นิด้าโพล เผย ผลสำรวจ แจกเงินดิจิทัลวอเล็ต นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นกังวล
วันที่ 15 ตุลาคม 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การแจกเงินดิจิทัลวอลเลต ควรไปต่อหรือพอแค่นี้?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความกังวลของประชาชนต่อนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ว่าอาจจะทำให้ได้ไม่คุ้มเสียกับประเทศ (เช่น เกิดภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของแพงขึ้น ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ) ตามคำเตือนของ 99 นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ พบว่า ตัวอย่าง
-ร้อยละ 30.92 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล
-รองลงมา ร้อยละ 28.47 ระบุว่า ไม่กังวลเลย
-ร้อยละ 25.27 ระบุว่า กังวลมาก
-ร้อยละ 15.19 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล
-ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง
-ร้อยละ 47.10 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อ แต่ควรมีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน
-รองลงมา ร้อยละ 32.52 ระบุว่า ดำเนินนโยบายต่อตามที่ได้หาเสียงไว้
-ร้อยละ 18.85 ระบุว่า ควรหยุดการดำเนินการในนโยบายนี้ได้แล้ว
-ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
- ลดจำนวนผู้รับสิทธิ ดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ให้ทุกคน และต้องลงทะเบียนก่อน
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน รับคำร้องสอบ แจกเงินดิจิทัล พิจารณาส่งศาลหรือไม่
- นโยบาย ดิจิทัลวอเล็ต รัฐบาลวอนผู้ที่คิดต่างเปิดใจ เชื่อลดความเดือดร้อน
ส่วนการรับเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง
-ร้อยละ 79.85 ระบุว่า รับเงินและนำไปใช้จ่าย
-รองลงมา ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ไม่รับเงิน
-ร้อยละ 5.42 ระบุว่า รับเงิน แต่ไม่นำไปใช้จ่าย
-ร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย หากรัฐบาลยกเลิกนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท พบว่า ตัวอย่าง
-ร้อยละ 60.00 ระบุว่า ส่งผลกระทบให้คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยลดลง
-รองลงมา ร้อยละ 29.92 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ กับคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย
-ร้อยละ 6.49 ระบุว่า ส่งผลให้คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้น
-ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ไม่ทราบ/ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ทั้งนี้ นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มีเสียงของประชาชนที่สนับสนุน นโยบายเงินดิจิทัล หรือ ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งมองว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน ผู้ค้า และชุมชน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย ข้อมูลจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปี 2023 การเติบโต GDP ไทยทรุดหนักสุด ฟื้นตัวช้าสุด รวมทั้งข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สถานการณ์ประเทศไทย หนี้ครัวเรือนไทยเป็นอันดับ 7 ของโลก ส่งผลกระทบโดยเฉพาะถึงกลุ่มฐานราก สะท้อนว่าประชาชนมีความสามารถในการหารายได้ต่ำลง ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยนอกจากจะฟื้นตัวช้า รายได้ไม่เพียงพอ ยังมีหนี้ที่ทำให้ไม่สามารถมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่โตตามศักยภาพ จึงไม่ฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนโควิด-19 นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) นอกจากสร้างโอกาส กระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ประชาชนเป็นกลไกหลักในการใช้จ่าย ยังเพิ่มโอกาส เพิ่มศักยภาพในการฟื้นตัวของครัวเรือนและของประเทศ อยากให้ผู้ที่คิดต่างเปิดใจ ทำความเข้าใจถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากนโยบายนี้ เชื่อมั่นว่าประชาชนที่ไม่มีเงินทุนในการตั้งตัว จะสามารถสร้างเป็นอาชีพ เพิ่มรายได้ ปรับวิถีชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นโอกาสของประชาชนทุกคนที่มีสิทธิ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY