นาย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส. พรรคก้าวไกล วันนี้ผมได้มีการอภิปรายในญัตติเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการให้บริการ การกำหนดอัตราค่าโดยสาร ระบบบริหารจัดการ และแผนงานพัฒนาในอนาคตของระบบขนส่งสาธารณะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมือวันที่ 14 สิงหาคม 2563
ผมเป็นผู้แทนคนหนึ่งที่พูดได้ว่าเกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร โดยวันนี้ผมได้ขึ้นรถ MRT จากสถานีท่าพระมาลงที่สถานีบางโพ แล้วต่อรถวินมอเตอร์ไซค์มาที่สภา ซึ่งก็ถือว่าสะดวกสบายขึ้นพอควรครับ ตั้งแต่มีรถไฟฟ้าหลายสายขยายไปชานเมือง
นายกฯ ลั่นไม่ได้สั่งจับ แกนนำนักศึกษา ยืนยันไม่มีอำนาจแทรกแซง
แต่ทราบหรือไม่ครับว่า ปัญหาการจราจรในกรุงเทพที่จริงยังไม่ลดลงเลย คนกรุงเทพใช้เวลาบนท้องถนนเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับปริมาณสถานีรถไฟฟ้า โดยคนกรุงเทพใช้เวลาอยู่บนถนนเฉลี่ยที่ 56 ชั่วโมงต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 45 ชั่วโมงต่อปี ทำไมเป็นเช่นนั้นครับ มองเผิน ๆ อาจเข้าใจว่าเป็นเพราะรถติด แต่อันที่จริงยังมีเรื่องค่าโดยสารแพง ความไม่ตรงเวลาของรถขนส่งสาธารณะด้วย

ทีนี้มาดูกันว่า การขนส่งสาธารณะสำคัญอย่างไร การขนส่งสาธารณะเป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ เพราะเป็นโอกาส เป็นเครื่องมือในการเลื่อนชนชั้นของผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงงานที่ไกลกว่าและดีกว่าได้ ถ้าเขาใช้เวลาน้อยลงในการเดินทาง เขาก็สามารถเดินทางไปรับงานที่ดีและมีรายได้มากขึ้นได้
ศอปส. ปกป้องสถาบันเบื้องสูง นัดชุมนุมสังเกตการณ์ ม็อบประชาชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พรุ่งนี้
เพื่อนสมาชิกสภาผมได้อภิปรายเรื่องวินมอเตอร์ไซค์และฟีดเดอร์ไลน์ไปบ้างแล้ว แต่ผมอยากเพิ่มเติมเรื่องการจัดการ เพราะเราสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องลงทุน แค่ปรับระบบการบริหารจัดการ แต่ปัญหาอยู่ตรงนี้แหละครับ การบริหารจัดการเช่นปัจจุบัน การขนส่งสาธารณะถูกกำกับดูแลโดยสำนักการจราจรและขนส่ง ซึ่งเป็นสำนักหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบระบบการจราจรขนส่ง การกำหนดมาตรฐานและการดำเนินงานด้านจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ครอบคลุมและน่าจะจัดการได้ แต่หน่วยงานนี้สุดท้ายก็เป็นได้แค่เสือกระดาษ ที่ศึกษาและวางแผนได้ แต่ไม่มีอำนาจจัดการจริง ต่อเชื่อมเส้นเลือดใหญ่และเส้นเลือดฝอยในการจราจรได้
หมอวรงค์ ฝากแง่คิดน้องนักศึกษาชุมนุม ชีวิตจริงวัยทำงาน -นักศึกษาเทียบกันไม่ได้
ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นการเพิ่มสายรถเมล์ หน่วยงานนี้ศึกษาได้ แต่ถ้าจะติดป้ายรถเมล์เพิ่มต้องไปขอหน่วยงานอื่น หรือการปรับราคารถไฟฟ้า ก็ทำไม่ได้นะครับ ต้องไปติดต่อกับ BTS MRT จะทำเรือเมล์ ก็ต้องไปขอกรมเจ้าท่า ที่หนักเลยคือ วินมอเตอร์ไซค์ ที่ต้องผ่านคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ประกอบไปด้วยตำรวจ ขนส่ง เทศกิจ และอีกหน่วยที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกันเลยก็คือทหาร ความไร้อำนาจของหน่วยงานที่มีข้อมูล ทำให้จัดการปัญหาไม่ได้
ผมขอยกตัวอย่างที่ฝรั่งเศสนะครับ จะมีหน่วยงานหนึ่งที่ดูแลและจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะทั้งหมดในปารีส ทำให้เขาจัดการทุกอย่างเพื่อกระจายการบริการสาธารณะออกไปได้จริง สามารถใช้บัตรใบเดียวเดินทางได้ทุกประเภท ถ้าขนส่งสาธารณะดี เราถึงจะเรียกตัวเองว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้ครับ
ผมขอทิ้งท้ายด้วยคำพูดของนายกเทศมนตรีกรุงโบโกต้านะครับ “ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ใช่ประเทศที่คนจนมีรถ แต่เป็นประเทศที่คนรวยใช้ขนส่งสาธารณะครับ”