ข่าว หลัง เมากร่างถีบหน้าตร. ล่าสุดโดน 3 ข้อหาหนัก

ไม่ยอมเสียเปรียบ! อดีตผู้บริหารหญิงบ.ดังระดับโลก เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก หลังตร.แจ้ง 3 ข้อหาหนัก เจ้าตัวลั่น ไม่ขอเป็นเครื่องมือให้ใคร

“เจนนี่ BLACKPINK” ร่วมมือกับ Gentle Monster เปิดตัวคอลเลกชัน ‘Jentle Salon’

“เจนนี่ BLACKPINK” ร่วมมือกับ Gentle Monster เปิดตัวคอลเลกชั่น ‘Jentle Salon’ ทำเอาแฟนๆ ต่างจับจองซื้อตามกันทั่วโลก

โอ้โห! ดาวยั่วตัวแม่ นุ่งชั้นในซีทรู เปิดอกล้นกระแทกตา โชว์เอวคอดทำใจสั่น

โอ้โหของจริง! ดาวยั่วตัวแม่ นุ่งชุดชั้นในซีทรูบาง เปิดอกล้นกระแทกตา โชว์หุ่นสับ อวดเอวคอดทำใจสั่น งานนี้บอกเลยแฟนๆ แห่ไลก์เพียบ

“NewJeans” ปล่อยภาพทีเซอร์แรก ‘How Sweet’ ท่ามกลางความขัดแย้ง

น้องสาวแห่งชาติของแท้ NewJeans ปล่อยภาพทีเซอร์แรกเพลง ‘How Sweet’ ก็ทำเอาเป็นประเด็นร้อนบนโซเชียลได้ทันที!
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า