นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา อายุรแพทย์โรคหัวใจ ออกมาเตือนภัย หากอยู่กับ ฝุ่นพิษ PM 2.5 ไปนานๆ อาจเกิด มะเร็งปอด และอายุขัยสั้นลง
เชื่อตอนนี้คนเมืองหลายคนต้องเผชิญกับวิกฤต ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งมีค่าฝุ่นที่สูงเกินมาตราฐาน จนส่งผลต่อร่างกาย ทั้งอาการไอ หรือแม้แต่การส่งผลระยะยาว หากใครใช้ชีวิตแบบไม่ป้องกันตัวเอง ล่าสุดทางด้าน นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา อายุรแพทย์โรคหัวใจ ผู้ชำนาญการด้าน Sports Cardiology โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ นั้นได้ออกมาเตือนผ่านเฟซบุ๊ก Akanis Srisukwattana ถึงความรุนแรงของ ฝุ่น PM 2.5 ยิ่งอยู่ด้วยไปนานๆ ยิ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย โดย นพ.อกนิษฐ์ นั้นระบุข้อความว่า
PM 2.5 ระยะสั้นโรคกำเริบ ระยะยาว เกิดมะเร็งปอด Pm 2.5 ทำให้เกิดการอักเสบของร่างกาย นำไปสู่โรคต่างๆ ที่ทำให้เราอายุสั้นลง
- ปริมาณและระยะเวลาที่เสี่ยง
สัมผัส PM 2.5 ระดับ 50-100 µg/m³: การสัมผัสเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 3-5 ปี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดเรื้อรัง
สัมผัส PM 2.5 ระดับ >100 µg/m³: ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะโรคหัวใจและมะเร็ง
ระยะเวลาสัมผัสต่อวัน: การสัมผัส PM 2.5 เพียง 2-3 ชั่วโมงต่อวันในระดับสูง สามารถกระตุ้นการอักเสบในระดับเซลล์ได้ทันที
- PM 2.5 กระตุ้นการอักเสบในร่างกายได้อย่างไร?
ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก (เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร) ทำให้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ถุงลมปอด และกระแสเลือดได้โดยตรง เมื่อร่างกายสัมผัสกับฝุ่นชนิดนี้ ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองทันทีด้วยการส่ง เม็ดเลือดขาว เพื่อจัดการกับอนุภาคแปลกปลอม
- การตอบสนองนี้ทำให้เกิด การอักเสบเรื้อรัง ในเนื้อเยื่อและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น
ระบบทางเดินหายใจ: ทำให้เกิดพังผืดในปอด (Pulmonary Fibrosis) ลดความยืดหยุ่นของปอดและความสามารถในการหายใจ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด: เพิ่มโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด และหัวใจล้มเหลว
ระบบภูมิคุ้มกัน: การอักเสบเรื้อรังอาจลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ

- คน กทม. ใส่หน้ากากด่วน! ค่าฝุ่น PM 2.5 เข้าขั้นแดงเข้ม ติดอันดับ 8 โลก
- คุณภาพแย่! กทม. พบค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงเกินค่ามาตรฐาน ส่งต่อร่างกาย
- เกินมาตรฐาน! กรุงเทพฯ อากาศไม่ดีต่อเนื่อง หลังตรวจวัด ค่าฝุ่น PM 2.5
PM 2.5 เพิ่มการเกิดมะเร็ง
- งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งในระยะยาว โดยเฉพาะ
มะเร็งปอด: ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถแทรกซึมเข้าสู่ปอดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์เยื่อบุปอด นำไปสู่การเกิดมะเร็งปอด
มะเร็งเม็ดเลือด: การอักเสบในกระแสเลือดที่เกิดจาก PM 2.5 อาจกระตุ้นการกลายพันธุ์ในเซลล์เม็ดเลือด
มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้: การสัมผัส PM 2.5 ในระยะยาวเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งในระบบอวัยวะภายใน
สุดท้ายนำไปสู่อายุขัยลดลงจากปัญหาสุขภาพเรื้อรังครับ อายุยิ่งน้อย ยิ่งถูกสะสมนานและเยอะ อายุเยอะ ร่างกายอ่อนแอ สะสมไม่เยอะก็เกิดโรคได้เช่นกันครับ ลดความจำเป็นในการออกกำลัง หรือ ทำกิจกรรม outdoor เปิด เครื่องฟอกอากาศ ถ้าฝุ่นบุกเข้าบ้านครับ ดูแลตัวเองกันไปก่อนนะครับ เพราะต้องอยู่แบบนี้ไปอีกนาน
หมอแอร์ หมอหัวใจและการกีฬา กดติดตาม ข้อมูลสุขภาพ และการออกกำลัง