กรมชลฯยันลุ่มเจ้าพระยา “น้ำ” พอใช้-ชงของบ 2,615 ล้าน พัฒนาแหล่งน้ำใน “อีอีซี”   

กรมชลฯยันน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีเพียงพอต่อใช้ตลอดฤดูแล้ง เดินหน้าบริหารน้ำ 4 เขื่อนหลัก-ผันน้ำแม่กลองเสริม พร้อมของบ 2,615 ล้านบาท พัฒนาแหล่งน้ำใน “อีอีซี” รองรับความต้องการใช้ 10 ปีข้างหน้า

เมื่อวันที่ 18 เม.ย. นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า แม้ว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้อาจจะยาวนานกว่าปกติและเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วงบ้าง แต่ด้วยปริมาณน้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองเข้ามาช่วยตั้งแต่เดือนพ.ย.2561-เม.ย.2562 จึงมั่นใจว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาแน่นอน

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการคาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้กรมฯจำเป็นต้องทำการสำรองน้ำไว้ใช้ในอนาคต และลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค

“กรมฯได้ไว้วางมาตรการควบคุมการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างเคร่งครัด พร้อมขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่ 22 จังหวัด ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งที่อยู่ในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทาน ให้งดปลูกข้าวนาปรังต่อเนื่อง (นาครั้งที่ 3) รวมทั้งขอให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยการใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านน้ำอย่างยั่งยืน”นายทวีศักดิ์กล่าว

นายทวีศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่าภาครัฐบริหารจัดการน้ำไม่ดี ทำให้เกิดปัญหาขาดน้ำซ้ำซากในช่วงหน้าแล้ง และต้องขอร้องไม่ให้ชาวนาปลูกข้าว โดยยืนยันว่า ภาครัฐมีแผนบริหารจัดการฤดูแล้งปี 2561/62 ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งการบริหารปริมาณน้ำต้นทุน 4 เขื่อนหลัก และการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองเข้ามาเสริม รวมทั้งมีการวางแผนการจัดสรรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการระบายน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ 7,509 ล้านลูกบาศก์เมตร

นายทวีศักดิ์ ยังกล่าวว่า ปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวนาปรังกว่า 5.85 ล้านไร่ ซึ่งมากกว่าแผนการเพาะปลูกกว่า 0.55 ล้านไร่ โดยระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 61-10 เม.ย.2562 ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรังทั้งประเทศแล้วกว่า 5.4 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้มีการเก็บเกี่ยวแล้วกว่า 4.53 ล้านไร่ ขณะที่ในช่วงนี้เกษตรกรยังทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ลดลงตามลำดับ

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา กรมฯเริ่มทำการลดการส่งน้ำเพื่อการเกษตร และในเดือนเม.ย.นี้ ได้เริ่มส่งน้ำโดยเน้นเพื่อการอุปโภคและบริโภคเป็นหลัก และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ยกเว้นพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน บริเวณทุ่งบางระกำนั้น กรมฯจะเริ่มทำการส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้พื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2562 และจะไปสิ้นสุดก่อนเดือนก.ค. 2562 เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับรองรับน้ำหลากจากอทุกภัยในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

ส่วนพื้นที่การเกษตรภาคตะวันออก ซึ่งมักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงเดือนก.พ.-พ.ค.ของทุกปีนั้น จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำต่างๆอยู่ที่ 50-80% ของความจุ ดังนั้น กรมฯมั่นใจว่าจะสามารถจัดสรรน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการในทุกภาคส่วนตลอดช่วงฤดูแล้ง ส่วนพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทานนั้น สำนักงานชลประทานที่ 9 ได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำเข้าช่วยเหลือ หากเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ

สำหรับการจัดหาน้ำเพื่อรองรับการพัฒนาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นั้น ได้มีการวางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อรองรับ EEC ในระยะ 10 ปี โดยมีเป้าหมายเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนอีกกว่า 354 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอสนับสนุนงบประมาณกว่า 2,615 ล้านบาท

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า