“บิ๊กหิน” พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย คณะ น.ศ.หลักสูตรรวมมิตร มอบรถกอล์ฟให้แก่ โรงพยาบาลตำรวจ พร้อมจัดอบรมอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลาประมาณ 13.00 น. ที่สำนักตำรวจแห่งชาติ ณ ห้องประชุมแจ้งยอดสุข ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและสวัสดิการ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เกียรติรับมอบรถกอล์ฟไฟฟ้าจาก “บิ๊กหิน” พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ และ คณะนักศึกษาหลักสูตรรวมมิตร เป็นตัวแทนมอบรถกอล์ฟไฟฟ้า จำนวน 1 คัน ให้แก่โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

โดยภายหลังจากมอบรถกอล์ฟไฟฟ้าแก่โรงพยาบาลตำรวจ ได้มีการจัดอบรมเชิงปฎบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน (Basic Life Support for non Health care) สำหรับนักศึกษาและผู้ดูแลผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารหลักสูตรรวมมิตร ณ ห้องประชุมแจ้งยอดสุข ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรและสวัสดิการ สำนักตำรวจแห่งชาติ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมเป็นจำนวนมาก

การอบรมเชิงปฎบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ในครั้งนี้ประกอบด้วย การฝึกปฎิบัติ การช่วยเหลือขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ใหญ่ เด็กและทารก ฝึกปฎิบัติการช่วยเหลือชิวิตขั้นพื้นฐานด้วยทำ CPR, การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED และ การการฝึกปฎิบัติ การช่วยเหลือ ผู้ที่ประสบเหตุมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ การฝึกอบรมในครั้งนี้เพื่อให้ผู้อบรมได้มีความรู้ความสามารถเบื้องต้นและการเรียนรู้การใช่อุปกรณ์เพื่อนำไปช่วยเหลือให้กับผู้ประสบเหตุได้อย่างมีคุณภาพ

การช่วยเหลือขั้นพื้นฐานด้วยการทำ CPR
1.เรียกดูว่าหมดสติจริง
ให้เช็กสภาพแวดล้อมผู้หมดสติว่าบริเวณนั้นปลอดภัยแล้ว จึงเข้าไปกระตุ้นผู้หมดสติด้วยการตบไปที่บริเวณไหล่ทั้ง 2 ข้าง พร้อมกลับตะโกนถามดังๆ เช่น “คุณ เป็นอย่างไรบ้าง”
2.เรียกหาความช่วยเหลือ
หากพบว่าผู้ประสบเหตุหมดสติจริง หรือ หายใจไม่ปกติ ให้ร้องขอความช่วยเหลือผู้คนบริเวณนั้น พร้อมโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจาก 1669 พร้อมแจ้งข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งจุดที่เกิดเหตุ, เกิดเหตุอะไรขึ้น, สภาพของผู้ประสบเหตุ, อุปกรณ์การช่วยเหลือที่มีอยู่ในขณะนั้น และข้อมูลอื่นตามที่หน่วยฉุกเฉินต้องการ พร้อมทำตามคำแนะนำของแพทย์ หากพบเป็นผู้สูงอายุ ให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเป็นอันดับแรกก่อนลงมือช่วยชีวิต และหากเป็นเด็กให้ลงมือช่วยชีวิต (CPR) ก่อนโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ ดังนั้นแล้วผู้ช่วยเหลือควรมีเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ
3.จัดท่าให้พร้อมสำหรับการช่วยเหลือ
ให้ผู้ที่หมดสตินอนอยู่ในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง โดยให้ศรีษะ คอ ไหล่ และลำตัวตรงเป็นแนวเดียวกัน เพื่อกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำซ้อน
4.ตำแหน่งมือบนหน้าอก
-กรณีผู้ใหญ่ ให้หาตำแหน่งการวางมือที่ครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก โดยใช้ส้นมือวางแล้วเอาอีกมือวางทาบมือแรก
-กรณีเด็ก วางมือบนกระดูกหน้าอกตรงกลางครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก
-กรณีทารก กดหน้าอกด้วยนิ้วมือ 2 นิ้ว ที่กึ่งกลางระดับใต้ราวนมเล็กน้อย
5.ทำการกดหน้าอก
กดหน้าอก 30 ครั้ง ให้ได้ความถี่อย่างน้อง 100-120 ครั้งต่อนาที
-ผู้ใหญ่ ให้กดหน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 2 นิ้ว
-เด็ก ให้กดหน้าอกยุบลงไปประมาณ 2 นิ้ว
-ทารก ให้กดหน้าอกยุบลงไปประมาณ 1.5 นิ้ว
6.เปิดทางเดินหายใจ
ทำการเปิดทางเดินหายใจด้วยการ ดันหน้าผาลงและยกคางขึ้น
7.ช่วยหายใจ
หากพบผู้หมดสติไม่หายใจ ให้เป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลา 1 วินาที และต้องเห็นทรวงอกขยับขึ้น
8.กดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับเป่าลมเข้าปอด 2 ครั้ง

การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED
เมื่อพบว่าผู้หมดสติมีอาการหัวใจหยุดเต้น หรือ เต้นผิดปกติ ให้ใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED ตามขั้นตอน
1.เปิดเครื่อง บางเครื่องจะมีเสียงให้คำแนะนำ
2.ติดแผ่นนำไฟฟ้า เข้ากับหน้าอกผู้ประสบเหตุ
3.ให้เครื่อง AED วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
4.หากเครื่องพบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยผิดปกติ เครื่องจะแนะนำให้ช็อก (ในระหว่างช็อกห้ามสัมผัสผู้ป่วย) จากนั้นเริ่มขั้นตอนกดหน้าอก สลับกับการเป่าลมเข้าปอดไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัว หรือ หน่วยฉุกเฉินเข้าให้การช่วยเหลือ

การเอาสิ่งแปลกปลอมที่อุดกั้นออกจากทางเดินหายใจ
หากพบผู้ประสบเหตุ หายใจติดขัด หายใจไม่ออก เมื่อสอบถามและตรวจดูจนแน่ใจแล้ว ให้ทำการรัดกระตุ้นที่ท้องเหนือสะดือใต้ลิ้นปรี่ โดยเข้าไปที่บริเวณด้านหลัง ใช้มือข้างที่ถนัดกำหมัดมืออีกข้างโอบรอบมือที่กำหันนิ้วโป้งเข้าหาผู้ป่วยรัดกระตุ้นแรงๆ จนผู้ป่วยสามารถสื่อสารได้
หากพบผู้ป่วยเป็นเด็กทารก ให้จับเด็กคว่ำบนแขน ศรีษะต่ำ ตบหลังประมาณ 5 ครั้งจนสิ่งแปลกปลอมหลุด หากไม่สำเร็จให้จับเด็กหงาย แล้วใช้ 2 นิ้วกดกระแทกบริเวณกึ่งกลางกระดูก
(ไม่ควรล้วงปากหรือคอผู้ป่วยหากมองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม)

- ไม่ได้คิดไปเอง! วิจัยชี้ คนที่ชอบคุยกับสัตว์เลี้ยงมีแนวโน้มเป็นคนฉลาด
- 8 ข้อเสีย! กินหวานมากเกินไป ส่งผลอะไรกับร่างกายบ้าง?
- กรมอนามัย ยัน! มะขามหวานขึ้นรากินไม่ได้ แต่มะขามหวานประโยชน์เพียบ


































ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY