วันที่ 19 มีนาคม 2561 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ออกหนังสือข่าวประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจ สำหรับการใช้คำว่า แซว, คะ, ค่ะ และ นะคะ ที่ถูกต้อง
โดยสิ่งที่สังคมออนไลน์ให้ความสนใจและถกเกียงกันเป็นอย่างมากก็คือการสะกดคำว่า “แซว” ที่แต่เดิมนั้น คนไทยจะใช้คำว่า “แซว” จนต่อมามีการแก้ไขคำสะกดให้ถูกต้อง ให้สอดคล้องกับเสียงที่ออก เลยให้สะกดคำว่า “แซ็ว” แบบใหม่ ให้มีไม้ไต่คู้ โดยเริ่มใช้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
จนมาปัจจุบัน ได้ประกาศใหม่ ให้กลับมาใช้คำว่า “แซว” เหมือนเดิม โดยระบุเหตุผลว่า เกิดปัญหาจากการพิสูจน์อักษรผิด ซึ่งทางสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในการจัดพิมพ์พจนานุกรมฯ ครั้งต่อไป
และได้ทำความเข้าใจอีกครั้งว่า ไม่ว่าจะเป็นการพูดจาหยอกล้อแซวกันเล่น ก็เขียนว่า “แซว” หรือจะเป็นแซววาที ก็เขียนว่า “แซว” รวมทั้ง “แซว” ในคำว่า แซงแซว (นกแซงแซว) ตลอดจน “แซว” ในคำว่า อีแซว (เพลงอีแซว) ก็เขียนว่า “แซว” ทั้งสิ้น
ทั้งนี้หลังจากได้ออกประกาศนี้ลงในเฟซบุ้ก ก็มีผู้ใช้เฟซบุ้กหลายรายเข้ามาแสดงความคิดเห็น ว่าทำไมประกาศใช้แบบใหม่ตั้งแต่ปี 2554 แล้วเพิ่งจะมาทราบว่าสะกดผิด ซึ่งหลายคนก็ได้สะกดแบบใหม่ตามพจนานุกรมในปี 2554 แล้ว แต่กลับกลายเป็นว่า สุดท้ายต้องกลับมาใช้แบบเดิม เป็นสร้างความสับสนให้กับประชาชน

ทั้งนี้หากเข้าไปค้นดูในเว็ปไซต์ราชบัณฑิตฯ ณ.ปัจจุบัน ยังสะกดคำว่า “แซ็ว” แบบนี้อยู่ ซึ่งทางแอดมินเพจได้อธิบายเอาไว้ว่า ที่ยังสะกดแบบเดิมเพราะยึดจากฐานข้อมูลตามพจนานุกรมปี 2554 เมื่อได้แก้ไขในพจนานุกรมฉบับใหม่ ก็จะทยอยเปลี่ยนข้อมูลในเว็ปไซต์ตาม