กลุ่ม ปตท. พร้อมลุยเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยกลยุทธ์ เร่งปรับ-เร่งเปลี่ยน-เร่งปลูก
ในการประชุมสมัชชาประเทศว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศเจตนารมณ์จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2065 โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ได้แบ่งเป็น 3 ประเด็นใหญ่ด้วยกัน ได้แก่ การลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และเร่งปรับเปลี่ยนผลักดันการใช้พลังงานสะอาด และเพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย
ส่วนในระดับองค์กรที่ผ่านมาภาคธุรกิจขนาดใหญ่หลายรายได้เริ่มปรับตัวเพื่อบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ กลุ่ม ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติที่ตระหนักดีถึงความสำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้เร็วกว่าเป้าหมายของประเทศ ปี 2065 ผ่าน 3 เร่ง ที่ประกอบไปด้วย
- เร่งปรับ กระบวนการผลิต คือ การดำเนินการปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด อาทิ ดำเนินโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดในภาคอุตสาหกรรมและนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินถาวรโดยไม่ปล่อยกลับสู่ชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า Carbon Capture and Storage หรือ CCS ปัจจุบัน กลุ่ม ปตท. ริเริ่มศึกษาและพัฒนาโครงการ CCS ที่ “แหล่งอาทิตย์” ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โดยมี ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี และแหล่งอื่นๆในประเทศไทยคาดว่ามีศักยภาพสามารถกักเก็บได้ถึง 40 ล้านตันต่อปี จากโครงการดังกล่าว ปตท. ยังมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเรียกว่า Carbon Capture and Utilization หรือ CCU ทั้งยังมีการใช้พลังงานทดแทน การใช้พลังงานไฮโดรเจน ไปจนถึงการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต
- เร่งเปลี่ยน สู่ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ การปรับทิศทางธุรกิจที่มุ่งไปสู่ Low Carbon Business โดยได้ ปตท. ปรับวิสัยทัศน์ขององค์กรใหม่และตั้งเป้าหมายระยะยาว โดยจะลงทุนในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคตและธุรกิจนอกเหนือจากพลังงานให้สูงถึง 32% และภายในปี 2030 จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนให้ได้ 12 กิกะวัตต์ พร้อมส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ รวมถึงปรับลดการลงทุนในธุรกิจถ่านหินลง
- เร่งปลูกป่าเพิ่มอีก 1 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณการกักเก็บ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศด้วยวิธีทางธรรมชาติ ผ่านการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่างๆ ทั่วประเทศร่วมกับภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ โดยที่ผ่านมา ปตท. ได้ปลูกป่าและดูแลรักษาป่าไม้ไปแล้วกว่า 1 ล้านไร่และกลุ่ม ปตท. ยังมีแผนจะปลูกป่าเพิ่มอีก 2 ล้านไร่ ที่คาดว่าจะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ประมาณ 4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นอกจากการปลูกป่า กลุ่ม ปตท. ยังได้สร้างศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปลูกป่า ผ่าน 3 ศูนย์เรียนรู้ ได้แก่ คือ ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินีท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์เรียนรู้ป่าวังจันทร์ จังหวัดระยอง และศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง กรุงเทพฯ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้สู่องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจอีกด้วย
กลยุทธ์ เร่งปรับ เร่งเปลี่ยน และเร่งปลูก โดยกลุ่ม ปตท. จึงนับเป็นก้าวใหญ่ของภาคอุตสาหกรรมพลังงานที่สะท้อนถึงความพร้อมจะเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างมั่นคงและยั่งยืน
