รู้จัก โครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ ชุมพร-ระนอง มูลค่าเท่าไหร่ มีประโยชน์อย่างไร

มาทำความรู้จัก โครงการ ‘แลนด์บริดจ์’ (ชุมพร-ระนอง) สะพานเชื่อมเศรษฐกิจ การขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน มูลค่าเท่าไหร่ มีประโยชน์อย่างไร

โครงการแลนด์บริดจ์ นับเป็นอีกครั้งโครงการที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นคนเสนอในที่ประชุม ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีการจับมือกับ CHEC เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างในโครงสร้างสาธารณูปโภคใหญ่ที่สุดของจีน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. มีมติรับหลักการโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2039

ยินดีที่ CHEC บริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจก่อสร้าง คมนาคม เป็นอันดับ 1 ของเอเชียด้านก่อสร้าง มีการลงทุนจากบริษัทฯ ในไทย เช่น ท่าเรือแหลมฉบัง จนถึงเฟส 3  บริษัทยืนยันได้รับการสนับสนุนจากไทยด้วยดีมาตลอด BRI จะเป็นกลไกขับเคลื่อนความร่วมมือเข้าสู่มิติใหม่ 

บริษัทฯ ยินดีที่ไทยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบถ้วนครอบคลุมในประเทศ  เสนอความร่วมมือของบริษัทฯ 
– 1. ทางหลวงและระบบราง เฟส 3 ของแหลมฉบัง ดำเนินไปด้วยดี มีแผนผนวก ท่าเรือ เมือง และนิคมเข้าด้วยกัน
– 2. โครงการ landbridge บริษัทฯ ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการด้วย

แลนด์บริจด์ (LandBridge) 

แปลตรงๆคือ สะพานเชื่อมต่อระหว่างเมืองในต่างประเทศก็มี Land Bridge ชัดสุด เช่น แคนาดา ย่นระยะเวลาขนส่งทางเรือ ระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิก เชื่อมไปสู่ ยุโรป เร็วขึ้น ไม่ต้องไปอ้อมอเมริกาใต้ ส่วนในประเทศไทย จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ จริงๆพูดกันตั้งแต่สมัย รัชกาล ที่ 4 แต่ครั้งนั้นเราเรียกมันว่า โครงการขุดคอคอดกระ ขุดคลอง เพื่อเชื่อมการขนส่งทางเรือ ระหว่างทะเล 2 ฝั่งไทย  จะได้ไม่ต้องไปอ้อม ช่องแคบมะละกา ที่ใช้เวลานาน และ จอแจ แต่ติดเรื่องงบเยอะ  และ ดูเป็นการแบ่งแยกดินแดนไทย จึงมีการชะลอเรื่องนี้ไว้มาช้านาน

จนกระทั่งสมัยรัฐบาลลุงตู่ พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ก็ได้มีการผลักดันเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น LandBridge แทน  

แลนด์บริดจ์1-min

แลนด์บริจด์ ประเทศไทย

สะพานเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมต่อระหว่าง 2 ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย และ อันดามัน เข้าด้วยกัน ระหว่าง   จ.ชุมพร และ  จ.ระนอง โดยการสร้างเป็น ทางหลวง Motorway 6 เลนส์ ควบคู่กับการสร้างทางรถไฟทางคู่  ความยาว  90   กม.  พร้อมด้วย pipeline หรือ การขนส่งทางท่อ เพื่อขนของเหลวอย่างน้ำมันหรือก๊าซได้ด้วย

ส่วนการดำเนินงานก่อสร้าง รัฐบาลจะยังต้องเสนอเข้า ครม. โดยอยู่ระหว่างหาทุนโรดโชว์เสนอ นักลงทุนต่างชาติ คาดใช้งบลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท  ทำให้นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จำต้องควงปากกา วาดภาพใส่กระดาษ โชว์นักลงทุนจีนด้วยตัวเองเลย โดยบอกว่า แม้ไม่สวย แต่สื่อสารได้ผลดี  ทำให้สังคมพูดถึงแลนด์บริดจ์อีกครั้ง และขณะนี้ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอยู่

หลักการ

เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาในเรื่องการเชื่อมสะพานเศษฐกิจเพื่อเชื่อมภูมิภาคระหว่างฝั่งอันดามันและอ่าวไทย

เหตุผล

เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้นประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน (Land Bridge) เป็นการเชื่อมระบบท่อแก๊ส น้ำทะเล น้ำจืด ซึ่งถือเป็นการเชื่อมต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จากจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนอง เพื่อยกระดับท่าเรือสินค้า และดำเนินการตามแผนขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC)

​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ ​ หากโครงการแล้วเสร็จประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมในภูมิภาค จะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในพื้นที่ภาคใต้ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเกือบ 500,000 ล้านบาท รวมทั้งเป็นการเชื่อมโยงในภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน อีกทั้งในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าวจะต้องมีกฎหมายควบคุมและบังคับใช้เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกับระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)

ข้อดี แลนด์บริดจ์

  • 1. ช่วยลดระยะเวลาขนส่งสินค้าทางเรือ จากประเทศแถบตะวันออกไทย ไป เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรป ได้ถึง 2วันครึ่ง จากเดิมผ่านช่องแคบมะละกา  9 วัน เหลือ 5 วัน
  • 2. ลดความแออัดของจราจร ผ่านช่องแคบมะละกา ที่คาดว่าปี 2467 จะมีปริมาณเรือเต็มศักยภาพจะรับไหว  
  • 3. แผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ คาดช่วยเพิ่ม GDP ภาคใต้ได้ จาก 2% เป็น 10%  

ข้อเสีย แลนด์บริดจ์

  • 1.ผลกระทบทางธรรมชาติ
  • 2.ผลกระทบเรื่องที่อยู่อาศัย
  • 3.กระทบวิถีชีวิตชาวประมงชาวบ้าน
แลนด์บริดจ์2-min

ที่มา : LIRT

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อากาศมันร้อน! แดดส่องเก้าอี้สแตนเลส จนไฟลุก เกือบเผาร้านอาหารวอด

เตือนภัย! ไฟไหม้ร้านอาหาร หลังสภาพอากาศประเทศไทยร้อนขึ้น คาด แดดส่องเข้าเก้าอี้สแตนเลส จนทำให้เกิดประกายไฟ

มันใช่เหรอ? พ่อน้องออนิว ภูมิใจ ลงรูปอวดลูกน้อย ดูดพอตข้างน้ำท่อม

ชาวเน็ต จวกยับ แบบนี้เหมาะสมแล้วเหรอ? หลัง พ่อน้องออนิว อวดรูปลูกชาย นั่งสูบบุหรี่ไฟฟ้า ลั่น! ลูกผมไม่เหมือนคนอื่น

“ฤดูฝน” ปี 2567 ช้ากว่าปกติ 1 – 2 สัปดาห์ พร้อมเตือนประชาชน เฝ้าระวังพายุหมุนเขตร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วง ฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2567 และข้อควรระวังในช่วงฤดูฝนปีนี้

เปิดคำพูด! กามิน เผยสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่

ฟังชัดๆ! กามิน ตอบสถานะล่าสุด แน็ก ชาลี ลั่น ดรามาครั้งนี้ทำให้เรียนรู้ครั้งใหญ่ ทำให้เห็นอีกมุมของฝ่ายชายมากขึ้น

คุณยายสุดเซ็ง! โดนแม่ค้าหลอกขายหอย แต่เปิดมาที กลิ่นเหม็นมาก..

โดนแม่ค้าต้มจนเปลือย! ยายวัย 79 ปี สุดเซ็ง ซื้อหอยแมลงภู่มา 3 โล แต่กินไม่ได้ เปิดออกมามีแต่กลิ่นเหม็นเน่า บางตัวก็ไม่มีเนื้อ

จัดว่าเด็ด! อินฟลูฯ สาว ปาเซตบิกินีจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับ งานนี้โกยยอดไลก์เพียบ

เด็ดจริง! อินฟลูเอนเซอร์สาว ปาเซตบิกินีตัวจิ๋ว อวดหุ่นหนุบหนับริมชายหาด บอกเลยงานนี้โกยยอดไลก์เพียบ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า