ไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง หากรัฐเก็บเงินเฟซบุ๊ก กูเกิล ยูทูบ ไลน์ ติ๊กต็อก

ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง หากรัฐเก็บเงินเฟซบุ๊ก กูเกิล ยูทูบ ไลน์ ติ๊กต็อก ที่มีรายได้ในไทย กว่า 6 หมื่นล้านบาท

จากกรณี นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Takorn Tantasithแนะรัฐบาล เก็บเงินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อาทิ เฟซบุ๊ก กูเกิล ยูทูบ ไลน์ ติ๊กต็อก อินสตาแกรม และ ทวิตเตอร์ เพื่อนำมาจัดตั้งกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลหมู่บ้าน โดยนับตั้งแต่มีการพัฒนาระบบโครงข่ายโทรคมนาคมในประเทศไทย ตั้งแต่ 2G เป็น 3G 4G และ 5G เป็นประเทศแรกในอาเซียน การใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดดมาตลอด

ขอบคุณภาพเฟซบุ๊ก Takorn Tantasith

ปัจจุบันข้อมูล จากรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ( The Sustainable Development Report 2022 ) ชี้ว่าคนไทย เข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต 57 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 66 ล้านคน มีจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ใช้งาน 92.33 ล้านเลขหมาย โดยในจำนวน 57 ล้านคนนี้ มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนคิดเป็นสัดส่วน 71 เปอร์เซ็นต์

ขอบคุณข้อมูลเฟซบุ๊ก Takorn Tantasith

คนไทยกว่า 51 ล้านคนไทยสื่อโซเชียลมีเดีย

ดังนั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลาย นำมาสู่การเติบโตของแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย ที่แข่งขันให้บริการหลายเจ้าทั่วโลก คนไทยราวๆ 51 ล้านคนติดต่อสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ไลน์ แมสเซนเจอร์ ติ๊กต็อก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ กูเกิลและยูทูบ ที่เราคุ้นเคยกันดี ผู้เชี่ยวชาญเรียกบรรดาแพลตฟอร์มนี้ว่า Over The Top (OTT) หรือการให้บริการเหนือโครงข่าย

แพลตฟอร์มทั้งหมดนี้เป็นของต่างชาติ แต่ใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของไทย ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เหมือนๆ กับ ถนน ไฟฟ้า สนามบิน ท่าเรือ เป็นต้น ต้องใช้เงินลงทุนนับเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท เงินเหล่านี้มาจากภาษีของประชาชนบ้างและบางโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเอกชนไทยเป็นผู้ลงทุนแทนรัฐ

ขณะเดียวกัน แพลตฟอร์มโชเชียลมีเดียเหล่านี้ เก็บเกี่ยวผลกำไรแต่ละปีมีจำนวนมหาศาล โดยปัจจุบัน ยังไม่ต้องจ่ายเงินใดๆให้กับรัฐและประชาชนของประเทศนั้นๆ เมื่อปีที่แล้ว บริษัทเมตา(Meta) เจ้าของ FaceBook มีรายได้สุทธิ 10,285 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นเงินไทยตกราวๆ 370,000 ล้านบาท ส่วนTikTok กวาดรายได้จากการให้บริการทั่วโลกกว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 145,000 ล้านบาท

ขอบคุณข้อมูลเฟซบุ๊ก Takorn Tantasith

ตามหลักการ การที่บริษัทเอกชนดำเนินการแสวงหากำไร โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของรัฐ บริษัทเหล่านี้ควรมีหน้าที่จ่ายเงินให้กับรัฐในอัตราที่เหมาะสม ในกรณีของไทย แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของไทย ก็ควรจ่ายเงินให้กับรัฐไทย ผมขอเรียกเงินที่ต้องจ่ายนี้ว่าเป็นค่าใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ

วิธีการจัดเก็บเงินจากแพลตฟอร์มต่างชาติ อาจทำผ่านกระบวนการ ตรวจวัดปริมาณทราฟฟิกหรือปริมาณข้อมูลที่วิ่งเข้า-ออกเกตเวย์ โดยนำขนาดของทราพฟิกมากำหนดเป็นขนาดธุรกิจ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และคำนวณอัตราที่เรียกเก็บตามรายได้ของขนาดธุรกิจ ถ้าทราฟฟิกใหญ่มาก มียูสเซอร์เป็นล้านคน ก็เก็บเงินมาก ถ้าทราฟฟิกขนาดเล็ก ก็เก็บเงินน้อยลงตามสัดส่วน

ขอบคุณภาพ Pixabay

ข้อเสนอนี้ แตกต่างจากเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับแพลตฟอร์มผู้ให้บริการต่างประเทศหรือ Vat for e-service ที่กรมสรรพากรเริ่มเก็บเมื่อปีที่แล้ว เพราะการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม”เป็นการผลักภาระให้ผู้บริโภคไทย ต้องจ่ายภาษี โดยที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่ได้ควักกระเป๋าตังค์จ่ายให้รัฐไทยแม้แต่น้อย เพราะไปบวกค่าภาษีเข้ากับค่าบริการแล้ว แม้รัฐจะได้เงินภาษีมาบริหารประเทศ แต่ผู้แบกรับภาระภาษีคือประชาชนไทย ไม่ใช่แพลตฟอร์มที่เข้ามาใช้โครงสร้างพื้นฐานไทย

แพลตฟอร์มต่างชาติ รายได้รวมกว่า6 หมื่นล้านบาท

ตามข่าวบอกว่า แพลตฟอร์มต่างชาติที่ลงทะเบียนในไทยมีทั้งหมด 127 ราย ช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2564- มีนาคม 2565 (เพียง 6 เดือน ) แพลตฟอร์มดังกล่าว ทำรายได้รวมแล้ว 60,874 ล้านบาท กรมสรรพากรเก็บแวตเข้าคลัง 4,261 ล้านบาท

ขอบคุณข้อมูลเฟซบุ๊ก Takorn Tantasith

แนวคิดการเรียกเก็บค่าใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมนี้ เป็นกระแสที่ได้รับการยอมรับในโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เพียงแค่ไทย ปัจจุบันสหภาพยุโรปมองว่า บรรดาบริษัทที่สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัล แม้ไม่ได้อยู่ในอียู แต่ก็ถือว่าเป็นบริษัทมีตัวตนทางดิจิทัล (digital presence) และถ้าบริษัทเหล่านี้อยู่ในข่ายทำรายได้ในอียูมากกว่า 7 ล้านยูโรต่อปี หรือมีผู้ใช้งาน(user) มากกว่า 1 แสนคนต่อปี ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้อียู

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการอียูกำลังร่างกฎหมายเก็บภาษีดิจิทัล คาดการณ์ว่าถ้ากฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วและเก็บภาษีดังกล่าวที่อัตรา 3% จะทำให้สมาชิกอียู มีรายได้กว่า 5 ล้านล้านยูโรต่อปีภาษีหรือประมาณ 186.25 ล้านล้านบาท

สำหรับความกังวลที่ว่าหากเก็บค่าใช้โครงสร้างพื้นฐานนี้แล้ว แพลตฟอร์มต่างชาติซึ่งมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จะหยุดหรือลดการให้บริการในไทยนั้น ผมคิดว่าเป็นไปได้ยาก เพราะข้อเสนออัตราจำนวนเงินที่รัฐ จะเรียกเก็บ นับเป็นสัดส่วนที่ต่ำ เมื่อเทียบกับฐานรายได้ของแพลตฟอร์มเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ที่ความนิยมใช้บริการสูงมาก

นอกจากนี้ หากในอนาคต ประเทศอื่นๆ เริ่มเก็บเงินดังกล่าวในลักษณะเดียวกัน เช่นที่เราจะเห็นในอียู การที่ไทยเรียกเก็บเงินเหล่านี้ ก็ไม่ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจในไทยสูงกว่าประเทศอื่นแต่อย่างใด ถ้าเรายอมรับในหลักการเรื่องการเก็บค่าใช้โครงพื้นฐานแล้ว คำถามสำคัญที่ตามมาคือ จะนำรายได้นี้ไปใช้จ่ายอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนไทย

วิธีหนึ่งที่ผมสนับสนุนคือ การจัดตั้งกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลหมู่บ้าน ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัลในระบบฐานรากจากหมู่บ้านให้เข้มแข็งสู่ระดับประเทศ หน้าที่หนึ่งของกองทุนนี้ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด

คือการเพิ่มทักษะทางด้านดิจิตัลให้กับเยาวชนและคนในชุมชน เพื่อให้สามารถปรับตัวและมีงานที่ดี ในยุคที่โลกและไทยกำลังเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ เงินเหล่านี้ไม่ใช่เงินอัดฉีดชั่วคราว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ทำเพื่อช่วยพัฒนารากฐานทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ขอบคุณข้อมูลเฟซบุ๊ก Takorn Tantasith

กองทุนดังกล่าวจะบริหารงานโดยตัวแทนภาคประชาชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เพื่อกระจายเงินลงไปสู่หมู่บ้านและเมื่อถึงหมู่บ้านก็มีคณะกรรมการของหมู่บ้านเองเป็นผู้บริหารเอง จะไม่ใช่การบริหารกองทุนที่แบบรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อจะได้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในหมู่บ้านและเกิดความรับผิดชอบของหมู่บ้านเองโดยตรง

สร้างประโยชน์กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล กว่า7 หมื่นหมูบ้านในไทย

ลองนึกภาพดู เรามี 72,035 หมู่บ้านทั่วประเทศ ถ้ามี กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อประโยชน์ของประชาชน และมีการขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน รากฐานของเศรษฐกิจไทยด้านดิจิทัลก็จะเข้มแข็งขึ้นอย่างมาก และคนไทยก็จะมีความพร้อมและได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากกระแสดิจิทัลของโลก ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังครับ

สำหรับ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2559 และดำรงตำแหน่งในวาระที่สองต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : https://www.brighttv.co.th/

Facebook : https://www.facebook.com/BrightTodayOfficial

Line Today : https://today.line.me/th/v2/publisher/101753

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ผิดแค่ไหน! พ่อค้าร้านขาหมูประกาศหยุดขาย หลังถูกร้องเรียนเสียงดัง

พ่อค้าร้านข้าวประกาศ หยุดขายขาหมู หลังเพื่อนบ้านร้องเรียน สับหมูรบกวนเสียงดัง ล่าสุดเทศบาลนัด 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยพรุ่งนี้

สพฐ. แจงปม ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ ที่ร้อยเอ็ด ชี้! ผิดวินัยไม่ร้ายแรง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยผลสรุป ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ พบผิดวินัยไม่ร้ายแรง เตรียมลงดาบทางวินัย แต่ให้โอกาสปรับปรุงตัว

ณเดชน์ ใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง พร้อมขอโทษ ญาญ่า

ณเดชน์ คูกิมิยะ ถึงกับใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง บานปลายสร้างความเข้าใจผิด พร้อมขอโทษ ญาญ่า อุรัสยา

แชร์สนั่น! “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่เด็กสมบูรณ์ พกง่าย ละลายเร็ว

ชาวเน็ตอึ้ง! เด็กสมบูรณ์เปิดตัว “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่ ของซีอิ๊วขาว มาพร้อมกับสโลแกน พกสะดวก ละลายไวใน 5 วินาที

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ยินดี สมรสเท่าเทียมผ่าน เผยเป็นวันที่รอคอยมานาน

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ข้อความร่วมยินดี เมื่อสมรสเท่าเทียมผ่านครม. พร้อมเผยเป็นวันที่รอคอยมานานมาก โลกเปิดกว้าง ไม่จำกัดเพศ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า