จีน ชาติมหาอำนาจอันดับต้นของโลก ได้พิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าช่วงตลอดระยะเวลากว่า70ปีที่ผ่านมา จีนไม่เคยหยุดนิ่ง ไม่เคยอยู่กับที่ และจะไม่มีวันถอยหลังอีกต่อไป

ในการเฉลิมฉลองใหญ่วาระครบรอบ70ปี แห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จัดขึ้น ณ จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม นับเป็นอีกหนึ่งวันที่ทำให้โลกได้มองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของจีน จากการที่หลายคนมองว่าจีนเป็นเพียงประเทศที่ปกครองด้วยระบบเผ็ดจการแต่ทุกวันนี้มันไม่ใชเพียงแค่นั้นแล้ว แต่จีนได้กลายเป็นประเทศชั้นแนวหน้าของโลก
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาภายใต้การนำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในประเทศ เกิดขึ้นได้จากความสามัคคี เป็นหนึ่งเดียวกัน ตลอดทั้งความเด็ดขาดของผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ที่บุกเบิกพัฒนา และจุดประสงค์หลักแน่วแน่ของการพัฒนาประเทศก็คือประชาชน โดยเริ่มจากการลดความเลื่อมล้ำและขจัดความลำบากยากจน
ตัวเลขไม่เคยโกหกว่าความเจริญเกิดขึ้นจริง

GDP เป็นอีกหนึ่งส่วนที่สามารถชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของเทศนั้นๆได้ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจีน ในปี 1952 ที่ผ่านมามีตัวเลขอยู่ที่ 67,900ล้านหยวน ปี1978เพิ่มขึ้นเป็น 367,900 ล้านหยวน ปี 1986 ทะลุเกิน 1 ล้านล้านหยวน และล่าสุดปี 2018 มีตัวเลข GDPอยู่ที่ 90.0309 ล้านๆหยวน
สำหรับอัตราความเป็นแบบเมืองของประชากรที่อยู่ประจำที่ของจีนในปลายปี 2018 เป็น ร้อยละ 59.6 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 41.7 เมื่อเทียบกับปลายปี 1978 อัตราความเป็นแบบเมืองของประชากรตามสำมะโนครัวในปลายปี 2018 อยู่ที่ร้อยละ 43.4 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปลายปี 2012 จำนวนของตัวเมืองจาก 132 เมืองในปี 1949 เพิ่มขึ้นเป็น 672 เมืองในปี 2018
ความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปแบบ พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน

ในส่วนของรายได้พลเมืองและระดับการอุปโภค บริโภค ในปี1956 รายได้ที่ใช้สอยเฉลี่ยต่อคนของพลเมืองทั่วประเทศจีนมีเพียง 98 หยวน ค่าใช้จ่ายในการอปดภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 88 หยวน
ปี 1978 รายได้ที่ใช้สอยได้เฉลี่ยต่อคนของพลเมืองทั่วประเทศจีนอยู่ที่ 171 หยวน ค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 151 หยวน และล่าสุดของปีนี้ ปี2018 รายได้ที่ใช้สอยได้เแลี่ยต่อคนของพลเมืองทั่วประเทศจีนมีถึง 28,228 หยวน เพิ่มขึ้น 24.3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 1978
และในปีเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในการอุปโภค บริโภคเฉลี่ยต่อคนทั่วประเทศจีนอยู่ที่ 19,853 หยวน เพิ่มขึ้น 19.2 เมื่อเทียบกับปี 1978
แก้ความยากจน ลดความเลื่อมล้ำ คือสิ่งที่ผู้นำต้องเล็งเห็น

ในปลายปี 1978 ประชากรผู้ยากไร้ในชนบทจีนมีจำนวนปะมาณ 770 ล้านคน อัตราการเกิดความยากไร้ในชนบทสูงถึงร้อยละ 97.5 ต่อมาในปี 2012 ประชากรผู้ยากไร้ในชนบทจีนลดเหลือ 98.99 ล้านคน อัตราการเกิดความยากไร้ในชนบทเหลือร้อยละ 10.2
และในช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมา ประชากรผู้ยากไร้ในชนบทจีนลดเหลือ 16.6 ล้านคน ซึ่งในช่วง6ปีที่ผ่านมาระหว่างปี 2012 ถึง 2018 มีจำนวนลดลงทั้งสิ้น 82.39 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนคนที่มีงานทำเพิ่มขึ้นถึง 77,586 คนเป็นคนที่ทำงานอุตสาหกรรมด้านที่สองและสามคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับปลายปี 1952 คนทำงานอุตสาหกรรมที่สามคิดเป็นร้อยละ 46.3 เพิ่มขึ้น 37.2 เมื่อเทียบกับปลายปี 1952

จากรายงาน “ผลการวินิจฉัยประเทศจีนอย่างเป็นระบบ” (China Systemic Country Diagnostic)ที่ประกาศโดยธนาคารโลกเมื่อปี 2018 ระบุว่า “ประเทศจีนได้ประสบควมสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในประวัติศาสตร์ในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความยากไร้อย่างรวดเร็ว”
นายแอนโตนีโอ กูเทอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติส่งจดหมายแสดงความยินดีกับ “การประชุมฟอรั่มระดับสูงว่าด้วยการลดความยากไร้กับการพัฒนาปี 2017” โดยได้ชื่นชมกลยุทธ์ของจีนว่า
กลยุทธ์ลดความยากไร้อย่างแม่นยำ เป็นหนทางหนึ่งเดียวในการช่วยเหลือประชากรที่ยากไร้ที่สุดให้บรรลุซึ่งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2030 จีนได้ช่วยประชากรหลายร้อยล้านคนหลุดพ้นความยากไร้ ประสบการณ์ของจีนเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
นายแอนโตนีโอ กูเทอร์เรส
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ แม้การปกครองในรูปแบบของจีนที่มีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง จะแตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่เริ่มใช้รูปแบบประชาธิปไตยกันเป็นส่วนมากแล้ว ถึงกระนั้นจีนก็ทำให้เห็นว่าการปกครองแบบนี้ก็สามารถประสบความสำเร็จในการพัฒนาและปรับปรุงประเทศจนก้าวหน้ามาได้ในระยะเวลาไม่นาน
