ซับเวย์ปลอมระบาด! 105 สาขา ผู้บริโภคร้องเรียน อาหารไม่ได้คุณภาพ คดีพลิก โดนแอบอ้างชื่อ หลังหมดสัญญาแฟรนไชส์
กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตไปแล้วกับประเด็นร้อนใน X (ทวิตเตอร์) เมื่อได้มีผู้บริโภคหลาย ๆ ท่านได้ออกมาแชร์ประสบการณ์ซื้อแซนวิชปลอมจากร้านอาหารอเมริกันประเภทแฟรนไชส์ชื่อดังอย่าง Subway หรือ ซับเวย์ โดยมีสินค้าหลักคือ แซนวิช และสลัด

ทางด้านผู้บริโภคหลายรายได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพอาหารไปยัง Subway จนทำให้ทางบริษัทได้รับรู้ถึงปัญหาว่ามีแฟรนไชส์กว่า 105 แห่งทั่วประเทศไทย ใช้ชื่อภายใต้แบรนด์ซับเวย์หลังหมดสัญญาและถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์

นอกจากนี้สาขาที่ถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์กว่า 105 แห่ง ได้มีการสั่งและจัดหาวัตถุดิบหรือแม้แต่กระดาษห่อแซนวิชจากบริษัทอื่น ที่ไม่ใช่จากบริษัท Subway Thailand โดยตรง ทำให้คุณภาพอาหารหรือแม้แต่กระดาษห่อแซนวิชไม่ได้มาตรฐาน

ทางด้าน Subway Thailand ได้มีการออกมาชี้แจง ว่า “เนื่องจากตอนนี้เราได้รับข้อร้องเรียนเรื่องคุณภาพอาหาร ,วัตถุดิบขาด, กระดาษห่อ ไม่มีพิมพ์ลาย Subway, กระดาษห่อลาย Subway สีเลอะติดอาหาร ขนมปังไม่ใช่ของ Subway และ อื่น ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก จากการตรวจสอบพบว่าลูกค้าไปใช้บริการจากร้าน Subway ที่ถูกยกเลิกสิทธิ์ Franchise ไปตั้งแต่วันที่ 26 กค. 2567 ไปแล้ว
- ชาวเวียดนามเดือด! นทท. สาว โชว์โยคะต่างแดน หน้าพระราชวังเกาหลีใต้
- สยอง! สาวรีวิว ‘สเต็กปลาดิบ’ เช็คก่อนกิน หลังเจอเนื้อปลาไม่สุก
- แม่อึ้ง! ลูกแฝด ป.6 น้ำลายฟูมปาก หลังกินของเซ่นไหว้ศาลตา-ยาย
เช่น Food generation สาขา CP ทาวเวอร์ สีลม , ปตท บางแสน ,ปตท สุขสวัสดิ์, เชลล์ ลาดพร้าว, ทองหล่อ, เชลล์ ท่าพระ, คาลเท็กซ์ ประชานุกูล, ดิ อัพ พระราม 3, บางจาก ราชพฤกษ์ และ อื่นๆ ดังนั้น หากลูกค้าประสงค์ที่จะสั่งหรือซื้อ Subway สามารถสังเกตหน้าร้าน จะต้องมีเลขที่ร้านและ เครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise จะเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้องพร้อมบริการตามปกติ มีอาหาร และวัตถุดิบครบทุกเมนู รวมทั้ง อะโวคาโด , มะกอก และ อื่นๆ ถูกต้องตามมาตรฐานของ Subway พร้อมกันนี้ บริษัทได้แนบรายชื่อสาขาที่เป็น ร้าน franchise ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้อง และ ร้านที่ถูกยกเลิกสิทธิ์ แฟรนไชส์ มาพร้อมกันนี้ ทางบริษัทกำลังเร่งดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย”


