สวนกลับทันควัน! ไหม ศิริกัญญา ลั่นแรงหลัง นายกเศรษฐา โพสต์ว่าอย่าสร้างความสับสน ชี้ ตรรกะวิบัติ ปม เงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท
เรียกว่าเป็นสงครามโซเชียลกันตั้งแต่ช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 ระหว่าง ไหม ศิริกัญญา และ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลังจากที่เมื่อวานนี้ กระทรงการคลังได้มีการแถลงความคืบหน้าของโครงการ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ว่าจะมีการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง และมีการกำหนดเงื่อนไขใหม่ ว่าผู้ที่มีสิทธิรับเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต นั้นต้องมีอายุ 16 ปีขี้นไป และต้องมีรายได้ไม่ถึง 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินฝากไม่ถึง 500,000 บาท อีกทั้งยังขยายรัศมีให้สามารถใช้ได้ในอำเภอนั้นๆตามที่อยู่ในบัตรประชาชน
โดยหลังจากที่ กระทรวงการคลังแถลง ทางด้าน ศิริกัญญา ตันสกุล ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวถึงประเด็นดังกล่าว โดยศิริกัญญานั้นมองว่า พ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้าน ขัดต่อ ม. 140 ของรัฐธรรมนูญ และ ม. 53 ของพ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง แต่ก็ยังเลือกทางนี้ ซึ่งนายกและพรรคเพื่อไทยย่อมทราบดี เพราะเป็นกรณีเดียวกับที่ศาลรัฐธรรมนูญปัดตก พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้าน (รถไฟฟ้าความเร็วสูง) เมื่อปี 2556
โดย ศิริกัญญา ยังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sirikanya Tansakun – ศิริกัญญา ตันสกุล อีกด้วยว่า นายกแถลงวันนี้ เป็นการยอมรับว่าไม่ได้คิดอย่างถี่ถ้วนทั้งเรื่องว่าจะเอาแหล่งเงินมาจากไหนสุดท้ายต้องกู้มาแจก และเทคโนโลยีจาก super application ที่ย้อนกลับมาใช้เป๋าตัง
ซ้ำร้าย เงินดิจิทัล 10,000 บาท อาจจะไม่มีใครได้เงินเลยซักคนเดียว เพราะทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าร่างพ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้าน ขัดต่อ ม. 140 ของรัฐธรรมนูญ และ ม. 53 ของพ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง แต่ก็ยังเลือกทางนี้ ซึ่งนายกและพรรคเพื่อไทยย่อมทราบดี เพราะเป็นกรณีเดียวกับที่ศาลรัฐธรรมนูญปัดตก พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้าน (รถไฟฟ้าความเร็วสูง) เมื่อปี 2556
หรือนี่เป็นเพียงการสร้างภาพให้ความมั่นใจกับประชาชนว่ากำลังจะได้เงิน ทั้ง ๆ ที่รู้ดีว่าไปไม่รอดแน่ เป็นการสร้างกับดักเพื่อที่ในอนาคต หากมีบรรดานักร้อง หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน ไปร้องต่อศาล รธน. (ซึ่งพรรคก้าวไกลไม่ไปร้องแน่นอน) ก็จะสามารถอ้างได้ว่าเป็นความผิดของศาล รธน. ในการปัดตกร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล
ดิฉันขอคัดค้านสุดตัวไม่ให้เรื่องนี้มีศาลรธน.เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร ก็ให้มันจบที่คกก.กฤษฎีกา เป็นคนตีความ และรัฐบาลรับผิดชอบในทางการเมืองด้วยตัวเอง
แต่ถ้าถึงที่สุด เกิดอภินิหารและร่างพรบ.นี้ผ่านสภาไปได้ การผ่อนชำระคืนใน 4 ปี บวกดอกเบี้ยในแต่ละปี จะสร้างภาระทางการคลังขึ้นไปเกือบ 20% ของรายได้รัฐบาล เท่ากับเก็บภาษีมาได้ก็เอาไว้จ่ายคืนหนี้ ดอกเบี้ยต่องบประมาณจะทะลุ 10% ในปีงบ 68 ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรดาสถาบันจัดเครดิตเรทติ้งเฝ้าจับตาเพื่อรอหั่นเรทติ้งอยู่แน่นอน
จากนั้น เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายเศรษฐา ก็ได้โพสต์ข้อความถึง ศิริกัญญา ว่า “อย่าเอามาตรฐานความคิดของตัวเองมาหวังว่าคนอื่นเค้าจะเป็นเหมือนกัน อย่ามองความตั้งใจที่บริสุทธิ์ และความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน มาเป็นมุมการเมืองที่สร้างความสับสนให้กับประชาชนเลยครับ”
นายกตรรกะวิบัติ
ล่าสุด ทางด้านศิริกัญญา ก็ไม่รอให้เกิดความเข้าใจผิดนานตอบกลับ นายเศรษฐา ทันควันผ่าน ทวิตเตอร์(x) Sirikanya Tansakun โดยระบุข้อความว่า
Noble Effort คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดหนึ่งที่ตีความผิดๆ ว่า อะไรสักอย่างย่อมถูกต้อง ดีงาม จริงแท้ หรือมีคุณค่า เพียงเพราะใครสักคนทุ่มเทแรงกายแรงใจ หรือแม้แต่เสียสละเวลา ทรัพย์สิน หรือความสุขสบาย มาพากเพียรทำสิ่งนั้นๆ ด้วยเจตนาที่ดี cr: ศัพท์+ตรรกะวิบัติวันละคำ โดย สฤณี อาชวนันทกุล
