เช็กตัวเอง ใครมีอาการ บ้านหมุน คลื่นไส้ หูอื้อ นี้คืออาการเริ่มต้นของ “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” ไม่ใช่แค่ปวดหัวธรรมดาอีกต่อไป ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม
ใครหลายคนอาจะจะเคยมีอาการบ้านหมุน เวียนหัว ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก น่าจะเป็นอาการจากการพักผ่อนน้อย นอนไม่พอ หรือ จ้องหน้าจอคอมมาเกินไป ซึ่งความจริงและ อาการพวกนี้เป็นจุดเริ่มต้นของโรคนำ้ในหูไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่หลายคนมีมองค้างไป คิดว่าเป็นโรคของคนมีอายุเท่านั้น ซึ่งโรคนี้มักจะเกิดในช่วงวัยทำงาน 30-60 ปี
ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนนี้น้อยที่เป็นโรคนี้ เมื่อมีอาการบ้านหนุน บวกกับเวียนศีรษะรุนแรง มักจะวินิจฉัยตัวเองว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน แต่ความจริงแล้วนั้น บ้านหมุนนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เหมือนอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ที่มีสาเหตุทำให้เกิดอาการได้มากมาย

โรคนี้มีโอกาสเป็นได้ทุกเพศ และทุกวัย เพราะเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบมากในวัยทำงานที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปแต่มีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโรคได้ โดยพบว่าอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูง หรืออาหารที่มีรสเค็ม สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่นเดียวกับ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความเครียด และสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังอึกทึกมากๆ
อาการของโรคนำ้ในหูไม่เท่ากัน
- เวียนหัวบ้านหมุนเป็น ๆ หาย ๆ รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุน
- ลุกขึ้นก็ทรงตัวไม่อยู่ ต้องนอนนิ่งหลับตา พอเปลี่ยนท่าก็ทำให้อาการมากขึ้น
- อาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
- อาการเวียนศีรษะแต่ละครั้งที่เป็นนานมากกว่า 20 นาทีถึงหลาย ๆ ชั่วโมง
- หูอื้อ ประสาทหูเสื่อมเป็น ๆ หาย ๆ ระยะแรกมักมีอาการชั่วคราว
- เสียงดังในหู อาจเป็นเสียงหึ่ง วี้ เสียงลม เสียงจักจั่น เสียงดังในหูสามารถรบกวนจนทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ หงุดหงิดได้เลยทีเดียว
- อาการหนักๆ หน่วงๆในหู คล้ายมีแรงดัน
วิธีการรักษา
- ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบ โดยจะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดสภาวะอาการบวม และคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือด ยาลดอาการเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย และนอนหลับได้เป็นปกติ
- ส่วนการฉีดยาเจนต้ามัยซินเข้าหูชั้นกลางทำให้ซึมเข้าหูชั้นในเพื่อควบคุมอาการเวียนศีรษะ ใช้ในกรณีที่กินยาไม่ได้ผล ยังมีอาการเวียนศีรษะอยู่ และการผ่าตัดใช้ในกรณีคนไข้มีอาการมาก และรักษาวิธีการใช้ยาข้างต้นไม่ได้ผลแล้ว
การป้องกัน เมื่อทราบภาวะที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคแล้ว
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ชา กาแฟ
- การสูบบุหรี่
- ลดการบริโภคอาหารที่มีรสชาติเค็ม
- ลดภาวะเครียด ควบคุมอารมณ์ให้เบิกบานแจ่มใส และลดงานบางอย่างที่มากจนเกินไป
อ้างอิง : somdej.or.th / www.vichaiyut.com /
ข่าวที่น่าสนใจ