เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โรคภัยเริ่มถามหา โดยเฉพาะโรค ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหลายคนจะเข้าใจว่า เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่ความเป็นจริงแล้ว กลุ่มวัยรุ่น ก็เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังเรื่องข้อเข่าเสื่อมด้วยเช่นกัน

หลังผ่าตัดใส่ “ข้อเข่าเทียม” ควรดูแลอย่างไร? : ช่วง นัด กับ Nurse

มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี โรงพยาบาลในเครือ “พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์” โดยเปิดเผยจาก นพ.ปิยวัฒน์ จิรัปปภา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกและข้อ ประจำโรงพยาบาล พริ้นซ์ อุบลราชธานี เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งจากสถิติแล้วพบว่า เป็น 1 ใน 5 ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทยเลยทีเดียว

โรคเกาต์ รักษาได้ ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งยา แค่ปรับพฤติกรรมการกิน

รู้จักโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น เกิดจากการที่กระดูกอ่อน ผิวข้อมีการสึกหรอ หลุดร่อน ทำให้กระดูกมีการเสียดสีกัน และร่างกายพยายามที่จะซ่อมแซมตัวเอง โดยการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ แต่จะเป็นการสร้างในตำแหน่งที่ไม่ควรจะสร้าง ทำให้เกิดอาการอักเสบของข้อ ปวดเรื้อรัง บวม กดเจ็บ เคลื่อนไหวลำบาก และข้อผิดรูป

สาเหตุของข้อเข่าเสื่อม

● อายุที่มากขึ้น

● น้ำหนักตัวที่มากเกินไป

● พฤติกรรมการใช้ข้อผิดวิธี เช่น การนั่งยอง นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิเป็นเวลานาน

● เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเข่า เช่น กระดูกหัก เข่าแตก เอ็นฉีก เป็นต้น

● โรคที่เคยเป็น เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์

● การไม่ออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าไม่แข็งแรง

● การใช้ยา โดยมีการใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

อาการแบบไหนเข้าข่ายเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อม

มาสังเกตุอาการเบื้องต้นกันหน่อย ว่าปวดแบบไหน ถึงจะเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่แล้ว มักจะมีอาการดังนี้

● ปวดหรือเจ็บข้อเข่าเวลาเดิน นั่ง หรือขึ้นลงบันได

● ปวดเรื้อรังหลายปี

● เข่าโตขึ้น ข้อเข่าบวม

● ขาโก่ง

ใครเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมบ้าง

สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม มีหลายกลุ่ม ได้แก่

● น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

● ผู้ที่ปวดเข่าเรื้อรังหลายปี

● อายุมากกว่า 40 ปี

● เคยป่วยด้วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคพุ่มพวง (SLE) โรคเก๊าท์

● เคยเกิดอุบัติเหตุทำให้มีกระดูกหักบริเวณข้อเข่า

แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษา จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1.การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น โดยมีหลากหลายวิธี ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ได้แก่ รับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัว
  • ออกกำลังกายชนิดส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อยเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดิน เพื่อส่งเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น
  • ลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพื่อลดแรงกดบนข้อเข่า
  • รักษาด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยากลุ่มสารอาหารเสริมสร้างกระดูก
  • ฉีดสารน้ำเลี้ยงไขข้อ ในกรณีที่มีอาการปวดไม่มาก และการทำลายของกระดูกอ่อนยังไม่รุนแรง
  • ฉีดยาสเตียรอยด์ ในกรณีที่มีอาการปวดเฉียบพลันที่รุนแรงและเป็นครั้งคราว
  • ทำกายภาพบำบัด เช่น บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า

2 . การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด

  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำเป็นในกรณี รักษาด้วยยาและปรับวิธีดำเนินชีวิตแล้วไม่ได้ผล

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ใครจ้างมาหนอ? ‘เสือดุสิต’ ถูกมือมืด บุกถล่มบ้าน ปาขวดโซดาใส่ กลางดึก

บุกเหยียบถิ่น ‘เสือดุสิต’ ถูกถล่มบ้าน ปาขวดโซดาใส่กลางดึก หลักฐานชัด! คาดคนร้ายถูกใครจ้างมาอีกที เพราะมีถ่ายส่งงาน

ล่าตัว ‘แก๊งพระล่าสัตว์’ อึ้ง! รองเจ้าคณะจังหวัดก็ร่วมด้วย ยังลอยนวลอีก 7

รองเจ้าคณะจังหวัด ก็เอากับเขาด้วย! แก๊งพระสงฆ์-ฆราวาส ล่าสัตว์ป่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จับได้ 2 ราย หนีไปได้อีก 7

ฤกษ์งามยามดี! ธัญญ่า-อาโล่ ควงคู่จดทะเบียนสมรสแล้ว

ธัญญ่า อาร์ยาม-อาโล่ เวียงแก้ว ควงคู่จดทะเบียนสมรสแล้ว! งานนี้ด้านแฟนๆ แห่แสดงความยินดีกันอย่างมากมาย

กุ๊บกิ๊บ-บี้ ประกาศตามหาหลานชาย หลังติดต่อไม่ได้นาน 2 วัน วอนช่วยเป็นหูเป็นตา

กุ๊บกิ๊บ-บี้ โพสต์ประกาศตามหาหลานชาย น้องติวเตอร์ หลังติดต่อไม่ได้นานถึง 2 วัน พร้อมแจ้งเบาะแสเพิ่มเติม วอนโซเชียลช่วยเป็นหูเป็นตา

ปารีณา ซึ้งใจ! ปรี่คุกเข่าก้มกราบ ‘บิ๊กป้อม’ มาร่วมงานศพพ่อ

ปารีณา คุกเข่าก้มกราบ ‘บิ๊กป้อม’ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ้งใจ ให้เกียรติมาร่วม งานศพพ่อทวี ด้าน ‘ชวน – หญิงหน่อย’ เดินทางร่วมไว้อาลัยด้วย

เอส กันตพงศ์ อัปเดตชีวิตครั้งแรก! เผย ความทรงจำในอดีต กลับมาไม่เต็มร้อย

เอส กันตพงศ์ อัปเดตชีวิตครั้งแรก ผ่านรายการ เที่ยงบันเทิงสด ครั้งแรก หลังผ่านมรสุมจากอาการป่วยโคม่า เผย ความทรงจำในอดีตกลับมาแค่ 20 %
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า