ทั่วโลกตะลึง! ไคล์ กอร์ดี้ วัย 32 ปี จากลอสแองเจลิส ผู้บริจาคอสุจิจากสหรัฐอเมริกา ตั้งเป้าที่จะมีลูก 100 คนในปี 2568
ไคล์ กอร์ดี้ วัย 32 ปี จากลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ผู้บริจาคอสุจิทั้งทางไกลและผ่านการมีเพศสัมพันธ์ กล่าวว่าเขามุ่งหวังที่จะมีลูก 100 คนภายในสิ้นปี 2568 จนถึงขณะนี้ เขามีบุตรแล้ว 87 คน โดยคนโตอายุ 10 ขวบ และยังมีอีก 14 คนที่เตรียมจะเกิดในสวีเดน นอร์เวย์ อังกฤษ และสกอตแลนด์ ตามรายงานของ New York Post
นายกอร์ดี้กล่าวว่า “รู้สึกดีมากที่ได้เป็นพ่อของลูกๆ จำนวนมาก” และเสริมว่า เขาได้ช่วยให้ผู้หญิงทั่วโลกเริ่มต้นมีครอบครัวในขณะที่พวกเธอคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ บริการของนายกอร์ดี้นั้นฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายและสามารถรับได้โดยติดต่อเขาผ่านทางหน้า Instagram หรือเว็บไซต์ของเขา “Be Pregnant Now” ซึ่งหากเขาทำตามเป้าสำเร็จ เขาจะถูกกำหนดให้เป็นบุคคลที่สี่ที่จะเป็นพ่อของลูก 100 คน
- หนุ่มๆฟัง ไม่อยากมีลูกยาก อย่าอาบน้ำอุ่นก่อนมีเพศสัมพันธ์ มีผลต่ออสุจิ
- เพศศึกษา101! เคล็ดลับสำหรับผู้ชายกินอะไรแล้ว “น้ำอสุจิหวาน”
- อ้วกแทบพุ่ง โรงแรม 5 ดาว เสิร์ฟน้ำเปล่ากลิ่นคาว รู้ความจริงพบ อสุจิ
ผู้บริจาคอสุจิต่อเนื่องวางแผนที่จะมีลูกต่อไป
แม้ว่าคาดว่าจะมีลูก 100 คนในปี 2568 แต่นายกอร์ดี้กล่าวว่า “เขาเพิ่งเริ่มต้น” เท่านั้น “ผมยังห่างไกลจากการสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรโดยรวมของโลก” เขากล่าว นอกจากนั้นเขาวางแผนที่จะแซงหน้าผู้ก่อตั้ง Telegram อย่าง Pavel Durov ซึ่งรายงานว่ามีลูกทางสายเลือดไม่ต่ำกว่า 100 คน นอกจากนี้ นายกอร์ดี้กล่าวว่า เขาไม่ได้มีเป้าหมายที่ชัดเจน และต้องการ “มีลูกต่อไปจนกว่าผู้หญิงจะไม่ต้องการเขาอีกต่อไป”
ซึ่งก่อนหน้านี้กอร์ดี้เคยมีความสัมพันธ์กับหไญิงคนรัก แต่ความรักของเขาต้องหยุดชะงักลงเมื่อปีที่แล้ว หลังจากที่ได้พบกันและหมั้นหมายกับอานิกา ฟิลิปป์ในรายการโทรทัศน์ของอเมริกาเรื่อง 90 Day Fiance ตามรายงานของเดลี่เมล์ อย่างไรก็ตาม ทั้งคู่ก็เลิกรากันหลังจากคบหากันได้แปดเดือน
ในปี 2025 เขาวางแผนที่จะกลับมาบริจาคสเปิร์มอีกครั้งและเดินทางไปญี่ปุ่น ไอร์แลนด์ และเกาหลี “ผมยังไม่สามารถเดินทางไปบริจาคในประเทศเหล่านั้นได้” นายกอร์ดูกล่าว “ใครจะรู้ ผมอาจจะมีลูกในแต่ละประเทศภายในปี 2026”
การบริจาคอสุจิเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในสหรัฐอเมริกา และผู้บริจาคไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมายใดๆต่อลูกหลานของตน อย่างไรก็ตาม กฎหมายการบริจาคอสุจิแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยบางประเทศจะจำกัดจำนวนบุตรที่ผู้บริจาคอสุจิสามารถเป็นพ่อได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์กันในสายเลือดเดียวกันระหว่างลูกของผู้บริจาค

ที่มา : New York Post