อย่ามองข้ามเรื่องเล็กๆของร่างกาย รู้หรือไม่? “ผายลม“หรือ “ตด” มีหลายแบบ มาจากสาเหตุที่ต่างกัน อีกทั้งบ่งบอกถึงสุขภาพภายในอีกด้วย
หลายคนอาจจะติดว่าการผายลม หรือ การตดนั้น เรื่องที่เล็กๆที่หลายคนมองข้ามไป แต่ที่จริงแล้วผายลม หรือ ตดนั้น สามารถบอกถึงสุขภาพและการทำงานของภายในร่างกายได้ เช่นเดียวกับการเรอ เหตุผลหนักที่ทำให้เราตดหรือเรอนั้นมาจากปริมาณก๊าซในร่างกายมาก ทำให้ถูกดันออกมา ทั้งนี้มีอีกหลายปัจจัย และรู้หรือไม่ มันสามารถบอกได้ร่างกายเราผิดปกติตรงไหน วันนี้ Bright Today จะพาทุกคนเช็กคุณภาพของแต่ละคนจากลักษณะการผายลม และสาเหตุปัจจัยที่ทำให้ผายลม

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ผายลม
มนุษย์ทุกคนล้วนต้องตดเพื่อระบายแก๊สจากการย่อยอาหาร แต่ถ้าใครที่ตดมากๆ อาจเกิดจากแก๊สสะสมในกระบวนการย่อยอาหารที่มากเกินไป โดยการกินอาหารที่มีแก๊สมาก เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม พืชตระกูลถั่ว หรืออาหารพวกแป้งที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง รวมถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดการสะสมแก๊สจนเราเผลอตดออกมาบ่อยๆ
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- อมลูกอมหรืออมอาหารบางชนิด
- รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำอย่างรวดเร็วจนเกินไป
- ดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม
- ดื่มน้ำจากหลอด
- กลืนน้ำลายบ่อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกวิตกกังวล
- สวมใส่ฟันปลอมที่หลวมเกินไป
- สูบบุหรี่


การ “ผายลม” บอกอะไรเราบ้าง??
- ผายลมมีเสียงดัง
- แสดงว่าก๊าซในร่างกายถูกผลักออกมาด้วยแรงดันสูง
- กล้ามเนื้อหูรูดบีบตัวมาก
- ส่วนมากพวกที่ผายลมเสียงดัง จะไม่ค่อยมีกลิ่น
- ผายลมมีเสียงดัง ไม่แสดงถึงความผิดปกติของร่างกาย
- ผายลมมีเสียงไร้เสียง
- เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดไม่กระชับทำให้บีบตัวได้น้อย
- แรงดันในลำไส้จึงมีไม่มาก
- ส่วนมากพวกที่ผายลมไร้เสียง จะมีกลิ่นแรง
- ผายลมมีกลิ่นแรง – แสดงว่าเกิดจากการทานอาหารที่มีโปรตีนและผักที่มีกลิ่นแรงมาก เกิดการสะสมก๊าซจากอาหารจำนวนมาก พวกที่ผายลมอีกกลิ่นอาจจะเป็นพวกที่ถ่ายยาก ไม่ค่อยถ่าย หรือ อาจเกิดจากลำไส้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ผายลมไร้กลิ่น – เกิดจากการได้รับโปรตีนน้อย
- ในหนึ่งวันเราควรจพผายลมวันละ10-20 ครั้งต่อวัน ถือว่าปกติ หากน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน เสี่ยงโรคลำไส้อุดตัน และ มากกว่า 20 ครั้งต่อวัน เสี่ยงโรคทางเดินอาหาร


- การผายลมบ่อยเกินไป อาจจะบ่งบอกถึงโรคร้ายอื่นๆที่ตามมา
- โรคมะเร็งลำไส้ (Colon Cancer)
- โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)
- การทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (Functional GI Disorders)
- การแพ้อาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส (Lactose) เช่น นมวัว โยเกิร์ต
- ภาวะที่เกี่ยวของกับกระเพาะอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
- แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- ข้อดีของกายผายลม
- เป็นการระบายก๊าซออกจากร่างกาย ทำให้หลายอึดอัด หรือ แก้อาการท้องอีดได้
- การสูดดมกลิ่นผายลมเป็นเรื่องที่ดี เพราะเวลาที่คุณผายลมออกมา จะมีสารไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกมาด้วย ซึ่งได้มีการวิจัยพบว่าการสูดดมก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในปริมาณน้อยๆ จะสามารถลดความเสียหายของเซลล์ในระยะยาวได้ แถมยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคไขข้อ และโรคหัวใจด้วย
- การผายลมทำให้รู้ว่าคุณขาดสารอาหาร
ขอบคุณข้อมูล : thaihealth.or.th / jonessalad.com / pobpad.com
สามารถติดตามข่าวสารต่าง และ อัปเดทสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV