กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยตัวเลขของ ภูมิคุ้มกัน เชื้อเดลต้า หลังฉีด วัคซีนโควิด ทั้งแบบสองโดส และแบบสลับ เผย ซิโนแวค+แอสตร้าฯ ภูมิขึ้นเพียง 78.65
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ทางด้านนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผย งานวิจัยของการฉีดวัคซีนแบบสลับ (Mix and Match) จากการตรวจภูมิคุ้มกันแบบภาพรวม รวมถึงการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แบบ heterologous prime-boost ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ทำร่วมกับทางโรงพยาบาลศิริราช การทดสอบครั้งนี้ เป็นการตรวจภูมิคุ้นกันหลังรับวัคซีนโควิด-19 โดยใช้เชื้อโควิดเดลต้าในการทดสอบ โดยข้อมูลเหล่านี้ถูกเผยแพร่ผ่านทางไลฟ์สด จากเพจเฟซบุ๊ก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
จากการทดลองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากอาสาสมัครทั้งหมด 125 ราย เป็นชาย 61 ราย หญิง 64 ราย อายุเฉลี่ย 40 ปี (18-60ปี) โดยตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า Quantitative Anti-S RBD ซึ่งเป็นการวัดภูมิภาพรวมไม่ได้แยกสายพันธุ์ใด พบว่า
- ฉีดวัคซีนซิโนแวค + วัคซีนซิโนแวค ภูมิคุ้มกันสูงถึง 117
- ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า + ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันสูงถึง 207
- ฉีดวัคซีนซิโนแวค + ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันสูงถึง 716
( ซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่ระดับภูมิคุ้นกันจะสูง แต่ละคนระดับภูมิคุ้นกันสูงได้ตั้งแต่ 399 – 1,127 )
- ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ที่ส่วนใหญ่ได้ทำการฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนบูสเตอร์ หรือเป็นเข็มที่ 3 พบว่า สามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ และภูมิขั้นค่าเฉลี่ย 1,000 เศษ ขึ้นกว่าซิโนแวค 2 เข็มเดิมที่ได้รับ 10 กว่าเท่า
ทั้งนี้ยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับระดับของภูมิคุ้นกันต่อเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่กำลังระบาดในไทย นั้นคือเชื้อโควิดเดลต้า(อินเดีย) โดยทาง นายแพทย์ศุภกิจ ได้เผยผลทดสอบร้อยละ 90 ดังนี้

- ซิโนแวค + ซิโนแวค ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 24.31
- แอสตร้าเซนเนก้า + ซิโนแวค ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 25.83
- ซิโนแวค + ซิโนแวค + ซิโนฟาร์ม ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 61.26
- แอสตร้าเซนเนก้า + แอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 76.52
- ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 78.65
- ซิโนแวค + ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดลตา 271.17
และได้มีข้อสรุปออกมาว่า การฉีดวัคซีน ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า จะมีภูมิคุ้นกันที่ดีพอๆกับการฉีด แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม แต่ใช้เวลาสั้นกว่า / ไม่แนะนำให้ฉีด แอสตร้าเซนเนก้า + ซิโนแวค / จากฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หลังฉีดซิโนแวค 2 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้นกันได้ดีมากกับเชื้อเดลต้า / การกระตุ้นด้วยซิโนฟาร์ม หลังจากฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ภูมิขึ้นสูง แต่น้อยกว่ากระตุ้นด้วยวัคซีนต่างชนิด
ทั้งนี้ทางด้านนายแพทย์ศุภกิจ ได้กล่าาเพพื่มเติมว่า อาการข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีนสูตรสลับ ซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า จะมีอาการข้างเคียงคล้ายกันการฉีดวัคซีนแอสต้ราเซนเนก้า 2 เข็ม คือ มีไข้ ร้อยละ 66 ปวดศีรษะร้อยละ 33 อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วงซึม ร้อยละ 28
ข้อมูล – กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สามารถติดตามข่าวสาร และ อัปเดทสถานการ์โควิด-19 ได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV