คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงทำการประเมินปริมาณไวรัสฯ ในตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ อุจจาระ น้ำเหลือง และปัสสาวะของผู้ป่วยโรค โควิด-19 จำนวน 96 ราย ระหว่างวันที่ 19 ม.ค. ถึง 20 มี.ค.
ผลการประเมินที่ถูกเผยแพร่โดย วารสารบริติช เมดิคัล ระบุว่าพบไวรัสจาก การตรวจพบอุจจาระ 55 ราย ในน้ำเหลือ 39 ราย และในปัสสาวะเพียง 1 รายเท่านั้น
ผลการวิจัยผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในจีนฉบับใหม่ ค้นพบว่าไวรัสฯ ยังคงฝังแน่นอยู่ในอุจจาระได้นานกว่าในเนื้อเยื่อระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย
ระยะเวลาที่ไวรัสจะคงตัวอยู่ในอุจจาระนั้นคือ 22 วัน ซึ่งนานกว่าค่ากลางที่ถูกพบในเนื้อเยื่อระบบทางเดินหายใจ ที่อยู่เพียง 18 วัน และในใน้ำเหลือ 16 วัน
อย่างไรก็ดี คณะนักวิจัยไม่พบความแตกต่างอันมีนัยสำคัญของปริมาณไวรัสฯ ในตัวอย่างอุจจาระและน้ำเหลือง ที่เก็บจากผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงและอาการรุนแรง
ปริมาณไวรัสฯ ในผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงแตะจุดสูงสุดในเนื้อเยื่อระบบทางเดินหายใจในสัปดาห์ที่ 2 นับจากตอนเริ่มต้นเจ็บป่วย ขณะที่ปริมาณไวรัสฯ ในผู้ป่วยอาการรุนแรงยังคงอยู่ในระดับสูงระหว่างสัปดาห์ที่ 3 ของการเจ็บป่วย
คณะนักวิจัยบ่งชี้ข้อจำกัดของการวิจัยครั้งนี้ อาทิ ผู้ป่วยกลุ่มสำรวจขนาดเล็ก และคุณภาพของตัวอย่างที่เก็บมาอาจส่งผลกระทบต่อผลการวิจัย
อนึ่ง คณะนักวิจัยสรุปว่าการวิจัยครั้งนี้ตอกย้ำความจำเป็นของการกระชับการจัดการตัวอย่างอุจจาระที่มีไวรัสฯ และการจัดการผู้ป่วยอาการรุนแรงระดับต่างๆ อย่างเข้มงวด