สนช.มีมติเอกฉันท์ผ่านร่างพ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ เปิดช่องรัฐ “ค้น-ยึด-เจาะ” ข้อมูล

สนช.มีมติ 133 เสียงต่อ 0 เสียง เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ วาระที่ 3 ให้อำนาจรัฐคุมเบ็ดเสร็จ หากเกิดภัยคุกคามไซเบอร์ร้ายแรงให้ เจ้าหน้าที่รัฐ“ค้น-ยึด-เจาะ” ข้อมูลได้

เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ….หรือร่างพ.ร.บ.ไซเบอร์  ในวาระที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง 133 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง และงดออกเสียง 16 เสียง โดยจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

สำหรับบรรยากาศการอภิปรายร่างกฎหมายฉบับนี้ สมาชิกสนช.ไม่ติดใจสงวนคำแปรญัตติร่างพ.ร.บ.ไซเบอร์ ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯเสนอ มีเพียงการตั้งคำถามเพื่อให้คณะกรรมาธิการอธิบายในรายละเอียดเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กำหนดให้คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) สามารถออกคำสั่งให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ดำเนินการตามมาตรา 60 เช่น รวบรวมข้อมูลหรือพยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และประเมินผลกระทบจากภัยคุมคามทางไซเบอร์ เป็นต้น หากปรากฏแก่ กกม.ว่า เกิด หรือคาดว่า จะเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรงด้วย

ส่วนมาตรา 61 ยังให้อำนาจเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ หรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง หรือคาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับความยินยอมจากผู้ครอบครองสถานที่นั้นด้วย

ขณะที่มาตรา 65 ระบุว่าว่า ในกรณีที่ กกม. เห็นว่า มีภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับที่ร้ายแรงขึ้นไป ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถตรวจค้นสถานที่ได้ และสามารถค้นคอมพิวเตอร์ เข้าถึงข้อมูล เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เจาะระบบ หรือทำสำเนาเอาข้อมูลทั้งหมดในคอมพิวเตอร์หรือในระบบคอมพิวเตอร์ไปได้ รวมถึงสามารถยึดหรืออายัดคอมพิวเตอร์ไว้ได้ หากมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์

ขณะเดียวกัน ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนและเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤต มาตรา 67 ของกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ มอบหมายให้เลขาธิการมีอำนาจดำเนินการได้ทันทีเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกัน และเยียวยาความเสียหายก่อนล้วงหน้าได้ โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล แต่หลังจากการดำเนินการดังกล่าวให้แจ้งรายละเอียดการดำเนินการดังกล่าวต่อศาลที่มีเขตอำนาจทราบโดยเร็ว

นอกจากนี้ ในกรณีร้ายแรงหรือวิกฤต เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและลดความเสี่ยง ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กกม.มีอำนาจขอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และต่อเนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยผู้นั้นต้องให้ความร่วมมือและให้ความสะดวกแก่คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กกม.โดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เว็บไซด์ “iLaw” แสดงความกังวลเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ไซเบอร์ไว้ 8 ประเด็น และเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสอดส่องบุคคลที่เห็นต่างได้

อ่านเพิ่มเติม : สนช.ถก “ร่างกม.ไซเบอร์” พรุ่งนี้ เปิดช่องรัฐ “ล้วง” ข้อมูลคนเห็นต่าง  http://www.brighttv.co.th/latest-news/351965

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า