สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อธิบายความแตกต่างระหว่าง สิทธิบัตรทอง กับ สิทธิประกันสังคม ไปดูกันดีกว่าว่าแตกต่างกันอย่างไร
บัตรทอง หรือ สิทธิสปสช. คือสิทธิรักษาพยาบาล ให้กับผู้ที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ ยกเว้นว่าจะมีสิทธิรักษากับประกันสังคม และสิทธิบัตรข้าราชการอื่นๆ
ส่วนประกันสังคม เป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยลูกจ้างและนายจ้าง ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามก็อาจที่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ระหว่างผู้ใช้สิทธิบัตรทอง กับสิทธิประกันสังคม มีความแตกต่างกันอย่างไร

โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้อธิบายความแตกต่างระหว่าง สิทธิบัตรทอง กับ สิทธิประกันสังคม ดังนี้
สิทธิบัตรทอง : ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลประจำแล้วใช้สิทธิได้ทันที
สิทธิประกันสังคม : ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ตามเงื่อนไขถึงจะสามารถใช้สิทธิได้
สิทธิบัตรทอง : ใช้กับสถานพยาบาลประจำที่ลงทะเบียนไว้ กรณีเจ็บป่วยต่างพื้นที่เข้าสถานพยาบาลปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติเข้าสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่อยู่ใกล้
สิทธิประกันสังคม : ใช้กับโรงพยาบาลที่เลือกสิทธิไว้กรณีฉุกเฉินเข้าที่ไหนก่อนก็ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

สิทธิบัตรทอง : การย้ายสิทธิสถานพยาบาลทำได้ 4 ครั้งต่อปี
สิทธิประกันสังคม : การย้ายสิทธิสถานพยาบาลย้ายได้ปีละครั้ง
สิทธิบัตรทอง : ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและไม่มีวงเงิน
สิทธิประกันสังคม : ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ไม่เกิน 900 บาท / ปี
สิทธิบัตรทอง : ให้บริการค่าอาหารและค่าห้องสามัญ
สิทธิประกันสังคม : ให้บริการค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท / วัน
สิทธิบัตรทอง : ได้เพียงสิทธิรักษาฟรี ไม่มีเงินชดเชยว่างงานเหมือนประกันสังคม
สิทธิประกันสังคม : ได้รับเงินชดเชย กรณีว่างงาน เกษียณ เสียชีวิต
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรักษาอื่นๆอีกมากมายของทั้ง 2 สิทธิการรักษา ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจและเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ถูกต้องแนะนำสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนของแต่ละสิทธิการรักษาดังนี้
สายด่วน สปสช.(สิทธิบัตรทอง) สอบถามโทร 1330
สายด่วน ประกันสังคม สอบถามโทร 1506
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY