ทำความรู้จัก โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder (BED) ชื่อโรคอาจจะดูไม่น่ากลัว ส่งผลหระทบต่อการใช้ชีวิตและนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้า
เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินชื่อโรคกินไม่หยุด คงคิดว่าโรคนี้ไม่มีอยู่จริง หรือเป็นแค่คำที่เอาไว้พูดเล่นๆ หรือหยอกล้อเวลาที่ใครทานเยอะ แต่ที่จริงแล้วโรคนี้มีอยู่จริง ชื่อเต็มของโรคนี้คือ โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder (BED) อาการที่เห็นชัดๆคือ ไม่สามารถควบคุมการกินของตัวเองได้ ถึงไม่หิวก็กินได้ แต่ถึงแม้ว่าอิ่มก็ทานต่อได้ และส่งผลสู่ภาวะซึมเศร้า
วันนี้ Bright Today จะพามาทำความรู้จักกับ โรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder (BED) หากมีคนรอบข้างใครที่กำลังเผชิญหน้ากับโรคนี้อยู่ เราจะได้เข้าใจเขาอย่างได้มากขึ้น หรือเช็กตัวเองว่าใครกำลังมรอาการแบบนี้อยู่

- อาการของโรคกินไม่หยุด หรือ Binge Eating Disorder (BED)
- ไม่สามารถควบคุมปริมาณการกินของตัวเองได้ ถึงแม้ว่าจะอิ่มก็สามารถทานได้ จะหยุดก็ต่อเมื่ออิ่มจนไม่สบายตัว
- ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจมีอาการตั้งแต่ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจพบพฤติกรรมดังกล่าวประมาณ 14 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์
- แต่หากมีอาการ 1 ครั้งต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือนติดกัน ควรปรึกษาแพทย์
- มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ มักจะเลือกทานอาหารคนเดียว อายที่จะทานอาหารกับคนอื่น และหลังจากที่ตนเองทานเข้าไปมาก ก็จะรู่สึกผิดต่อตัวเอง โกรธ ละอายใจ รังเกียจ หรือโทษตนเองที่รับประทานมากเกินไป
- ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคกินไม่หยุด Binge Eating Disorder (BED)
- โรคอ้วน – พบให้เพศหญิงมากกว่าเพศชาย / ใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกฮอล์เป็นประจำ / เคยมีประวัติเสพติดการลดน้ำหนัก หรือ ไม่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก
- เคยผ่านเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ
- มีคนในรอครัวมีประวัติเรื่องนี้
- ภาวะซึมเศร้า โรคเครียด โรคไบโพลาร์ โรคกลัว และภาวะป่วยทางจิตหลังเหตุการณ์รุนแรง


- การรักษาหลังจากพบอาการ แบ่งออกเป็น 2 วิธี
- การทานยา – โรคนี้ถือว่าเป็นเรคทางจิตอย่างหนึ่ง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาต้านเศร้าหรือยากันชักที่มักใช้รักษาโรคทางจิตชนิดอื่น ๆ เพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองและป้องกันอาการของโรค การมช้นาจะได้ผลที่เร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงหลังจากใช่ยา
- การบำบัดจิต – เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ด้านลบที่ส่งผลให้เกิดอาการของโรคได้
- ภาวะแทรกซ้อน จาก Binge Eating Disorder
- ปัญหาทางด้านสุขภาพ – เมื่อทานอาหารจำนวนมาก เกินความจำเป็นต่อรายงาน ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคกรดไหลย้อน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
- ปัญหาทางด้านจิตใจ – แน่นอนมาอาการของโรคจะส่งผลกระทบต่อจิตใจทำให้เกิดภาวะอื่นๆแทรกซ่อนได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคไบโพลาร์ ไม่ชอบการเข้าสังคม
ข้อมูล : www.pobpad.com
สามารถติดตามข่าวสารต่าง และ อัปเดทสถานการณ์โควิด-19 ได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV