สส.พรรคก้าวไกล ลุยถก ปัญหาผังเมืองกรุงเทพ ร่างปรับผังเมืองฉบับใหม่ ชี้ ให้เห็นถึงจุดบกพร่อง ที่ประชาชนได้รับผลกระทบ
วันที่ 7 มกราคม 2567 จากกรณี ปัญหาผังเมืองกรุงเทพ ที่มีการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชนเกี่ยวกับการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) หลังจากที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 4 ครั้ง โดยเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย ก่อนติดประกาศ แล้วให้ผู้ไม่เห็นด้วยมาคัดค้านภายใน 90 วัน ก่อนประกาศบังคับใช้ผังเมืองฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 โดยในเวทีมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบออกมาคัดค้าน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการขยายถนนและถูกเวนคืนที่ดิน โดยในครั้งนี้ สส.พรรคก้าวไกล ได้เข้าร่วมถกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

โดยทาง สส.พรรคก้าวไกล ได้จัดทำข้อมูลถึง ปัญหาผังเมืองกรุงเทพ ฉบับใหม่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบ สส.กรุงเทพมหานคร เห็นถึงความสำคัญของผังเมืองเป็นอย่างมาก และมีข้อสังเกตต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นผังเมืองในร่างผังเมืองฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 โดยมีการจัดเตรียมข้อมูลไปด้วยดังนี้
-การกำหนดผังสี โดยไม่มีหลักการและไร้ทิศทาง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงผังเมืองกรุงเทพมหานครในร่างปรับปรุงครั้งนี้ เป็นเพียงการเพิ่มความเข้มข้นของการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามแนวรถไฟฟ้า และการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่การวางผังเพื่อชี้นำความเจริญและกำหนดอนาคตเมือง แต่เป็นการวางผังหลังจากที่เมืองเจริญไปก่อนแล้ว และปรับผังตามการเจริญเติบโตอย่างไร้ทิศทาง
-การเปลี่ยนแปลงพื้นที่อนุรักษ์ชนบท และเกษตรกรรม (ผังสีเขียว) ซึ่งฝั่งตะวันตก อาทิ เขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน ที่เคยกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่รับน้ำนั้นถูกตัดหายไป แต่มีการปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เจริญขึ้นอย่างก้าวกระโดดในหลายพื้นที่ ซึ่งกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกที่ปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยส่วนใหญ่จะยังคงเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเท่านั้น
- เพื่อไทย เผย! คืบหน้า ‘แก้หนี้นอกระบบ’ พบ หนี้ลดลงร่วม 169 ล้านบาท
- ผลสำรวจปชช. เชื่อ เศรษฐาอยู่ยาว แต่ การเมืองจะวุ่นวายเหมือนเดิม
- ตั้งคำถามแบงค์ชาติ เศรษฐกิจแย่ แต่แบงก์ทำกำไร 2.2 แสนล้าน ?
-ไม่กำหนดยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองกรุงเทพฯ และไม่ได้มีการวางแผนร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครกับ ปริมณฑลอย่างมียุทธศาสตร์ หรือมีหลักการและเหตุผลประกอบ ในบางพื้นที่มีความย้อนแย้งตรงรอยต่อ อาทิ รอยต่อ กรุงเทพ-สมุทรปราการ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการพัฒนา
-เรื่อง FAR Bonus (สิทธิพิเศษในการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผังเมืองกำหนด) ร่างผังเมืองปัจจุบัน มีการกำหนดมาตรการจูงใจเอกชนแลกกับ FAR Bonus ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ทำบ่อหน่วงน้ำ (พื้นที่รับน้ำ) เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การทำทางเชื่อมถนนสาธารณะ หรือการเพิ่มพื้นที่สำหรับ Hawker Center เพื่อหาบเร่แผงลอย เพื่อแลกกับ FAR สูงขึ้น เพื่อสิทธิสร้างอาคารใหญ่ขึ้น สูงขึ้น หนาแน่นขึ้น แต่ไม่มีการกำหนดยุทธศาสตร์ หรือผลประโยชน์ ที่กรุงเทพมหานครจะได้รับกลับมาอย่างเป็นรูปธรรม และไม่มีการติดตามดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม จึงขอเสนอว่า ควรกำหนดยุทธศาสตร์ FAR Bonus แบบเจาะจงในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ภูมิศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ของกรุงเทพมหานคร รวมถึงมีการวางแผนปฏิบัติการติดตามผลลัพธ์ที่กรุงเทพมหานคร จะได้รับ อาทิ กรุงเทพชั้นใน เช่น เขตราชเทวี เขตสาทร และเขตบางรัก เป็นต้น หากขอ FAR Bonus ควรต้องแลกกับการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (Affordable Homes) เนื่องจากที่อยู่อาศัยในเมืองมีราคาแพง จับต้องไม่ได้ และ กรุงเทพ CBD เช่น เขตวัฒนา เขตคลองเตย หากขอ FAR Bonus ควรต้องแลกกับการทำถนนในพื้นที่ เพื่อเชื่อมซอย เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด และมุ่งหน้าสู่พื้นที่มลพิษต่ำ (Low Emission Zone)

-ปัญหาความไม่สอดคล้องของแผนคมนาคม ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติในผังเมืองกรุงเทพฯ ไม่ได้สอดคลองกับแนวทางระบบคมนาคมโดยรวม
-ผังสีขาว (ที่ดินทหาร )ในร่างผังเมืองฉบับนี้ ยังคงไว้ซึ่งมีอยู่ในกรุงเทพฯ กว่า 12,900 ไร่ ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากจึงควรจะนำมาพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากกว่า
-การกำหนดพื้นที่สีแดง สำหรับการพาณิชย์อย่างไม่มีหลักการเพราะกระจายตัวอยู่บนพื้นที่ของเหล่านายทุน ไม่สอดคล้องกับแผนผังการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจขนาดย่อย
-ผังพื้นที่โล่ง/พื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งในด้านการใช้ งานอเนกประสงค์ และการรับน้ำ ให้กับพื้นที่ในเมือง ซึ่งร่างผังเมืองฉบับนี้ได้นับรวมพื้นที่เอกชน อาทิ สนามกอล์ฟ เข้าไปด้วย เป็นการขัดแย้งต่อเงื่อนไขการเป็นที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด
-สภาพปัญหาของกรุงเทพ คือ การกระจุกความเจริญ โดยร่างผังเมืองปัจจุบันไม่ได้แก้ไขปัญหาลดความแออัดในกรุงเทพฯ ชั้นใน แต่อย่างใด และไม่มีการกระจายความเจริญอย่างมีแผนรองรับอย่างเป็นรูปธรรม