ย้อนรอย “หอศิลป์” แหล่งเรียนรู้ศิลปะมีชีวิตของคนกรุง..เมื่อกำลังจะถูกทวงคืน

ประเด็นการ “หอศิลป์กรุงเทพ” กลับมาร้อนระอุอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กทม. จะขอทวงคืนเพื่อเข้าบริหารจัดการเอง แต่ก็ต้องถูกสังคมคัดค้าน จนในที่สุด “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่า กทม.ต้องยอมถอยทัพไม่ขอยุ่งเกี่ยว และปล่อยให้ มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารจัดการเช่นเดิม ซึ่ง กทม.มีบันทึกข้อตกลงการบริหารจัดการหอศิลป์ฯ กับมูลนิธิ ที่จะครบตามกำหนดในปี 2564 แต่เมื่อครบกำหนดก็ต้องพิจารณากันอีกครั้ง”

แต่ด้วย หอศิลป์ฯ ถูกตัดงบประมาณจาก กทม. ทำให้ประสบปัญหาสภาพคล่อง เพราะ ผู้บริหารหอศิลป์ ไม่สามารถเบิกค่ากิจกรรมกับสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 และต่อมาเดือนกรกฎาคม 2561 สำนักวัฒนธรรมฯ ก็ได้หยุดจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ

ผศ.ปวิตร มหาสารินันทน์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บอกว่า ในวันพรุ่งนี้ (26 ก.ย.) จะมีการรวมตัวกันแต่งชุดดำ และแถลงข่าวถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ประชาชนอาจคิดว่าเรื่องการบริหารหอศิลป์ฯ ลงตัวแล้ว หลังจากที่ผู้ว่าฯ กทม.ยุติแนวคิดทวงคืนหอศิลป์

ขณะที่การรณรงค์ “คัดค้านการที่กรุงเทพมหานครจะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลป์กรุงเทพฯ ด้วยตัวเอง #freebacc” ผ่านเว็บไซต์ change.org มีผู้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวกว่า 20,000 คน

 

ย้อนรอยหอศิลป์กรุงเทพฯ

หากจะย้อนรอยถึงการจัดตั้งหอศิลป์ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนกรุงเทพ ได้เข้าใจเข้าถึงคำว่า “ศิลปะ” กว่า 10ปีที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง แต่สุดท้ายแนวคิดการก่อสร้างก็เกิดขึ้นในชื่อว่า “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” หรือ Bangkok Art & Culture Centre (BACC) หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า “หอศิลป์กรุงเทพฯ” โดยปักหมุดไว้ในพื้นที่บริเวณปทุมวัน ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองและเป็นแหล่งรวมของวัยรุ่น

โครงการก่อสร้างหอศิลป์เริ่มขึ้นในสมัย “ดร.พิจิตต รัตตกุล” เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โดยมีมติร่วมกับคณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 ในปี 2538 ให้กรุงเทพมหานครจัดสร้างหอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานครที่บริเวณสี่แยกปทุมวัน แต่โครงการดังกล่าวต้องสะดุดลง เมื่อ “สมัคร สุนทรเวช” เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี 2544 และล้มเลิกโครงการหอศิลป์ตามรูปแบบเดิม ให้มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์มากขึ้น นอกจากนี้ยังเปลี่ยนผู้ลงทุนจากกรุงเทพมหานคร ให้เอกชนเป็นผู้สร้างแทน

การเปลี่ยนแนวคิดโครงการสร้างหอศิลป์ดังกล่าว องค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา และสื่อมวลชน ได้ร่วมกันคัดค้านโดยจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว และเรียกร้องให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครในขณะนั้นทบทวน โดยจัดกิจกรรมวาดภาพเขียนยาว 4 กิโลเมตร ในหัวข้อ “ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า” รวมถึงให้ดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระงับโครงการกังล่าว และจัด “ART VOTE” โหวตเพื่อหอศิลป์ขึ้น

กระทั่งในปี 2547 “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้จัดสร้าง “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” ขึ้นตามแนวทางเดิมในที่สุด

พื้นที่ศิลปะเพื่อประชาชน

ปัจจุบันหอศิลป์กรุงเทพฯ บริหารโดย “มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร” ซึ่งตั้งขึ้นโดยมีศิลปินและบุคคลในแวดวงศิลปะเป็นผู้ร่วมกันบริหาร ซึ่งหอศิลป์ กทม.ได้รับเรตถึง 4.5 ดาวใน Google Map โดยมีประชาชนจากหลากหลายเชื้อชาติที่เคยเดินทางมาเยี่ยมชมงานศิลปะร่วมแสดงความเห็นไว้มากถึง 3,000 กว่ารีวิว และตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มจำนวนผู้เข้าใช้บริการในหอศิลป์กรุงเทพฯ มีมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2560 มีผู้เข้าใช้บริการจำนวนมากถึง 1,700,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวราว 30% โดยมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการทางศิลปะมากถึง 400 กว่ารายการ นอกจากนี้หลายครั้งหอศิลป์กรุงเทพฯ เปิดโอกาสให้ประชาชนและศิลปินได้ใช้พื้นที่เพื่อแสดงออกถึงประเด็นทางสังคมและการเมือง

หอศิลป์กรุงเทพฯ จึงไม่ใช่เพียงพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะ หากแต่ยังเป็นเวทีทัศนะสำหรับคนในสังคมในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย

กทม.ขอคืนพื้นที่ศิลปะ

ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2561 เกิดกระแสข่าวว่า “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่า กทม. คนปัจจุบัน มีแนวคิดจะให้ทางสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว เป็นผู้จัดการดูแลหอศิลป์กรุงเทพฯ โดยให้เหตุผลว่า มูลนิธิฯ บริหารจัดการผิดวัตถุประสงค์ และเห็นว่า กทม. จะสามารถทำให้หอศิลป์ เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนได้มากขึ้น โดยมีแนวคิดจะเพิ่มโต๊ะ-เก้าอี้เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้แบบ Co-working Space อีกด้วย

ทันทีที่กระแสข่าวดังกล่าวแพร่สะพัดออกไปในโลกออนไลน์ แรงกระเพื่อมจากศิลปินและคนในแวดวงศิลปะก็เกิดขึ้นทันที โดย “สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ศิลปินแห่งชาติ ถึงกับโพสต์ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว เปลี่ยนชื่อจากหอศิลป์เป็น “หอค_ย” แทน ขณะที่ศิลปิน “วสันต์ สิทธิเขต” ก็ได้โพสต์บทกลอนลงในเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า “ไม่สนใจเรื่องจัดการขยะ แต่เรื่องหอศิลปะจะกวาดทิ้ง เป็นผู้ว่าฯ ไร้ความคิดจริง ทำทุกสิ่งเพื่อตนได้กอบโกยฯ”

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

​กรมราชทัณฑ์ ยื่นหนังสือชี้แจง ป.ป.ช. ปมช่วย ‘ทักษิณ’ ไม่ต้องติดคุก

​กรมราชทัณฑ์ ยื่นหนังสือถึง ป.ป.ช. ชี้แจง 5 ประเด็น ที่สังคมทั้งข้อสงสัย ปมให้การช่วยเหลือ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ไม่ต้องติดคุก

อากาศร้อนจัด! จนท.ดับไฟป่าทับลาน เกิดฮีทสโตรก-หยุดหายใจกะทันหัน

เร่งทำ CPR กลับคืน หลังอากาศร้อนจัด ทำเจ้าหน้าที่ป่าไม้ดับไฟป่าทับลาน เป็นฮีทสโตรก 3 ราย มี 1 รายหยุดหายใจกะทันหัน!

“เมษามหาโชค” เปิดดวง “ราศีกันย์” สาส์นจากไพ่พระพิฆเนศ

หมออาร์ต คเณชาพยากรณ์ เปิดไพ่รับสาส์นจากพระพิฆเนศ ทำนายดวง ราศีกันย์ ประจำเดือนเมษายน 2567

เจอแล้ว! กะโหลกมนุษย์ ใกล้บ่อน้ำ สภาพถูกแทะ คาดเป็นส่วนที่ตามหา

เจ้าหน้าที่ตำรวจพบชิ้นส่วน กะโหลกศีรษะแล้ว ใส่ถุงดำถูกนำมาทิ้งซอยตรงข้าม คาดตัวเงินตัวทองฉีกถุงขาด และอาจจะมีชิ้นส่วนถูกทิ้งอยู่ในบ่อน้ำอีก

เหิมเกริม! ลิงลพบุรีไม่แผ่ว ยกพวกฉีกป้ายต่อต้าน ไม่สนชาวบ้าน

ลิงลพบุรี เหิมเกริมไม่หยุด! ยกพวกฉีกป้ายต่อต้านทิ้ง ชาวบ้านไม่ทนแห่ติดป้ายเพิ่ม จนกว่ากรมอุทยานฯ จะมาจัดการ

4 สิ่งต้องระวัง! ห้ามวางไว้ปลายเตียง – มาดามฮวงจุ้ย

ฮวงจุ้ยห้องนอน อ.นภัสวรรณ จิรเจริญเวศน์ เจ้าของเพจ มาดามฮวงจุ้ย ชี้ชัดทุกปัญหาพลิกชะตาด้วยฮวงจุ้ย เผย 4 สิ่งที่ห้ามวางไว้ปลายเตียง อาจส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า