หมอนูญ เตือนภัย! บุหรี่ อันตรายมากกว่า PM2.5-มลพิษทางอากาศ 10 เท่า อย่าตื่นกลัวมลพิษทางอากาศมากเกินไป
วันนี้ 8 กุมภาพันธ์ 2566 นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หรือ “หมอมนูญ” ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า คนไทยต้องตระหนักรู้ อย่าตื่นกลัวฝุ่น PM2.5 มากเกินไป

หมอมนูญชี้ ฝุ่น PM2.5 ขึ้นอยู่กับ “สภาพภูมิอากาศ” และการปล่อยออกมาจาก “แหล่งกำเนิด”“สภาพภูมิอากาศ” เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ คนทำได้เพียงลด แหล่งกำเนิด ซึ่งการเกิดมลพิษมีดังนี้
แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ
- ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น ลดการจุดธูป ลดการใช้เตาถ่าน เตาที่ใช้ฟืน
- ดูแลสภาพรถ ไม่ปล่อยควันดำ
- หยุดเผาเศษซากพืช วัชพืชฝุ่น PM2.5
- ฝุ่นจากทะเลทราย ไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด
ประเทศไทยเพิ่งจะมีเครื่องมือตรวจวัด PM2.5 ได้เมื่อ 12 ปีก่อน ค่า PM2.5 ของแต่ละปีแตกต่างกันไม่มาก เมื่อ 2 ปีก่อนต้นเดือนกุมภาพันธ์ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิดระลอกที่ 2 มีการจำกัดการเดินทาง และให้ทำงานที่บ้าน จำนวนรถยนต์วิ่งบนท้องถนนขณะนั้นลดลงกว่าร้อยละ 70 แต่ปริมาณฝุ่น PM2.5 ก็ไม่ได้ลดลงองค์การอนามัยโลกเคยกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ไม่ให้เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรใน 24 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 10 มคก./ลบ.ม.
ปัจจุบันปรับค่ามาตรฐานลดลงอีกใน 24 ชั่วโมงไม่ให้เกิน 15 และเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 5 มคก./ลบ.ม. ค่ามาตรฐานของประเทศที่เจริญแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา ยังสูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ใน 24 ชั่วโมงไม่เกิน 50 และเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 25 มคก./ลบ.ม. ฝุ่น PM2.5 ถึงจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คนไทยยังไงก็ต้องหายใจเอาฝุ่น PM2.5 ไม่มากก็น้อย 15-50 มคก./ลบม. ทุกวัน
ถ้าดูย้อนหลังไป 70 ปี ถึงแม้คนไทยจะหายใจฝุ่น PM2.5 มาตลอด อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอายุเฉลี่ยแต่ก่อน 50 ปี ปัจจุบันผู้ชายเพิ่มเป็น 73 ปี ผู้หญิงเพิ่มเป็น 80 ปี เชื่อว่า อีก 20 ปีข้างหน้าคาดว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยจะเพิ่มขึ้นอีก ผู้ชาย 76 ปี ผู้หญิง 83 ปี
บุหรี่อันตรายมากกว่ามลพิษทางอากาศหลายสิบเท่า
มีข้อมูลคนสูบบุหรี่อายุเฉลี่ยสั้นกว่าคนไม่สูบถึง 10 ปี ควันบุหรี่เหมือนกับการหายใจฝุ่น PM2.5 ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทันที ต้องใช้เวลากว่า 20 ปี จะเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองมลพิษทางอากาศไม่ใช่มีแค่ฝุ่น PM2.5 มีก๊าซที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ก๊าซเรือนกระจก โลหะหนัก สารกัมมันตรังสีและสารก่อมะเร็งอีกมากมาย
นอกจากนี้ หมอมนูญ ได้แนะนำให้กลุ่มเสี่ยง คือ เด็กเล็ก ผู้หญิงตั้งครรภ์ คนสูงอายุ คนที่มีโรคเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ทางจมูก หอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดในสมองตีบ งดทำกิจกรรมและออกกำลังกายนอกบ้าน เวลาออกนอกบ้านใส่หน้ากากอนามัยช่วยได้บ้าง การใส่หน้ากาก N95 ป้องกันได้ดีกว่าหน้ากากอนามัย แต่ใส่นานแล้วอึดอัดประชาชนทั่วไปอย่า “ตื่นตระหนก” หรือ “วิตกกังวล” กลัวฝุ่น PM2.5 มากเกินไปโดยเฉพาะถ้าตัวเองแข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ ขอให้ใช้ชีวิตใกล้ปกติให้มากที่สุด อากาศกำลังเย็นสบาย ไม่ร้อนเกินไป คนทั่วไปออกกำลังกาย เล่นกีฬา รับแสงแดดในทึ่กลางแจ้งได้ อย่าเครียด ทนอดอู้ อยู่แต่ในบ้าน ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาในบ้าน
แหล่งที่มา หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY