หมอธีระวัฒน์ เผย ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ชี้ วัคซีนเชื้อตายได้

หมอธีระวัฒน์ เผย ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ในเด็กเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แนะฉีดวัคซีนเชื้อตาย ซิโนแวค หรือ ซิโนฟาร์ม 2 เข็มช่วยได้

เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์แสดงความคิดผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึงประเด็นการให้วัคซีนไฟเซอร์ในเด็ก โดยระบุว่า

“หมอธีระวัฒน์” เสนอทางออกฉีดวัคซีนในเด็ก ลดเสี่ยงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่อาจพบจากไฟเซอร์ ชี้ใช้วัคซีนเชื้อตาย “ซิโนแวค หรือ ซิโนฟาร์ม” 2 เข็ม และบูสเตอร์โดสด้วย “แอสตร้าฯ หรือ ไฟเซอร์” แต่ฉีดเข้าใต้ผิวหนังแทนกล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ชี้ทำมาแล้วในบุคลากรการแพทย์หลายร้อยแล้ว ศึกษาร่วมสถาบันโรคทรวงอก ปลอดภัยดี ส่วนต้องซื้อซิโนแวคเพิ่มหรือไม่ อยู่ที่จำนวนเด็กที่ต้องฉีดด้วยวิธีนี้

ตามที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยแนะนำวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งขณะนี้คือ ไฟเซอร์ ส่วนกลุ่มอายุน้อยกว่า 12 ปี ยังอยู่ระหว่างติดตามผล ขณะเดียวกันยังมีกลุ่มที่กังวลว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กจะมีความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วยหรือไม่นั้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ Hfocus ถึงเรื่องนี้ ว่า ขณะนี้เป็นที่ทราบว่า กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่เมื่อรับเชื้อแล้วจะมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้ใหญ่ได้ง่าย เพียงแต่อาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ความรุนแรงน้อยกว่า ยกเว้นกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องให้วัคซีนป้องกันโควิดในเด็กทุกคน แต่ต้องเลือกที่ปลอดภัยที่สุด

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนกรณีวัคซีนไฟเซอร์ที่ให้ได้ในอายุ 12 ปีขึ้นไปนั้น ยังมีข้อควรระวังเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งมักเกิดในเด็ก แต่ถามว่ากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบพบอุบัติการณ์จากการฉีดวัคซีนมากหรือไม่ ในสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 1 พันกว่าราย ซึ่งสหรัฐระบุว่า จากที่ฉีดวัคซีนแล้วทั้งหมดราว 100 ล้านโดส ซึ่งจริงๆจำนวนนี้คือ คนทั้งหมด แต่หากพูดถึงเฉพาะกลุ่มเด็ก ก็ถือว่าแม้ความเสี่ยงไม่มาก แต่ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

ควรต้องฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปด้วยไฟเซอร์หรือไม่ หรือมีแนวทางอื่นที่น่าจะปลอดภัยกว่า

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ขณะนี้จุฬาภรณ์มีการนำร่องเตรียมฉีดวัคซีนให้เด็กอายุ 10-18 ปี ซึ่งใช้วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่เป็นชนิดเชื้อตาย ขณะที่สถานเสาวภาก็เช่นกัน

โดยข้อมูลจากประเทศจีน มีการฉีดวัคซีนในเด็กแล้ว อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตายให้แก่เด็ก ไม่ใช่เรื่องแย่ เพราะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ ในขณะที่ผลข้างเคียงเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่ต้องกังวล โดยมีวิธีกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ดังนี้ ให้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย 2 เข็ม แต่ด้วยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่มาก จึงจำเป็นต้องกระตุ้นด้วยเข็มที่ 3 หรือบูสเตอร์โดส ด้วยวัคซีนต่างชนิด คือ ไวรัลเวกเตอร์ หรือวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือเป็นชนิด mRNA คือ ไฟเซอร์ได้ แต่การกระตุ้นเข็ม 3 ต้องฉีดใต้ผิวหนังแทนกล้ามเนื้อ

“การฉีดด้วยวิธีนี้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ตก ให้สูงขึ้นได้ และยังป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาทางจุฬาฯ ได้ร่วมกับสถาบันโรคทรวงอก ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ยินดีและสมัครใจในการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าฯ ฉีดผ่านใต้ผิวหนัง ซึ่งฉีดไปหลายร้อยคน ไม่พบผลข้างเคียง ปลอดภัยทุกราย” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มแรกผ่านใต้ผิวหนังแทน โดยไม่ต้องฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ก็เป็นไปได้ เพียงแต่ยังไม่มีข้อมูลศึกษาในเด็กมารองรับ ที่ยกตัวอย่างข้างต้นเนื่องจากมีการศึกษาในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว

แตกต่างจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ที่ออกมาว่า ให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้หรือไม่

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า เป็นการให้ข้อมูลอีกด้าน เพราะการฉีดให้เด็กเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ซึ่งหากเด็กเป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ยังไม่รู้ว่าจะมีผลระยะยาวหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาเรื่องความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีผู้ปกครองกังวลและโทรสอบถามมายังตนมากกว่า 50 คนแล้วเมื่อถามว่า สรุปแล้วไทยยังจำเป็นต้องซื้อวัคซีนซิโนแวค เพิ่มเพื่อกรณีนี้ให้กับเด็กหรือไม่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ต้องมาดูว่าปริมาณที่นำเข้ามาแล้ว มีการฉีดวัคซีนให้กับเด็กจำนวนเท่าไหร่ และหากจะฉีดในกรณีที่ตนเสนอนั้น ก็ถือว่าเป็นพื้นฐานของวัคซีนที่ดี และเป็นการต่อยอดวัคซีนซิโนแวค ให้มีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยอาจต้องพิจารณาจำนวนจากเด็กที่ต้องการก่อน และเมื่อฉีดครบ ฉีดจบแล้วก็จบเลย และสามารถไปต่อยี่ห้ออื่นได้

ข่าวที่น่าสนใจ

สาวเจ้าของคลิป ดูดนมเชียงใหม่ ได้ประกันตัวล่าสุดออกมาโพสต์หลังออกเรือนจำแล้ว

เปิดข้อเท็จจริง! ปม ‘น้องจีน่า’ หายตัว พบพิรุธเพียบ คาดไม่เกี่ยวกับการสังเวยผี

ไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไป! โชว์ผลฉีดวัคซีนโควิดผ่าน “หมอพร้อม” ก่อนขึ้นเครื่อง แค่นี้ก็พร้อมเที่ยวแล้ว

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

กัมพูชา เคลมอีก! ลาบูบู้ LABUBU แท้จริงมาจากตำนานของพี่เขา

ชาวเน็ตกัมพูชา ไม่ตกกระแส! แห่ตามเคลม “ลาบูบู้ LABUBU” มาจากรูปแกะสลักปีศาจ “หน้ากาล” วัฒนธรรมของกัมพูชา ไม่เชื่อ! เจอได้ตามทางเข้าวัด

สคบ.เตือนภัย ‘พัดลมคล้องคอ’ อันตราย ใช้ไปนาน ๆ เสี่ยงโรคมะเร็ง

หยุดใช้ดีที่สุด! สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตือน ‘พัดลมคล้องคอ’ มีตะกั่วเข้มข้นเป็นอันตรายต่อผิวหนังเสี่ยงเป็นมะเร็งสูง

ครั้งนี้ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินครึ่งล้าน

ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินในบ้านจำนวนครึ่งล้าน ลั่น ถ้ายังไม่คืนรู้เรื่องแน่

ป่วยนับสิบ! คนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หลังร่วมปาร์ตี้โฟมสงกรานต์

ปาร์ตี้โฟมสงกรานต์ เป็นเหตุ! ทำคนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หามตัวส่ง รพ. กว่า 50 ชีวิต พบมีอาการ มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย

เซอร์ไพร์ส! Thailand Music Countdown บุกวงการ T-POP พบกันเร็วๆ นี้

เซอร์ไพร์สกันสุด ๆ เมื่อตอนนี้ทาง True CJ Creations ได้กำลังเตรียมรายการ Thailand Music Countdown มาให้ศิลปิน T-POP โชว์ของกันตอนนี้แล้ว!

หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่

เหตุระทึก! หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ใช้เวลาเกลี้ยกล่อมกว่า 2 ชั่วโมง อาศัยจังหวะเจ้าหน้าที่เผลอ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า