แนวทางในการปฏิบัติตัวเลี่ยงการสัมผัส คราบน้ำมันดิบ ในพื้นที่มีการรั่วไหล และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคราบปะปนจนอาจส่งผลต่อสุขภาพ
จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลกลางทะเลในเขตอุสาหกรรมมาบตะพุด เมื่อวันที่ 25ม.ค.65 ที่ผ่านมา และมวลคราบน้ำมันได้เคลื่อนตัวเข้ามาถึงบริเวณหาดแม่รำพึง (ลานหินดำ) ในวันที่ 29ม.ค.65 ซึ่งในพื้นที่มีสถานประกอบการ 15 แห่ง ตลาดแพปลาประมงพื้นบ้าน 3 แห่ง ที่อาจส่งผลทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม หากมีการสัมผัส หรือเข้าสู่ร่างกาย โดยผลกระทบต่อสุขภาพแบบเฉียบพลัน เช่น หายใจลำบาก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะผู้มีอาการภูมิแพ้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก็จะทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ และหากมีการสัมผัส ทางดวงตาและผิวหนังโดยตรง อาจส่งผลให้ทำให้เกิดการระคายเคือง
นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบแบบเรื้อรัง และระยะยาว หากได้รับสารพิษในปริมาณความเข้มข้นเกินมาตรฐาน และได้รับเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อระบบไต ตับ ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท และในกรณีที่มีการกินอาหารทะเล ที่มีสารปนเปื้อนสารโลหะหนักที่เกินค่ามาตรฐาน ในระยะยาวมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
แนวทางปฏิบัติตัวสำหรับประชาชนกรณีที่อยู่ใกล้สถานที่มีการรั่วไหลของน้ำมันดิบในทะเล
- ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการรับมือต่อผลกระทบสุขภาพ
- หากได้รับผลกระทบจากกลิ่นน้ำมันรั่วไหลในพื้นที่ ให้สวมหน้ากากป้องกันสารเคมีตลอดเวลา
- หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในจุดที่มีความเสี่ยงต่อการมีคราบน้ำมันที่ชายหาด
- หากพบว่ามีอาการผื่นขึ้น ผิวหนังอักเสบบริเวณที่สัมผัสกับคราบน้ำมันให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที
- เลือกหาปลาและจับสัตว์น้ำทะเลในบริเวณที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันดิบรั่วไหล เน้นเลือกกินอาหารทะเลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และไม่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมันดิบ
- สังเกตลักษณะ กลิ่น สี และคราบน้ำมันในสัตว์ทะเล หากพบความผิดปกติให้หลีกเลี่ยงการกิน
- หากได้รับกลิ่นไอระเหยจาก คราบน้ำมันให้สวมหน้ากากป้องกันสารเคมีตลอดเวลา
- ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังต้องเฝ้าระวังผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีอย่างใกล้ชิด

ข่าวที่น่าสนใจ
มาถึงแล้ว! ระยองประกาศเตือน งดเล่นน้ำทะเล ‘หาดแม่รำพึง’ เด็ดคาด ปม น้ำมันดิบรั่ว
กรมควบคุมมลพิษวางทุ่นป้องกัน คราบน้ำมัน เคลื่อนตัวเข้าเกาะเสม็ด หลังพบมวลคราบก้อนใหญ่จำนวน 51 ตร.กม.