6 เคล็ดไม่ลับ! การดูแล วิธีการป้องกัน โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

6 เคล็ดไม่ลับ! การดูแล วิธีการป้องกัน โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่มองไม่เห็นพบบ่อยในผู้สูงอายุ ไม่มีอาการใดๆ จนกระทั่งล้มแล้วมีกระดูกหัก

โรคกระดูกพรุน คือโรคที่ทำให้ความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง จนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกหัก เพราะโดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะสะสมมวลกระดูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30-35 ปี จากนั้นมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี มวลกระดูกจะลดต่ำลงจนถึงจุดเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก

macro-view-bone-spongy-structure

ปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุน

  • เพศ ผู้หญิงเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าและเร็วกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง การสลายกระดูกจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ จึงเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ถึง 40 – 50%
  • อายุ มวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ
    • ผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 10 คน ใน 100 คน
    • ผู้หญิงอายุเกิน 70 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 20 คน ใน 100 คน
    • ผู้หญิงอายุเกิน 80 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 40 คน ใน 100 คน
  • กรรมพันธุ์ ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่มีโรคกระดูกพรุนแล้วมีกระดูกหัก ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วกระดูกหักด้วย
  • เชื้อชาติ ชาวต่างชาติที่มีผิวขาวและคนเอเชียมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูง
  • ยา การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานานทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ผู้ป่วยโรค SLE (โรคพุ่มพวง)ยาทดแทนธัยรอยด์ ยาป้องกันการชัก เป็นต้น
  • เคยกระดูกหัก โอกาสที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.5 เท่า
  • แอลกอฮอล์ การดื่มเหล้า เบียร์ หรือแม้แต่ไวน์ในปริมาณมากกว่า 3 แก้ว/วัน ทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น
  • บุหรี่ สารพิษนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกบางลง หากสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน ความเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักสูงขึ้น 1.5 เท่าของคนไม่สูบบุหรี่
  • ผอมเกินไป คนที่ผอมเกินไปจะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า และมีความเสี่ยงกระดูกหักเพิ่มขึ้น 2 เท่าของคนรูปร่างปกติ
  • ขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ นอกจากทำให้ร่างกายเสียสมดุลแล้วยังอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน
  • ขาดการออกกำลังกาย คนไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า พบว่า ผู้หญิงที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมง/วัน เสี่ยงกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึง 50%
  • การรับประทานอาหาร ถ้าได้รับเกลือมากกว่า 1 ช้อนชา/วัน ชา กาแฟมากกว่า 3 แก้ว/วัน น้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋อง/สัปดาห์ และทานโปรตีนมากกว่า 10 – 15% ในแต่ละมื้อของอาหาร มีความเสี่ยงกระดูกพรุนสูง เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่วนอาหารเค็มจัดและคาเฟอีนยังทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้นอีกด้วย

6 วิธีการป้องกับโรคกระดูกพรุน

  1. ดื่มนม และกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยสามารถทำได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอายุ 30ปี เพื่อสะสมแคลเซียมในกระดูก ทั้งผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี่ ปลาตัวเล็ก ๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น
  2. กรณีที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ สามารถกินแคลเซียม และวิตามินดีเสริม เพื่อให้กระดูกคงสภาพที่ดี และลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก
  3. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดการสลายของแคลเซียมจากกระดูก
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า และสูบบุหรี่
  5. ไม่นั่ง ๆ นอน ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่ขยับเขยื้อนร่างกาย
  6. ระมัดระวังตัวเอง และไม่วางของเกะกะในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการสะดุด หกล้ม

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ก็สามารถตรวจได้ด้วยเครื่องตรวจมวลกระดูก โดยเครื่องจะใช้รังสีปริมาณเล็กน้อย เพื่อสแกนจุดสำคัญในร่างกาย 2 จุด คือ บริเวณกระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก เนื่องจากบริเวณนี้ หากพบภาวะกระดูกพรุน และหักจะเกิดอันตรายส่งผลกับคุณภาพชีวิตมาก

แหล่งที่มา princsuvarnabhumi และ bangkokinternationalhospital

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

อากาศร้อนเป็นเหตุ! ทำผัวป่วยจิตคลั่ง ฆ่าลูกเมีย ก่อนผูกคอตายตาม

หดหู่! ผัวป่วยจิตเจออากาศร้อนจัดจนคลั่ง ใช้ชะแลงฟาดเมีย-ลูก ดับคาบ้าน ก่อนโทรบอกญาติ แล้วผูกคอฆ่าตัวเองตายตาม

ระทึก! พ่อวูบขณะขับรถ ทำเสียหลักชนข้างทาง เหล็กเสียบทะลุรถ เจ็บยกครัว

ระทึก! พ่อวูบ หลังขับรถตู้พาครอบครัวไปเที่ยวทะเล ก่อนเสียหลักพุ่งชนเหล็กกั้นริมทางเสียบทะลุรถ บาดเจ็บยกครัว ลูกชายอาการสาหัส

แห่ส่องเลขเด็ด ผญบ.ฟินแลนด์ แฟนคลับปาโชคก้อนโต ให้ถึงหน้าเวที!

พาส่องเลขเด็ดของ ผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ หลังมีแฟนคลับใจดี ถือลอตเตอรี่มาให้เจ้าตัวถึงหน้าเวที งานนี้เลขสวย ไม่ซื้อถือว่าพลาดสุดๆ

เตรียมขนย้าย “กากแคดเมียม” กลับบ่อฝังกลบ จ.ตาก คืนนี้ (29 เม.ย.)

เจ้าหน้าที่เตรียมขนย้าย “กากแคดเมียม” กลับบ่อฝังกลบ จ.ตาก คืนนี้ ล็อตแรกจำนวน 270 ตัน คาดเสร็จสิ้นภายใน 17 มิ.ย.

ผญบ.ฟินแลนด์ เล่านาทีเจอ แพรวพราว ลั่น ไม่ได้กดดัน เป็นแค่คนรู้จัก ?!

ผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ เล่าวินาทีเจอหน้า แพรวพราว หลังเลิกรา เผยไม่ได้รู้สึกกดดัน ตอนนี้เป็นแค่คนรู้จัก เป็นพ่อแม่ของลูก ยืนยันไม่ได้ทะเลาะกัน

ใจกล้ามาก! หนุ่มจับงูจงอางมือเปล่า หลังว่ายทวนน้ำ หานทท.

เปิดคลิปไวรัล! นักท่องเที่ยวหนีกระเจิง หลังจงอางว่ายทวนน้ำ หวังขึ้นแพเปียก เขื่อนแม่สรวย สุดท้ายได้หนุ่มใจเด็ดเข้าช่วย
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า