น้ำมันดิบดิ่ง 2.7% หลังสต็อกสหรัฐพุ่งเกินคาด-กังวลสงครามการค้า “สหรัฐ-จีน”

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วง 2.7% ปิดที่ 61.42 เหรียญสหรัฐ หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่ง 4.7 ล้านบาร์เรล กังวลสงครามการค้า “สหรัฐ-จีน” กระทบความต้องการใช้น้ำมัน

เมื่อคืนวันพุธ (22 พ.ค.) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิดที่ 61.42 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 1.71 เหรียญสหรัฐ หรือลดลง 2.7% ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ งวดส่งมอบเดือนก.ค. ปิดที่ 70.99 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 1.19 เหรียญสหรัฐ หรือลดลง 1.7%

สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ลดลง 2.7% หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 พ.ค. เพิ่มขึ้น 4.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 599,000 บาร์เรล ขณะที่การเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบดังกล่าวเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2

สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมัน โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นายแพทริก แชนาแฮน รักษาการรมว.กลาโหมสหรัฐ ระบุว่า ภัยคุกคามจากอิหร่านยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ซาอุดิอาระเบียส่งสัญญาณว่า โอเปกจะขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้

นอกจากนี้ มอร์แกน สแตนลีย์ คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันเบรนท์ในช่วงครึ่งปีหลังจะซื้อขายกันที่ระดับ 75-80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและอุปทานที่ตึงตัว

ด้านบมจ.ไทยออยล์รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันประจำวันที่ 23 พ.ค. ว่า เมื่อคืนวานนี้ (22 พ.ค.) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงราวร้อยละ 2 หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับที่คาดการณ์ประกอบกับนักลงทุนยังคงกังวลว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันในระยะยาว

โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 พ.ค.2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.7 ล้านบาร์เรล แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.2550 ที่ 476.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 0.6 ล้านบาร์เรล

ขณะที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน มีแนวโน้มส่งผลกดดันต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงจากร้อยละ 3.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกจะขยาย ระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตไปจนถึงสิ้นปี

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า