วิกฤตพะยูน! พบซากที่เกาะสุกร ปี 67 ปีนี้ตายไปแล้ว 32 ตัว – ‘อ.ธรณ์’ คาดสาเหตุหลัก วิกฤตอาหารทะเล หญ้าทะเล เหลือน้อยเต็มที
วันที่ 4 พ.ย. 2567 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เปิดเผยสถานการณ์วิกฤตของ พะยูน ที่ตายสะสมไปแล้ว 32 ตัวในปีนี้ สาเหตุหลักคือการหายไปของ หญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญ
ซึ่งได้ระบุว่า “พะยูนตายอีกตัวแล้วครับ ปีที่แล้วทั้งปี 40 ตัว ปีนี้ 32 ตัว ไม่รู้ถึงสิ้นปีจะตายอีกกี่ตัว ปัญหาคือหญ้าทะเลหายเยอะ ต้องหาวิธีมาแก้ไขครับ”

ทั้งนี้ กลุ่ม ผศ.ดร.ธรณ์ และคณะประมง มก. ได้ทำการทดลองปลูกป่าทะเลเพิ่ม เพื่อประโยชน์ในห่วงโซ่อาหาร และเป็นอาหารหลักของพะยูนดังนี้
ทดลอง ‘ปลูกหญ้าทะเล’ ของคณะประมง จะได้ทราบว่ามันใช้เวลาและไม่ง่ายเลยครับ หาพื้นที่เหมาะสม (3-6 เดือน) หน่วยวิจัยหญ้าทะเลต้านโลกร้อน พัฒนาเทคนิคพิเศษ ใช้ทั้งโดรนทั้งสำรวจภาคสนาม เวลาทำงานจริงในพื้นที่ 3-4 วัน แต่ก่อนหน้านั้นเราต้องเตรียมตัวครับ

เราต้องวิเคราะห์ภาพดาวเทียม ทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง เลือกพื้นที่กว้างแล้วค้นข้อมูล ไปสำรวจขั้นต้น ประเมินศักยภาพ (SWOT) ขั้นตอนนี้หมดไปเป็นเดือนหรือกว่านั้น เมื่อเลือกเป้าหมายได้ การสำรวจจริงจังต้องรอน้ำลงต่ำสุดตอนกลางวัน ฟ้าใส ลมไม่แรง ทีมงานพร้อม ฯลฯ 3-6 เดือนหมายถึงยุคนี้ที่เราชำนาญแล้ว ก่อนหน้านั้นใช้เวลาพัฒนาเทคนิคเป็นปี
หาเมล็ด/เพาะ/อนุบาลต้นกล้า (12–18 เดือน) หญ้าทะเล มีเมล็ดตามฤดูกาล เราต้องไปสำรวจล่วงหน้าเป็นเดือนๆ วางแผนเก็บแบบไม่ให้รบกวนธรรมชาติ ทว่า…ปัจจุบันเกิดวิกฤตหญ้าทะเล หาเมล็ดยากมากๆ นั่นคือที่มาของแปลงต้นพันธุ์ที่ขายเสื้อระดมทุนจากเพื่อนธรณ์

เมื่อได้เมล็ดมา ใช้ทั้งเพาะธรรมดาและเพาะเนื้อเยื่อที่เกษตรบางเขน เลี้ยงดูอุ้มชูจนเป็นหญ้าต้นน้อย ย้ายไปโรงเลี้ยงที่ศรีราชา บางส่วนย้ายต่อไปไว้ในบ่อเลี้ยงที่คลองวาฬ ประจวบ บางส่วนพร้อมลงทะเล
- ดราม่า! บ.ชานมชื่อดัง หลังทำคอนเทนต์ พนง. แหกกฎ Hot Desking
- พบซาก ‘ช้างสีดอ’ ล้มกลางป่า ถูกกับดักสัตว์ป่า รัดงวง ในเขตรักษาพันธุ์
- ลือสะพัด! จ่อออกหมายจับ ‘ทนายตั้ม’ หลัง ‘พี่อ้อย’ สอบปากคำเป็นวันที่ 3
ขั้นตอนนี้ยาวนานที่สุด ยังต้องลุ้นหลายเรื่อง ลุ้นตลอดจนคนทำผมหงอกไปหลายเส้น อบคุ้กกี้ยังมีบางส่วนไหม้ หญ้าทะเล 100 ต้นรอดเท่าไหร่ 555
ทดลองปลูกในทะเล (3-12 เดือน) เวลาที่ใช้ปลูกไม่มาก แต่การหาจังหวะให้เป๊ะมันยาก ผมจะปลูกตอนน้ำลงต่ำในช่วงหน้าฝน (หน้าร้อนน้ำร้อนมาก) มีเวลาเพียงปีละไม่กี่วัน ปัญหาคือลมฟ้าอากาศ ยุคนี้โลกร้อน คลื่นลมผิดปรกติ ใครเป็นชาวประมงคงทราบดี ลมมาแรงๆ แปลกๆ เป็นระยะ ที่ผ่านมาผมต้องแคนเซิลทริปกระทันหัน แต่ละหนน้ำตาแทบไหล จะหาเวลาใหม่ให้ทุกคนพร้อมมันยาก เงินก็จ่ายมัดจำนี่นั่นไปแล้ว
ธรณ์มาฟ้าใส ! นั่นคือสิ่งที่เราเชื่อมั่น การปลูกยังต้องบริหารความเสี่ยง ทำเป็นลอตๆ ไม่ใช่ลงโครมทีเดียวหมด ยิ่งยุคทะเลเดือด วางไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว มันคือนรกของลูกไก่ ติดตามผล (1-3 ปี) นับจากหญ้าชุดแรกที่เราทดลอง ตอนนี้ผ่านมา 3 ปีแล้ว รอดอยู่ไม่ถึงหลักร้อย แต่แค่นั้นก็แทบร้องไห้ด้วยความดีใจแล้วฮะ
อะไรใหม่ๆ เป็นที่เกลียดชังของเจ้าถิ่น หอยมารุมกิน สาหร่ายมารุมเกาะ ฯลฯ แต่โหดสุดคือโลกร้อนมันมั่วมาก ทะเลเดือดน้ำร้อนจัดขนาดหญ้าธรรมชาติยังไม่รอด

นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราต้องมีบ่ออนุบาลระยะยาว เพราะถ้าตรงนั้นไปไม่ไหวจริง ปลูกก็ตายหมด แต่หญ้าโตเรื่อยๆ จนเก็บในโรงเลี้ยงศรีราชาไม่ไหว เาาจะย้ายมาอยู่ในบ่อคลองวาฬ เคยบอกเพื่อนธรณ์ไปแล้ว หญ้าแฮปปี้มากเมื่ออยู่ในบ่อ อยู่ได้เรื่อยจนกว่าสักวันจะพร้อมลงทะเลครับ
ทั้งหมดนี้คืองานที่ หน่วยวิจัยหญ้าทะเลต้านโลกร้อน ทำมาจนถึงตอนนี้ หากสรุปสั้นๆ สามคำคือ “มัน-เหนื่อย-มาก” จนบางทีอยากร้องกรี๊ดๆๆ
แต่ไม่ต้องห่วงว่าจะท้อฮะ คนที่มาทำเรื่องแบบนี้ได้มันต้องอึด ยิ่งหญ้าหายพะยูนตายรัวๆ มันยิ่งเพิ่มแรงฮึดทำแม้เหนื่อย ก็ดีกว่ามานั่งเสียใจภายหลังว่าทำไมตอนนั้นเราไม่ทำ