“บอร์ดอีอีซี” ตั้งเป้าดึงลงทุน 5 แสนล้านใน 5 ปี  

“บอร์ดอีอีซี” ตั้งเป้าดึงการลงทุนเข้าพื้นที่อีอีซี 5 ปี 5 แสนล้านบาท พร้อมไฟเขียวเพิ่ม 2 อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาค (กพอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กพอ. หรือบอร์ดอีอีซี ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้เพิ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษในพื้นที่อีอีซีอีก 2 อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาคนและการศึกษา

ทั้งนี้ จากมติดังกล่าว ทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี เพิ่มเป็น 12 อุตสาหกรรม จากเดิมที่มี 10 อุตสาหกรรม

นายคณิศ กล่าวว่า ที่ประชุมกพอ. ยังรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการอีอีซี และโครงการลงทุนที่สำคัญ เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นต้น พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษที่ 5 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ดึงการลงทุนเข้ามาในพื้นที่อีอีซีปีละ 1 แสนล้านบาท

“สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะร่วมมือกับบีโอไอ กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนการดำเนินการเชิงรุกเพื่อบรรลุเป้าหมายการลงทุนปีละ 1 แสนล้านบาท หรือ 5 ปี 5 แสนล้านบาท โดยมุ่งเน้นการหานักลงทุนที่เป็นผู้ประกอบการหลัก (Anchor) ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษเข้ามาลงทุนในอีอีซี”นายคณิศกล่าว

ขณะที่การดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนในอีอีซีนั้น จะมีคณะกรรมการประสานการลงทุน ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 6 กลุ่ม เข้ามาดำเนินการในเชิงรุก รวมทั้งจะมีการพัฒนาศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจรในพื้นที่อีอีซี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและนักลงทุน

นายคณิศ ระบุว่า ที่ประชุมได้หารือแนวทางจัดตั้งกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อการพัฒนาพื้นที่หรือชุมชน รวมตลอดทั้งช่วยเหลือหรือเยียวยาประชาชนและชุมชนบรรดาที่อาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาและให้ทุนการศึกษาแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่อีอีซีและพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือถึงการเตรียมการพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ เมืองศูนย์กลางการเงิน เมืองการบิน (Aerotropolis) การพัฒนาแรงงานคุณภาพสูง รวมทั้งหารือแผนงานสำคัญในระยะต่อไปเพื่อรองรับอนาคตหลังจากรถไฟความเร็วสูงเสร็จในปี 2566 เช่น การพัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการ สาธารณสุข เกษตร และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

รายงานข่าวระบุว่า ในปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลจัดสรรงบฯ เพื่อดำเนินการตามแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 14,862.61 ล้านบาท

สำหรับโครงการสำคัญที่ได้รับความเห็นชอบจากบอร์ดอีอีซีแล้วมี 6 โครงการ มูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท ได้แก่ 1.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2.สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 3.ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน อู่ตะเภา 4.ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 5.ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ6.โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า