จักษุแพทย์ เตือน หนุ่มวัย 23 ตาไหม้ เพราะ เลเซอร์ส่องตา อย่าให้เด็กๆเล่น หรือใช้อย่างผิดวิธี อันตรายรุนแรงกว่าที่คิด
ใครจะคิดว่าอุปกรณ์ยิงแสงเลเซอร์ ที่เด็กๆใช้เล่นกัน หรือใช้ในงานคอนเสิร์ต ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด มีหลายสี หลายความเข้มข้นแสง จะอันตรายได้ถึงขั้นนี้ เฟซบุ๊ก Yingpan Tarawatcharasart ของ นพ. ยิ่งพันธุ์ ธาราวัชรศาสตร์ จักษุแพทย์ โรงพยาบาลพุทธชินราช ได้โพสต์ภาพและข้อความเล่าถึงเคสของหนุ่มอายุ 23 ปีรายหนึ่งที่เผลอใช้เลเซอร์ยิงเข้าตาตัวเอง ขณะยิงไล่นกที่เกาะตามบ้าน

ซึ่งผลก็คือทำให้เกิดการมองไม่เห็น บริเวณกลางภาพเป็นสีดำ เมื่อตรวจดูก็พบว่ามีจุดรับภาพไหม้เป็นจุดสีขาวดังรูป ซึ่งทางจักษุแพทย์พยายามเน้นย้ำเสมอว่าแสงเลเซอร์เหล่านี้มีอันตรายต่อดวงตา อาจทำให้จอประสาทตาบวม มีเลือดออก เกิดรูรั่ว หรือรอยไหม้ที่ทำให้ตามัวถาวร ขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นแสง ความเข้มข้นแสง ระยะเวลาที่ได้รับแสง และตำแหน่งที่แสงเลเซอร์ยิงเข้าในดวงตา
โดยทาง The American National Standards Institute ได้ จำแนกแสงเลเซอร์เป็น4ระดับ เช่น แสงสีส้มแดง ไม่เกิน 1mW เป็น Class 2 แสงสีเขียวน้ำเงิน ไม่เกิน 5mW เป็น Class 3 ซึ่งแสงเลเซอร์ในclass3และ4 ถือว่ามีอันตรายรุนแรงต่อดวงตาและผิวหนัง สำหรับเคสนี้เป็นเลเซอร์สีเขียวความเข้มข้นสูง ระดับ 3 ทำให้เกิดจุดไหม้บริเวณกลางจุดรับภาพพอดี ทำให้ตามัวค่อนข้างมาก

หากเป็นไปได้ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีแสงเลเซอร์ หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์เลเซอร์เหล่านี้ โดยเฉพาะเด็กๆ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ และเคสแบบนี้มีจำนวนไม่น้อย
คำว่าเลเซอร์ หรือ LASER ย่อมาจาก Light Amplification By Stimulated Emission of Radiation ซึ่งมีความหมายว่า “การเพิ่มปริมาณคลื่นแสงโดยการกระตุ้นให้ปล่อยคลื่นแสงออกมา” โดยการใช้เลเซอร์นั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่เพื่อ เป็น Pointer ชี้บนจอภาพขณะบรรยาย , เอามาไล่นก , หรือให้เด็กๆมาเล่นกันตามที่กล่าวไปในเบื้องต้น เพราะหลายครั้งเราจะเคยได้ยินการใช้เลเซอร์เพื่อรบกวนโดรน หรือ เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเคยเกิดขึ้นในประเทศชิลีโดยกลุ่มผู้ประท้วงได้ใช้เลเซอร์สีเขียว ยิงไปใส่โดรนของตำรวจเพื่อทำลายทิ้ง
ทั้งนี้จึงอยากย้ำเตือนว่าเลเซอร์นั้นไม่ใช่ของเด็กเล่นหรือหากจะเล่นหรือใช้งานต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยช่อง
lazerphase เคยได้ทำการมดลองไว้โดยใช้แสงเขียวและสีต่างๆในการทำลายสิ่งของซึ่งจะชี้ชัดให้เห็นถึงอันตรายของเลเซอร์ได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณข้อมูลจาก / ภาพจาก Yingpan Tarawatcharasart / scimath