สรุปสาระสำคัญข้อกำหนด ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับแรก ห้ามมั่วสุมเกิน 5 คน ประกาศครั้งนี้ไม่ใช่การประกาศเคอร์ฟิว
ภายหลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับแรก) ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ทำให้ นายกฯ มีอำนาจในการออกประกาศและข้อกำหนดเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
อ่านข่าว หนีไม่รอด! เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม รวบตัวแกนนำ อานนท์-ไมค์
อ่านข่าว ด่วน! ตำรวจบุกรวบ รุ้ง ปนัสยา คาโรงแรม หลังถูกออกหมายจับ ศาลจังหวัดธัญบุรี
ไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) สรุปสาระสำคัญข้อกำหนดและประกาศในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง มีรายละเอียด ดังนี้
1 ข้อห้าม (เฉพาะพื้นที่กรุงเทพ)
- ห้ามชุมนุมและมั่วสุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
- ห้ามเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว หรือบิดเบือน ให้เกิดความเข้าใจผิดจนกระทบความมั่นคงของรัฐ
- ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ หรือให้ใช้เส้นทางที่กำหนด
- ห้ามใช้ เข้าไป อยู่ใน หรือให้ออกจากอาคารหรือสถานที่ใดๆ ที่รัฐกำหนด
2 อำนาจที่ใช้จัดการ
- อำนาจจับกุมและควบคุมตัวไม่เกิน 7 วัน (สูงสุด 30 วัน)
- บุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้น หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
- อำนาจเรียกบุคคลมารายงานตัวเพื่อให้ถ้อยคำ เอกสาร หรือหลักฐาน
- อำนาจยึดหรืออายัดอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร อาวุธ สินค้า หรือวัตถุอื่นใด
- อำนาจตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง
- อำนาจสั่งห้ามมิให้บุคคลกระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใดๆ

3 ผู้มีอำนาจสั่งการและผู้ปฏิบัติงาน
- พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นผู้กำกับการปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง
- ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
4 ประกาศครั้งนี้ไม่ใช่การประกาศเคอร์ฟิว ประชาชนทั่วไปยังสามารถเดินทางไปทำงานได้ตามปกติ
