เผยคุมประพฤติ “เมาแล้วขับ” 3 วันพุ่งเกือบ 3,900 คดี-สั่งติดกำไล EM แล้ว 165 ราย

กรมคุมประพฤติ เผยสถิติคุมประพฤติเมาแล้วขับ ใน 3 วันช่วงเทศกาลสงกรานต์เกือบ 3.900 คดี เฉพาะ 13 เม.ย.วันเดียว 3,455 คดี สั่งติดกำไล EM แล้ว 165 ราย

เมื่อวันที่ 14 เม.ย. นายประสาร มหาลี้ตระกูล อธิบดีกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า สถิติคดีที่เข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติทั่วประเทศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13 เม.ย. พุ่งสูงขึ้นเป็น 3,455 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 3,454 คดี คิดเป็นร้อยละ 99.97 และคดีขับเสพ 1 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.03

นอกจากนี้ ศาลยังสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา 165 ราย โดยส่วนใหญ่กำหนดเงื่อนไขห้ามออกจากที่พักอาศัย ตั้งแต่เวลา 22.00 – 04.00 นาฬิกา เป็นเวลา 7-15 วัน คุมความประพฤติ 1 ปี รายงานตัวจำนวน 4 ครั้ง พร้อมทั้งทำงานบริการสังคม 24 ชั่วโมง เป็นต้น

สำหรับยอดสะสมสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมประพฤติในช่วง 3 วันที่มีการควบคุมเข้มงวด (11-13 เม.ย.) มีจำนวนทั้งสิ้น 4,057 คดี จำแนกเป็น คดีขับรถขณะเมาสุรา 3,899 คดี คิดเป็นร้อยละ 96.11 , คดีขับเสพ 149 คดี คิดเป็นร้อยละ 3.67 และคดีขับรถประมาท 9 คดี คิดเป็นร้อยละ 0.22

ส่วนจังหวัดที่มีสถิติคดีขับรถขณะเมาสุราสะสมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ จ.มหาสารคาม 337 คดี กรุงเทพมหานคร 245 คดี และจ.นครพนม 211 คดี

นายประสาร กล่าวว่า ผู้ถูกคุมความประพฤติในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุราที่กระทำผิดซ้ำ หรือผู้ถูกคุมความประพฤติฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา เป็นเหตุให้ผู้อื่นเป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิต ที่ศาลมีคำสั่งให้สืบเสาะและพินิจว่า กรมคุมประพฤติจะตรวจสอบประวัติการกระทำผิดและทำการประเมินพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามแบบประเมินของกระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ต่ำ ปานกลาง และสูง

ทั้งนี้ กลุ่มที่มีผลการประเมินสูง จะเสนอความเห็นให้ส่งต่อไปยังสถานพยาบาลเพื่อดำเนินการบำบัดรักษาตามโครงการบำบัดฟื้นฟูสภาพ ผู้ดื่มแล้วขับถูกจับ ผิดซ้ำ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

ส่วนระยะเวลาการบำบัดรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความรุนแรงของอาการ ซึ่งปกติระยะเวลาการบำบัด คือ 3 เดือน โดย 1 เดือนแรกจะเป็นการบำบัดรักษา 1 ครั้ง/สัปดาห์ ในเดือนที่ 2 – 3 เป็นการติดตามพฤติกรรมการดื่มสุรา แต่หากมีปัญหาสุขภาพจิตควบคู่ด้วยจะมีการรักษาที่ใช้ระยะเวลา 4 เดือน ทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และหากเป็นระยะติดสุราเรื้อรัง การบำบัดจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า