กองทุนสื่อฯ เปิดตัวงานวิจัยเฝ้าระวังสื่อ รับมือความรุนแรงในโลกไซเบอร์ ชี้ชัดต้องแก้ที่ต้นทาง ให้ปัญญาแก่ผู้รับสื่อ

กองทุนสื่อฯ เปิดตัวงานวิจัยเฝ้าระวังสื่อ ที่กระทรวงวัฒนธรรม นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคุ้มครองผู้บริโภคในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และประธานคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ หัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยไม่สร้างสรรค์ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวผลการวิจัยพร้อมกับชี้แจงยุทธศาสตร์การทำงานที่สำคัญในการรับมือความรุนแรงในสื่อทั้งการใช้คำพูดสร้างความเกลียดชังต่อกัน ไปจนถึงการสร้างข่าวปลอม และการคุกคามกันในโลกไซเบอร์

นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย ประธานอนุกรรมการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่าปัญหาสื่อไม่ปลอดภัยเปลี่ยนไป จากแค่สื่อลามกและการพนันออนไลน์ที่ยังเป็นปัญหา มาสู่ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อกันทั้ง cyberbullying และ hate speech ยังไม่รวมถึงเรื่อง fake news ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน งานเฝ้าระวังจึงปรับตัวตามลักษณะปัญหา เน้นงานส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อหรือ media literacy ควบคู่กับงานเฝ้าระวัง และการทำงานบูรณาการไปกับงานพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการยังมีแผนที่จะเสนอให้กองทุนมีศูนย์วิจัยสื่อหรือ Media Research Center ติดตามสถานการณ์การรับสื่อของประชาชนเพื่อเป็นข้อมูลในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

สำหรับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อกันในสื่อไซเบอร์ ต้องแก้ที่ต้นทางคือปัญญาความรู้เท่าทันของผู้รับสื่อ ซึ่งทางคณะอนุกรรมการฯได้เห็นชอบในเบื้องต้นแล้วต่อแผนการทำงานที่จะร่วมมือและสนับสนุนภาคี

‘นอกจากภาคีหลักคือกระทรวงวัฒนธรรมซึ่งมีศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่ทำงานควบคู่กันมาโดยตลอดแล้ว ยังมีภาคีอื่นๆ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ยูเนสโก เพื่อร่วมกันผลักดันการรณรงค์และป้องกันแก้ไขปัญหาเรื่องนี้’

​ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ หัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ กล่าวว่า จากผลการสำรวจประชาชนในกลุ่มอายุและกลุ่มอาชีพต่างๆ รวมถึงกลุ่มเฉพาะได้แก่ผู้พิการและกลุ่มชาติพันธุ์พบว่า เกือบร้อยละ80 มีการใช้สื่อโซเชียลอย่างเฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์สม่ำเสมอ ส่วนความกังวลเกี่ยวกับการใช้สื่อโซเชียลพบว่าอันดับหนึ่งร้อยละ 78 กังวลกับปัญหาข่าวปลอม รองลงมาร้อยละ 58 กังวลการระรานทางไซเบอร์ และร้อยละ 54 กังวลเรื่องการใช้ประทุษวาจาหรือคำพูดที่รุนแรงสร้างความเกลียดชังกันตามลำดับ

นอกจากนี้ จากการสำรวจของกรมสุขภาพจิตในปี 2562 พบว่าร้อยละ35-40 ของเด็กมัธยมศึกษาเคยระรานหรือถูกระรานทางไซเบอร์ ในส่วนของเรื่องข่าวปลอม ตัวเลขของประเทศต่างๆ คล้ายคลึงกันกล่าวคือร้อยละ50-70 แล้วแต่กลุ่มอายุได้รับข่าวปลอมสม่ำเสมอ ราวร้อยละ 30-40 เคยแชร์ข่าวปลอม และมีเพียงราวร้อยละ 5-10 เท่านั้นที่เคยมีการตรวจสอบแหล่งข่าวจนรู้ว่าเป็นข่าวปลอม และในส่วนของประทุษวาจาหรือการใช้คำพูดรุนแรงต่อกันกำลังเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเป็นการกระทำต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ตลอดจนกลุ่มการเมือง

‘จากการประชุมระดมความคิดร่วมกับนักกฎหมายเห็นตรงกันว่าคำพูดที่รุนแรงสร้างความเกลียดชังอาจเป็นปัญหาได้ โดยเฉพาะกรณีประทุษวาจาที่ยกระดับไปสู่การข่มขู่หรือยั่วยุให้มีการทำร้ายกันถือเป็นความผิดตามกฎหมาย’

​ด้าน ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหาความรุนแรงมีมากขึ้นในโลกไซเบอร์ ทั้งการระรานและคุกคามกันหรือไซเบอร์บูลลี่ การโจมตีใช้คำพูดสร้างความเกลียดชังหรือประทุษวาจา ตลอดจนข่าวปลอมที่ถูกสร้างขึ้นในยามที่บ้านเมืองมีความขัดแย้ง

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้จับตาดูแนวโน้มนี้ร่วมกับนักวิชาการและมีความห่วงใยต่อสังคมในเรื่องนี้มาโดยตลอด

การให้ทุนสนับสนุนที่ผ่านมาเป็นการให้เพื่อริเริ่มนวัตกรรมสื่อเพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางลดปัญหาความรุนแรงในสื่อแบบนี้ลง

‘ร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ 3 ปีเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว และแผนยุทธศาสตร์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เอง ก็มุ่งที่จะให้การสนับสนุนการรับมือความรุนแรงในสื่อไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนวัตกรรมสันติวิธี เพิ่มพื้นที่การพูดคุยข้ามความแตกต่าง ไม่เฉพาะเรื่องการเมืองแต่ทุกเรื่องที่มีหลายมุมมอง มุ่งสร้างวัฒนธรรมเอื้อเฟื้อ (civility) การคิดอย่างใคร่ครวญ (thoughtfulness) และความเข้าใจกัน (mutual understanding) ที่อาจเริ่มจากประเด็นทั่วไปที่มีคนสนใจมาก เช่นเรื่องสุขภาพ อาหาร การเงิน สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ซึ่งในระยะยาวก็อาจก้าวไปสู่การมีพื้นที่พูดคุยความคิดที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ได้ในประเด็นที่ซับซ้อนขึ้นอย่าง การเมือง ศาสนา เป็นต้น

ติดต่อโฆษณา โทร. 086-322-6363

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เจ้าของร้านหมูกระทะ แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน เป็นไปตามข้อตกลง

แขวะกลับแรง! เจ้าของร้านหมูกระทะ ย่านพัทยา แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน พร้อมโพสต์เฟซฟาดชาวเน็ต อย่าตัดสินอะไรที่ยังไม่รู้จากปาก

เตรียมซึ้งกับเจ้าพ่อเพลงอกหัก “YOUNG CAPTAIN” ในคอนเสิร์ต 11 พ.ค. นี้!

เตรียมซึ้งกับเจ้าพ่อเพลงอกหักจากจีน “YOUNG CAPTAIN” พร้อมบินมาดามใจเหล่าสาวกคนใจอ่อน ที่ประเทศไทยกันแล้ว 11 พ.ค. นี้

5 ราศี การงาน – การเงิน – โชคลาภ เป็นดั่งใจหวัง

อาจารย์กิติคุณ พลวัน เผย ดวงเมษายน 2567 : 5 ราศี หลุดจากบ่วงความทุกข์ ก้าวสู้ความสุข พร้อมแจกเลขมงคล และวิธีเสริมดวงสุดปัง!

แจ๊ส-แจง พร้อมสู้กลับ! หลังถูกขู่ฆ่า ประกาศตัดขาดพี่ชาย ขอไม่ยุ่งเกี่ยวอีก

ไม่ทน! แจ๊ส ชวนชื่น-แจง ปุณณาสา ตั้งโต๊ะแถลง เผยความคืบหน้าคดีขโมยรองเท้า พร้อมสู้กลับหลังถูกขู่ฆ่า ประกาศตัดขาดพี่ชาย ขอไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น

แฟนเฮ! 4MIX คอนเฟิร์มทัวร์คอนเสิร์ตบราซิลครั้งแรก! พร้อมเดินหน้าทัวร์ยุโรปปี 67

โกอินเตอร์สุดๆ 4MIX สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่! กับทัวร์คอนเสิร์ตประเทศบราซิลครั้งแรก พร้อมเผยแพร่เพลง T-POP ให้ทั่วโลกรู้จัก

‘บุ้ง ทะลุวัง’ ทรุดหนัก! น้ำหนักลดไปกว่า 20 โล ล่าสุดหน้าท้องหด

อัปเดต! อาการ “บุ้ง ทะลุวัง” หลังประท้วงอดอาหารเข้าวันที่ 61 ค่าโพแทสเซียมตกเหลือ 2.5 จนหลังหุ้มกระดูก แต่ยังยืนยันจะอดอาหารต่อ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า