“สภาพัฒน์” เผยหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งติดอันดับ 10 ของโลก-ห่วงเศรษฐกิจทรุดกระทบจ่ายหนี้

“สภาพัฒน์” เผยหนี้ครัวเรือนไทยพุ่งแตะ 12.8 ล้านล้านบาท สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีสูงติดอันดับ 10 ของโลก ห่วงไตรมาส 2 หนี้ทะยานต่อเนื่อง เหตุกู้ซื้อบ้าน-รถยนต์ ขณะที่หนี้เสียไตรมาสแรกเพิ่มขึ้น 9% สูงสุดในรอบ 13 ไตรมาส

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/2562 ว่า ไตรมาส 4 ปี 2561 หนี้สินครัวเรือนไทยเท่ากับ 12.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วน 78.6% ต่อ GDP ขณะที่หนี้สินครัวเรือนดังกล่าวเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน

นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับต่างประเทศ พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในอันดับที่ 10 จาก 89 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 3 จาก 29 ประเทศในเอเชีย

สำหรับไตรมาส 1 ปี 2562 หนี้สินครัวเรือนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 10.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2557 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นผลจาก

1.การเร่งก่อหนี้ก่อนการบังคับใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2562 เป็นต้นไป ทำให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 9.1% สอดคล้องกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาสแรกของปี 2562 ที่ขยายตัว 13.5%

2.ความต้องการรถยนต์โดยมีแรงจูงใจจากคุณสมบัติของรถรุ่นใหม่ และมาตรการส่งเสริมการขายรถยนต์ในงาน Motor Show 2019 (25 มี.ค.-7 เม.ย.2562) ซึ่งทำให้สินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อรถยนต์

3.การส่งเสริมการขายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเงื่อนไขการผ่อนชำระที่จูงใจ

นายทศพร กล่าวว่า ในส่วนของคุณภาพสินเชื่อโดยรวมยังคงทรงตัว แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยในไตรมาส 1 ปี 2562 หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ขยายตัว 9.0% เทียบกับ 9.1% ในไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วน 2.75% ต่อสินเชื่อรวม และสัดส่วน 27.8% ต่อ NPLs รวม ซึ่งสูงสุดในรอบ 13 ไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2559 เป็นต้นมา และส่งผลให้มีสัดส่วนสูงสุดเมื่อเทียบกับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในประเภทธุรกิจอื่นๆ

ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับยังคงมีมูลค่ารวมอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ยอดสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อบัตรเครดิตปรับตัวลดลง 3.6% เทียบกับการขยายตัว 0.3% ในไตรมาสที่ผ่านมา

“หนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี 2561 และภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปีที่แล้ว อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน”นายทศพรกล่าว

สำหรับประเด็นสำคัญที่ต้องติดตำมอย่างใกล้ชิด ได้แก่ 1.การก่อหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยของครัวเรือนภายหลังการบังคับใช้มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อใหม่ โดยคาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง และทำให้หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัว เนื่องจากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วนประมาณ 49.9% ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และ2.การขยายตัวของสินเชื่อเพื่อกำรบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ รวมถึงบัตรเครดิตอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ ภาครัฐยังควรให้ความสำคัญกับการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้รัดกุมและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาทิ 1.การออกแบบมาตรการกกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อ เพื่อลดความเสี่ยงจากการปล่อยกู้ให้กับกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง โดยเฉพาะมาตรการเกี่ยวกับสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้(DSR) 2.การออกมาตรการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ เนื่องจากคุณภาพของสินเชื่อรถยนต์ที่มีแนวโน้มลดลง

3.การติดตามมาตรการกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อที่มีรถยนต์เป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรมและมีอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม 4.การเร่งประชำสัมพันธ์โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2 และ5.การกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้รายเดิมและรายใหม่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการก่อหนี้ครัวเรือนมากยิ่งขึ้น

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า