ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทยกับการรับมือโรคโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่” พบว่า
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ของรัฐบาลตั้งแต่มีการแพร่ระบาดจนถึงปัจจุบัน พบว่า
- ร้อยละ 40.03 ระบุว่า ค่อนข้างพึงพอใจ เพราะประชาชนได้วัคซีนอย่างทั่วถึง มีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเข้มงวด สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19
- ร้อยละ 28.08 ระบุว่า ไม่ค่อยพึงพอใจ เพราะการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การจัดสรรวัคซีนที่ล่าช้า การนำวัคซีนที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมาฉีดให้แก่ประชาชน
- ร้อยละ 16.97 ระบุว่า พึงพอใจมาก เพราะมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเข้มงวด มีการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19
- ร้อยละ 14.92 ระบุว่า ไม่พึงพอใจเลย เพราะการบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ การบริหารวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ล่าช้า วัคซีนไม่มีคุณภาพ มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ
ด้านความเชื่อมั่นต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของรัฐบาลในอนาคต พบว่า
- ร้อยละ 36.76 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะมาตรการป้องกันไม่เข้มงวด การนำวัคซีนที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมาฉีดให้แก่ประชาชน โรคโควิด 19 มีการกลายพันธ์อย่างต่อเนื่อง รองลงมา
- ร้อยละ 32.50 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะรัฐบาลสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดสรรวัคซีนให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
- ร้อยละ 18.19 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะการบริหารไม่มีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาล่าช้า มาตรการไม่เข้มงวด การบริหารวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 12.55 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะมาตรการป้องกันมีความการชัดเจนและเข้มงวด มีการจัดสรรวัคซีนให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง สถานการณ์ภายในประเทศดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง
สำหรับความกังวลต่อโรคโควิด 19 สายพันธุ์ “โอมิครอน (Omicron)” พบว่า
- ร้อยละ 34.78 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล เพราะสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว พักอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและต้องเดินทางบ่อย วัคซีนที่ได้รับมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกัน, มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยว รองลงมา
- ร้อยละ 24.96 ระบุว่า กังวลมาก เพราะเชื้อกลายพันธุ์สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็ว วัคซีนที่ได้รับมีประสิทธิภาพลดลง
ในการป้องกัน มาตรการคลายล็อกดาวน์ของรัฐบาล การบริหารของรัฐบาลยังไม่มีประสิทธิภาพ - ร้อยละ 22.91 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล เพราะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 การแพร่ระบาดภายในประเทศมีจำนวนน้อย ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยสามารถรับมือได้ ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
- ร้อยละ 17.35 ระบุว่า ไม่กังวลเลย เพราะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ต้องปรับตัวเพื่ออาศัยอยู่กับโรคโควิด 19 ให้ได้ ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เป็นสายพันธุ์ไม่ค่อยมีความรุนแรง
ด้านความคิดเห็นต่อการกลายพันธุ์ของโรคโควิด 19 ในอนาคต นอกจากสายพันธุ์ “โอมิครอน (Omicron)” และ “เดลต้า (Delta)” พบว่า
- ร้อยละ 36.00 ระบุว่า เกิดการกลายพันธุ์ และมีความรุนแรงมากกว่าเดิม รองลงมา
- ร้อยละ 26.56 ระบุว่า เกิดการกลายพันธุ์ และมีความรุนแรงเหมือนเดิม
- ร้อยละ 14.84 ระบุว่า เกิดการกลายพันธุ์ แต่มีความรุนแรงน้อยลง
- ร้อยละ 8.30 ระบุว่า ไม่เกิดการกลายพันธุ์ ร้อยละ 4.03 ระบุว่า เกิดการกลายพันธุ์ แต่ไม่มีความรุนแรง
- ร้อยละ 10.27 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
สำหรับวิธีการป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19 พบว่า
- ร้อยละ 94.67 ระบุว่า สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะ รองลงมา
- ร้อยละ 76.79 ระบุว่า ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
- ร้อยละ 65.07 ระบุว่า ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
- ร้อยละ 41.32 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาด สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
- ร้อยละ 36.53 ระบุว่า เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เช่น ยืนหรือนั่งห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร เป็นต้น
- ร้อยละ 10.73 ระบุว่า งดทำกิจกรรมหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ทั้งภายในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง
- ร้อยละ 9.97 ระบุว่า อาบน้ำทันที เมื่อกลับถึงที่พัก และติดตามข่าวสารสถานการณ์เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในสัดส่วนที่เท่ากัน
- ร้อยละ 6.77 ระบุว่า ตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19
- ร้อยละ 6.70 ระบุว่า กักตัวอยู่บ้าน (Self-isolated) เมื่อรู้สึกไม่สบาย
- ร้อยละ 6.09 ทำงานที่บ้าน (Work from home) และเดินทางเท่าที่จำเป็น และร้อยละ 4.11 ระบุว่า ใช้แอปพลิเคชัน เช่น ไทยชนะ หมอชนะ เป็นต้น
ส่วนความคิดเห็นต่อมาตรการด้านสาธารณสุขของประเทศในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ พบว่า
- ร้อยละ 66.97 ระบุว่า การจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอในการป้องกันโรคโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ รองลงมา
- ร้อยละ 46.27 ระบุว่า การจัดหายารักษาโรคโควิด 19 ที่มีคุณภาพ
- ร้อยละ 28.39 ระบุว่า การอนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถสั่งซื้อ หรือนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
- ร้อยละ 26.71 ระบุว่า การเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วย
- ร้อยละ 25.42 ระบุว่า การออกกฎ ข้อบังคับให้ทุกคนในประเทศต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
- ร้อยละ 24.12 ระบุว่า การเพิ่มจำนวนเตียง โรงพยาบาลสนาม และหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ให้เพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วย
- ร้อยละ 23.21 ระบุว่า การให้ความสำคัญมากขึ้นกับการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า
- ร้อยละ 21.84 ระบุว่า การพึ่งพาการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มากขึ้น
- ร้อยละ 2.82 ไม่ทราบ/ไม่ตอบ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อมาตรการด้านการเดินทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ พบว่า
- ร้อยละ 68.95 ระบุว่า การเพิ่มความเข้มงวดและรัดกุมในการตรวจสอบโรคโควิด 19 กับผู้เดินทางเข้าประเทศทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รองลงมา
- ร้อยละ 38.81 ระบุว่า การเพิ่มบทลงโทษที่รุนแรงแก่ผู้ลักลอบขนแรงงานต่างชาติตามชายแดน
- ร้อยละ 31.51 ระบุว่า การปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่
- ร้อยละ 20.24 ระบุว่า การประกาศจำกัดการเดินทางภายในประเทศทันทีที่มีการแพร่ระบาดภายในประเทศของโรคโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่
- ร้อยละ 18.87 ระบุว่า การจำกัดสิทธิของผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนในการเข้าถึงบริการของรัฐ การออกไปในพื้นที่สาธารณะ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ


ข่าวที่น่าสนใจ
เปิด 3 เงื่อนไข!ให้ประกัน รุ้ง ปนัสยา คดีอยุธยาจะไม่ทน ยกเลิกใส่กำไล EM
ครม.เคาะ! กว่า 500 ล้าน จ่ายเงินเยียวยาผู้เลี้ยงสุกร 56 จังหวัด
สังคมว่าไง! น้ารับไม่ได้หลานเป็นกะเทย บังคับตัดผมสั้น ทำร้ายร่างกาย แฟนหนุ่มลั่นเอาเรื่องถึงที่สุด