ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์มาตรการทวงวัคซีน แอสตราฯ ที่หายไป 10 ล้านโดส

ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์มาตรการทวงวัคซีน แอสตร้าที่หายไป 10 ล้านโดส ในบทความซีรีส์ลับลวงพราง วัคซีนโควิด ตอน 17

เมื่อวานนี้ 30 มิถุนายน 2564 ชมรมแพทย์ชนบท เผยแพร่บทความซีรีส์ ลับลวงพราง วัคซีนโควิด ตอน 17 : 30-06-64 เรื่อง มาตรการทวงคืนสัญญา แอสตราเซเนกา 10 ล้านโดสต่อเดือนที่หายไป ข้อความดังนี้

‘รัฐบาลและ ศบค.แถลงชัดเจนพร้อมให้ความหวังกับประชาชนคนไทยมาตลอดว่า สยามไบโอไซน์คือความมั่นคงด้านวัคซีนโควิดของประเทศ เราสั่งจองแอสตร้าในปี 2564 มีแผนการฉีดแอสตร้าที่เป็นวัคซีนหลัก แบ่งเป็นมิถุนายน 6 ล้านโดส แล้วหลังจากนั้นนับแต่กรกฎาคมเป็นต้นไปเดือนละ 10 ล้านโดส

โดยมีซิโนแวคเป็นวัคซีนเสริม 3-5 ล้านโดส รอจนไตรมาส 4 ตุลาคมเป็นต้นไป จึงได้ไฟเซอร์โมเดิร์นนามาฉีดเพิ่ม แต่แล้วกลับกลายเป็นว่า แอสตร้าสยามไบโอไซน์สามารถส่งมอบให้รัฐบาลไทยในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไปเพียงสัปดาห์ละ 1 ล้านโดสรวมเดือนละ 4 ล้านโดสเท่านั้น

หากประเทศไทยได้แอสตร้าสยามไบโอไซน์เพียงเดือนละ 4 ล้านโดส เราจะมีซิโนแวคเป็นวัคซีนหลักของประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะอาจต้องนำเข้าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6-10 ล้านโดสแทน ได้เสื้อเกราะบางมาใส่แทนเสื้อเกราะหนาปานกลางอย่างแอสตร้า แบบนี้บุคลากรทางการแพทย์และคนไทยไม่โอเคนะครับ

รัฐบาลพยายามแก้เกมส์ขาดแคลนวัคซีนแอสตร้าและ mRNA ด้วยการจัดหาวัคซีนบริจาคมาสมทบ เช่นขอบริจาคแอสตร้าญี่ปุ่นเข้ามาเสริม ขอของสหรัฐเข้ามาเสริม แต่นั่นคือของบริจาค ไว้เสริม ไม่ควรนำมานับเป็นวัคซีนหลักในระบบที่มีจองและการวางแผนสั่งซื้อตามสัญญาการจองวัคซีนไว้

ถึงเวลาแล้วที่รองนายกอนุทินในฐานะประธานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติต้องประชุมเพื่อจัดการปัญหานี้เพราะแอสตร้าสยามไบโอไซน์ทำให้การจัดหาวัคซีนปั่นป่วนมาก จำนวนที่ผลิตได้เดือนละ 15 ล้านโดส ทางบริษัทแม่เขาจะกันไว้ส่งมอบให้ประเทศอื่นๆด้วย จึงทำให้สัดส่วนวัคซีนของสยามไบโอไซน์ที่ผลิตได้ จะส่งมอบให้รัฐบาลไทยประมาณ 25-30% เท่านั้น ที่เหลือต้องส่งออก และดูเหมือนวันรัฐบาลจะไม่กล้าไปต่อรองหรือใช้เครื่องมือทางกฎหมายใดๆในการทำให้ประเทศไทยได้วัคซีนแอสตร้า 10 ล้านโดสต่อเดือนตามที่เคยคุยโวไว้เลย

ชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายผู้ติดตามเรื่องการบริหารจัดการวัคซีน จึงเห็นว่า รัฐบาลมีหน้าที่ต้องทำทุกวิถีทางให้ประเทศไทยได้รับการส่งมอบวัคซีนแอสตร้าจากสยามไบโอไซน์ที่ 10 ล้านโดสต่อเดือนตามที่เคยรัฐบาลเคยกล่าวอ้างไว้ให้ได้ นี่คือเป้าหมายที่ต้องทำให้ได้ แล้วค่อยจัดหาซิโนแวคมาเสริม 5 ล้านโดสให้ครบเดือนละ 15 ล้านโดสเป็นอย่างน้อย

ดังนั้นวิธีการตามกฎหมายที่ทำได้ก็คือ อาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561มาตรา 18(2) ที่ระบุว่า รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจ “กำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีนไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งต้องเหมาะสมกับสัดส่วนการใช้วัคซีนภายในประเทศ”

ฉะนั้น รัฐบาลจึงสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าจากสยามไบโอไซน์ได้ โดยควรกำหนดให้ส่งออกได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ที่ผลิตได้ ก็จะทำให้ประเทศไทยมีวัคซีนแอสตร้าฉีดในประเทศไทย 10 ล้านโดสต่อเดือนตามเป้าเดิม เดินหน้าการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้อย่างมั่นใจหนทางนี้สดใสและง่ายที่สุดแล้ว คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติส่วนใหญ่เขาก็เห็นด้วยแล้ว

จึงหวังว่ารัฐบาลและ รมต.สาธารณสุขจะรีบดำเนินการ และทำทุกวิถีทาง ให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัคซีน อย่างน้อยก็จากแอสตร้าสยามไบโอไซน์ ไม่ใช่จากซิโนแวคที่ควรเป็นวัคซีนเสริมเท่านั้น ประชาชนรอดูอยู่ ชี้ช่องกันขนาดนี้แล้ว อย่ารีรอเลยครับนายกประยุทธ์และรองนายกอนุทิน’

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า