ทำความรู้จัก พายุโนอึล ทำไมถึงรุนแรงและน่ากลัว? หลังกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือน พายุโนอึล จะส่งผลกระทบทั้งประเทศ ระหว่างวันที่ 18-20 ก.ย.
พายุโนอึล เป็นพายุหมุนเขตร้อน มีลักษณะศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ลมกระโชกแรง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก พื้นที่ชายฝั่งมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากพายุหมุนเขตร้อนมากเป็นพิเศษ คือ น้ำอุ่นมหาสมุทร ฉะนั้นพายุจึงมักเกิดเมื่ออยู่เหนือหรือใกล้แหล่งน้ำ และอ่อนกำลังลงค่อนข้างรวดเร็วเมื่อพัดเข้าแผ่นดิน ทำให้หยาดน้ำฟ้า กระจุกตัวในพื้นที่เล็กๆ ก่อให้เกิดฝนตกหนัก
พายุโนอึล ‘โนอึล’ เป็นภาษาเรียกที่มาจากประเทศเกาหลีเหนือ คำว่า ‘โนอึล’ ในภาษาเกาหลีหมายถึงแสงเรืองในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก ซึ่งในอดีตพายุโนอึล ถูกเรียกว่า ‘พงซ็อนฮวา’ หมายถึงต้นเทียนดอก และถูกเปลี่ยนเมื่อปี 2545
เกร็ดความรู้
นักอุตุนิยมวิทยาใช้วิธีติดตามพายุตามปีที่พวกมันเกิดขึ้น แต่ในบางภูมิภาคของโลกอาจมีพายุได้นับร้อยครั้งในแต่ละปี และแต่ละลูกอาจมีอายุนานหลายเดือน การตั้งชื่อให้กับพายุ จึงช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามพวกมันได้สะดวก นอกจากนี้ มันยังช่วยให้ประชาชนสามารถติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์ตามสื่อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
ส่วนชื่อของพายุที่เคยสร้างความเสียหายรุนแรง มักจะถูกทดแทนด้วยชื่อใหม่ ด้วยเหตุผลเพื่อความเหมาะสม เช่น พายุทุเรียน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในฟิลิปปินส์กว่า 1,400 คน ได้ถูกทดแทนด้วยชื่อ มังคุด ในปี 2551
โดยเกณฑ์ที่นำมาใช้พิจารณาความรุนแรงของพายุ ได้แก่
- พายุดีเปรสชันเขตร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- พายุโซนร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- พายุไต้ฝุ่น ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป
โดยชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ ชื่อพายุแต่ละชื่อ จะเรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง คณะกรรมการพิจารณารายชื่อ และความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุในภาษาไทยในที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบ และขนุน
แหล่งข้อมูล : scimath
ภาพ : กวาง ไตรศุลี ไตรสรณกุล