ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ตัวจี๊ด “เดลตาครอน” โควิดลูกผสม หรือที่จริงแล้ว เป็นเพียงการปนเปื้อน

เชื้อเก่ายังอยู่ เชื้อใหม่ต่อคิวมาแล้ว ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ตัวจี๊ด “เดลตาครอนDeltacron โควิดลูกผสม โอมิครอน+เดลต้า หรือที่จริงแล้ว เป็นเพียงการปนเปื้อน

หลังจากที่กลายประเด็นที่เรียนเสียงฮือฮาจากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้พบเคสจากต่างประเทศเป็นผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดและไข้หวัดไหญ่พร้อมกัน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ฟลูโรนา” รายแรกของโลก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้ค้นพบเชื้อตัวใหม่อย่าง “เดลตาครอน” Deltacron ซึ่งเป็นเชื้อลูกผสมระหว่างเชื้อโควิดโอมิครอน และเชื้อโควิดเดลต้า

ทางด้านของเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ได้ให้ข้อมูลกับเชื้อตัวใหม่ที่ค้นพบอย่าง “เดลตาครอน” Deltacron เอาไว้ว่า Dr. Tom Peacock ผู้เชี่ยวชาญการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสระดับโลกชาวอังกฤษ รีบทวิตแจ้งว่าจากการพิจารณารหัสพันธุกรรม มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของ “โอมิครอน” และ “เดลตา” ในห้องปฏิบัติการ เวลาถอดรหัสพันธุกรรมจึงมีรหัสปนกันออกมาเสมือนเกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม

และจากการนำเอาข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกันซึ่งแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน

ศ. นิค โลแมน ผู้เชียวชาญด้านจีโนมของจุลินทรีย์จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา กล่าว แม้ว่าการเกิดลูกผสมระหว่างเดลต้าและโอไมครอนจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลก แต่การค้นพบจากไซปรัสน่าจะเป็น “technical artifact” ที่เกิดขึ้นในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรมจจีโนมของไวรัสมากกว่า

ล่าสุด ศูนย์จีโนมฯ ได้นำรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจำนวน 25 ตัวอย่างที่ทางไซปรัสได้อัปโหลดขึ้นมาแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” โลก มาวิเคราะห์ ก็เห็นพ้องตามที่ ดร. Tom Peacock กล่าวไว้คือเมื่อนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree (ภาพ ขวามือ) พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 รายไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกันซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ มีที่มาจากแหล่งเดียวกันยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกันไม่แตกกิ่งก้านสาขาไปมากมาย และจากรหัสพันธุกรรมทั้ง 25 ตัวอย่างบ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์ “เดลตา” ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของ “โอมิครอน” เข้ามาระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรม

คำถามที่ตามมาคือหากมีสายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นมาจริงๆ ทางศูนย์จีโนมฯจะตรวจพบหรือไม่ คำตอบคือน่าจะตรวจพบ เพราะขณะนี้เราถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีสายยาว (long-read sequencing) ประมาณ 1,000-2,000 ตำแหน่งต่อสาย ดังนั้นหากพบรหัสพันธุกรรมของ “เดลตา” และ “โอมิครอน” ผสมปนกันอยู่ในสายเดียวกัน ก็แสดงว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม

อย่างก็ตามเพื่อความชัดเจนอาจต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสักระยะ หากหลายสถาบันในไซปรัสยังสามารถถอดรหัสพันธุกรรมพบสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าวจากบรรดาตัวอย่างที่ส่งเข้ามาภายใน 1-2 อาทิตย์จากนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าได้เกิดสายพันธุ์ลูกผสม “เดลตาครอน” ในไซปรัสเป็นที่แน่นอน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

สุดจะทน! พ่อโวย ลูกชายถูกรุ่นพี่ฟันเลือดอาบ แต่ครูอ้าง เด็กทำร้ายตัวเอง

ใครก็ได้ช่วยที! เด็กชายม.1 ถูกรุ่นพี่โรงเรียนเดียวกัน ใช้มีดฟันแขนจนเจ็บ พ่อตามเอาเรื่อง แต่ครูอ้าง ลูกชายทำร้ายตัวเอง

“โหรรัตนโกสินทร์” แชร์ทริคการทำบุญ รับวันวิสาขบูชา 2567

โหรรัตนโกสินทร์ – The rattanakosin เผย วันวิสาขบูชา 22 พฤษภาคม 2567 วันสำคัญที่สุดในพุทธศาสนา 7 วันเกิด ทำบุญเสริมดวงอย่างไรให้ปัง!

ดรามาจนได้! เจนนี่ รัชนก แจงปมชุดที่ใส่ร่วมงานแต่ง แก้มบุ๋ม-พีท ยันไม่ใช่สีขาว

เจนนี่ รัชนก ไลฟ์สดแจงปมดรามาชุดที่ใส่ไปร่วมงานวิวาห์ แก้มบุ๋ม-พีท หลังถูกชาวเน็ตติติง เผยชุดนี้ไม่ใช่สีขาว และยันยืนว่าใส่ชุดตรงธีม

ยังไง! ตงตง กฤษกร เปิดตัวคบ สาลี่ ไม่นาน ถูกขุดภาพร่วมโต๊ะกับ เบล บุษยา ?!

ตงตง กฤษกร เพิ่งยอมรับศึกษาดูใจกับ สาลี่ เดอะสตาร์ แต่ล่าสุดกลับถูกแชร์ภาพร่วมโต๊ะทานข้าวกับ เบล บุษยา ชาวเน็ตแห่โฟกัสสาวข้าวกาย ?!

พระหื่น ลักหลับ จับหน้าอกสีกา ทำชาวเน็ต หมดศรัทธาผ้าเหลือง!

ป้าวัย 67 เล่าประสบการณ์สุดช็อก เจอพระลักหลับ บนรถโดยสาร แอบจับหน้าอกตอนหลับ กลางวันแสก ๆ ทำหมดศรัทธาทางธรรมไปเลย

ภูมิธรรม เตรียมขายข้าว 10 ปี หลังตรวจไม่เจอสารอันตราย

ภูมิธรรมเฮลั่น ข้าว 10 ปี ไม่พบสาวอันตราย จ่อตรียมเปิดประมูล ต้นเดือนมิถุนายน ทุกอย่างใส ใคร ๆ ก็ประมูลได้
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า