อดิศร-เพื่อไทย แซะ พิธา อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล วิจารณ์รัฐบาล 100 วันแรกรัฐบาลเศรษฐา ลั่น พิศวง สงสัย ไปทุกเรื่อง เหลวไหล
วันที่ 17 ธันวาคม 2566 นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านช่องทาง X (ทวิตเตอร์) กล่าวถึง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ก่อนหน้านี้ออกมา “วิเคราะห์ 100 วันแรกรัฐบาลเศรษฐา” โดย นายอดิศร กล่าวว่า “พิศวง สงสัย ไปทุกเรื่อง ค้าน แค้น เคือง เหลวไหล โลกแห่งความฝันของก้าวไกล พิธา เติมไฟ ในอารมณ์” พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ วิจารณ์รัฐบาล 100 วัน ดูเหมือนจะไม่มีดีเลย…ดีเฉพาะก้าวไกล เท่านั้น?

สืบเนื่องจาก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โดยระบุข้อความว่า “วิเคราะห์ 100 วันแรกรัฐบาลเศรษฐา” หนึ่งในหมุดหมายสำคัญของรัฐบาลทั่วโลกหลังการเข้าดำรงตำแหน่ง มักจะเป็นช่วงเวลา 100 วันแรก เพราะเป็นช่วงเวลาในการทำงานที่สามารถสะท้อนให้เห็นได้ถึงความมุ่งมั่น ที่รัฐบาลนั้นมีต่อการรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนก่อนที่จะมาเป็นรัฐบาล ในฐานะโรดแมปในการบริหาร ตามงาน และการสั่งงานของรัฐบาล และในฐานะการบริหารความคาดหวังและความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนจากต่างประเทศ ด้วยข้อจำกัดทั้งเรื่องเวลาและงบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลทั่วโลกจึงจำเป็นจะต้องมีโรดแมป ว่า 100 วันแรกจะมีการขับเคลื่อนอย่างไรได้บ้าง “บัดนี้ครบเวลา 100 วันแรกสำหรับรัฐบาลเศรษฐาแล้ว ผมจึงได้จัดการแถลงข่าววิเคราะห์การทำงานในรอบ 100 วันแรก พร้อมนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการทำงานในอนาคตข้างหน้าของรัฐบาลเศรษฐา”
- อุ๊งอิ๊ง โว ทักษิณ สร้างประโยชน์ให้ประเทศ ยัน ไม่รู้เข้าข่ายขังนอกเรือนจำ
- วิปรัฐบาล โวยถูก ‘ก้าวไกล’ แก้เผ็ดทำ ประชุมสภาล่ม ตั้งแต่วันแรก
- จ่อ ขยายโซนนิ่ง ปิดผับตี4 ลั่น อะไรที่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น พร้อมสนับสนุน
ซึ่งนายพิธา ได้ระบุว่า ในเชิงยุทธศาสตร์ 100 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่สำคัญหลายประการ นั้นคือ การแสดงถึงความมุ่งมั่นในการรักษาสัญญาที่มีให้ไว้กับประชาชน ก่อนที่จะมาเป็นรัฐบาล วาระ 100 วันแรก มี Roadmap ในการบริหาร ที่จะสั่งงาน ตามงานของรัฐบาล และความคาดหวัง การบริหารความเชื่อมั่นของประชาชน และนักลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 5 ข้อ
1.คิดดี ทำได้ : ช่วยตัวประกันไทยในอิสราเอล , วัคซีน HPV , หนี้ในระบบ นอกระบบ พักหนี้
2.คิดไป ทำไป : ดิจิทัลวอลเล็ต , เงินเดือนขรก , แลนด์บริดจ์
3.คิดสั้น (ยัง)ไม่คิดยาว : ค่าไฟ ค่าเดินทาง , รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
4.คิดใหญ่ ทำเล็ก : ซอฟต์เพาเวอร์ , วีซ่าฟรี , สปก , ค่าแรง
5.คิดอย่าง ทำอย่าง : ร่างรธน , ปฏิรูปกองทัพ

ทั้งนี้ นายพิธา ยังได้มองแผนของปีหน้าที่ รัฐบาลเศรษฐา พึงกระทำไว้ด้วย โดยมีการกล่าวว่า การทำงานของรัฐบาลปีหน้า ควรมี Strategic Roadmap ที่ชัดเจน
1.ควรมีแผนที่ชัดเจนในการทำงานได้แล้ว เริ่มจากการมาแถลงงบประมาณต่อสภาชี้แจงว่าในอีก 1 ปีข้างหน้ามีแผนจะทำอะไรบ้าง พร้อมกับตัวชี้วัดที่ฝ่ายค้านจะสามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน
2.รัฐบาลต้องมีกระบวนการทำงานที่เป็นมืออาชีพมากกว่านี้ การสั่งการต้องไม่สับสนก่อนประกาศอะไรต้องคิดถึงวิธีที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเสียก่อน นอกจาก know what ต้องมี know how ด้วย ไม่ใช่คิดไปทำไป ให้ข้าราชการเสนอมา พอไม่ถูกใจก็ให้ไปแก้ใหโดยที่ไม่มีภาพชัดเจนเลยว่าต้องการอะไรกันแน่
3.รัฐบาลผสมต้องทำงานให้เป็นเอกภาพกว่านี้ต้องพูดคุยกันให้ตกผลึกถึงนโยบายหรือโครงการเรือธงของตนเอง ไม่ใช่มาขัดแย้งกันในขั้นดำเนินการ นายกรัฐมนตรีต้องมีอำนาจนำเหนือคณะรัฐมนตรีอย่างแท้จริง
4.ทำการศึกษาโครงการอย่างละเอียดเสียก่อนประกาศออกไป ในปีหน้า หากรัฐบาลจะมีโครงการะไรที่เป็น mega project อีก เช่น landbridge ก็ขอให้ทำการศึกษาอย่างละเอียดเสียก่อนประกาศออกไป อย่าให้ซ้ำรอยแลนด์บริดจ์ ที่วาดฝันปั้นตัวเลขสูงเกินจริง เสี่ยงทั้งในด้าน implement เหมือนดิจิทัลวอลเล็ต และเสี่ยงคอร์รัปชันสูง