ก.แรงงาน เตรียมเสนอ ครม.และ คสช.ในการพิจารณาการออกคำสั่งตามาตร 44 เพื่อชลอบทลงโทษตามมาตรา 101 102 119 และ 122 ให้ดำเนินการได้ถูกต้อง โดยใช้ระยะเวลา 120 วัน
พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ว่า เพื่อเป็นการปิดช่องว่างและปรับปรุงกฏหมายให้สามารถดำเนินการจัดระเบียบได้แรงงานต่างด้าวได้ทั้งระบบ นายกรัฐมนตรีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ โดยจะมีเสนอที่ประชุม ครม.และ คสช.ในการพิจารณาการออกคำสั่งตามาตร 44 เพื่อชลอบทลงโทษตามมาตรา 101 102 119 และ 122 ให้ดำเนินการได้ถูกต้อง โดยใช้ระยะเวลา 120 วัน เน้นย้ำในเรื่องการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐต้องไม่มีเรื่องทุจริต หรือเรียกรับเงินจากแรงงานและผู้ประกอบการ โดยกระทรวงแรงงานจะประสานกับทุกหน่วยงานให้เกิดการทำงานด้วยความโปร่งใส และต้องไม่ขาดแคลนแรงงานซึ่งเรื่องนี้ได้กำหนดแผนไว้แล้
“อยากถามว่าเคยได้ยินเรื่อง ต่างด้าวเต็มบ้านเต็มเมือง เป็นเจ้าของกิจการแย่งอาชีพชีพคนไทยกันบ้างไหม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นต้องทำให้ถูกต้อง รัฐบาล เริ่มจัดระเบียบ ตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศในปี 2557 เพราะอยู่ในยุทธศาสตร์การดำเนินงานของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ทำมานาน 3 ปีแล้ว รณรงค์ไม่ให้ใช้แรงงานผิดกฏหมายมาตลอด ไม่ใช่ออก พ.ร.ก.ต่างด้าวแบบปุ๊ปปั๊ป พ.ร.ก.ฉบับนี้ เป็นการนำกฎหมาย 2 ฉบับ มารวมกันเป็น 1 เพื่ออุดช่องว่าง ให้สามารถดำเนินการจัดระเบียบ คุ้มครอง ป้องกัน ไม่ได้มีการเพิ่มฐานความผิดเพียงแต่เพิ่มโทษสูงขึ้น ค่าปรับ 4-8 แสน ไม่ใช่อยากเพิ่มก็เพิ่ม มันเชื่อมโยงกับกฎหมายอื่นในกลุ่มเดียวกัน บทลงโทษจึงเทียบเคียงกัน นายจ้างต้องตระหนัก ถ้าทำผิดก็ต้องรับโทษ พล.อ.ศิริชัย กล่าว ”
พล.อ.ศิริชัย กล่าวถึงเรื่องผลกระทบการขาดแคลนแรงงาน ว่า นายกฯ เป็นห่วงในเรื่องนี้ จึงจำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 ชะลอโทษใน 4 มาตรา คือ มาตรา 101 , 102 , 119 และ 122 เพื่อให้ขบวขนการต่างๆ ไปดำเนินการให้ถูกต้องภายใน 120 วัน ซึ่งที่จริงแค่ 2 เดือนหรือ 60 วันก็สามารถทำได้แล้ว แต่ได้เผื่อเวลาให้ถึง 120 วัน โดยเนื้อหาของ มาตรา 44 นอกจากชะลอโทษ จะมีการห้ามเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมาย แสวงหาผลประโยชน์ ทุกส่วนต้องทำงานอย่างโปร่งใส