เศรษฐา นายกรัฐมนตี เล็งยกระดับ ประเพณีลอยกระทง ผลักดันเป็น Soft Power ยกการบ้านให้ กระทรวงวัฒนธรรม ต่อยอดเป็น World Class Festival
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ถือเป็น วันลอยกระทง ประจำปี 2566 ซึ่ง ประเพณีลอยกระทง ได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก ทั้งในชาวต่างชาติ และและคนไทยเอง ซึ่งลักษณะโดดเด่นคือ บบรยากาศภายในงานจะถูกจัดไปด้วยแสงสีเสียงที่ตระการตา บางพื้นที่มีการจัดแสดงพลุเพื่อความสวยงาม ซึ่งเทศกาลนี้สามารถสร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี นั่นจึงทำให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของประเพณีนี้ พร้อมสนับสนุนจัดงานเพิ่มความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยว และประชาชน

อย่าง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการออกมาแสดงความคิดเห็นถึง “ประเพณีลอยกระทง” ว่า “ลอยกระทงเป็นประเพณีที่สืบสานกันมายาวนาน มีในหลายประเทศครับ ประเพณีลอยกระทงบ้านเราก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อขอขมาพระแม่คงคา และตอบแทนคุณที่มีน้ำให้เราได้ใช้กันครับ” ลอยกระทงเป็นประเพณีที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม ต่อยอดเป็น World Class Festival ได้ และวันนี้ผมก็จะเดินทางไปสุโขทัยเพื่อไปร่วมประเพณีนี้ด้วย
- เตือนภัย! ‘ยาเสียสาว’ อันตรายถึงชีวิต ระบาดหนักวันลอยกระทง
- ลอยกระทงออนไลน์ ระวัง! มิจฉาชีพแอบแฝง หลอกฉกข้อมูลส่วนตัว
- เว็บลอยกระทงออนไลน์หน่วยงานรัฐ ปลอดภัย ไร้มิจฉาชีพแอบแฝง
แน่นอนว่าในปัจจุบัน เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ รูปแบบของเทศกาลจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไป และผมเห็นว่าหลายภาคส่วนก็ได้เริ่มรณรงค์การเปลี่ยนรูปแบบแล้ว ทั้งการลดใช้วัสดุ การจำกัดขอบเขต แต่ผมยังคงตั้งเป้าที่จะให้มีมาตรการอื่น ๆ ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมให้จริงจังมากยิ่งขึ้นต่อไปในภายภาคหน้า
อันนี้ เป็นโจทย์ให้กับทางกระทรวงวัฒนธรรมและคณะกรรมการ Soft Power เพื่อไปคิดกันว่าเราจะทำยังไงให้เทศกาลนี้ทั้ง Celebrative, Festive และ Environmental Friendly มากขึ้นครับ

ทั้งนี้ วันลอยกระทง เป็นเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งเป็นเทวดาในคติฮินดู แต่เทศกาลนี้มีร่องรอยหลักฐานย้อนไปถึงจีนและอินเดียโบราณ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกว่าลอยกระทง ส่วนประเทศอื่น ๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน โดยประเทศพม่ามีชื่อว่า “เทศกาลตาซองได”, ประเทศศรีลังกามีชื่อว่า “Il Full Moon Poya” และประเทศจีนมีชื่อว่า “เทศกาลโคมไฟ” ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่