สัญญาณเตือน! โรคยอดฮิต ต่อมทอนซิลอักเสบ กลืนอาหารลำบาก มีกลิ่นปาก เกิดจากอะไร? อย่าปล่อยให้กวนใจ สามารักษาให้หายขาดได้
มาที่โรคยอดฮิตอีกหนึ่งโรคที่เกี่ยวกับช่องปาก ช่องคอ เจ็บคอไม่หาย แต่ไม่ได้เป็นโควิด เจ็บเฉพาะตอนกลืนอาหาร กลืนอาหารลำบาก แถมมีกลิ่นปากอีกด้วย อาจจะเข้าค่ายการเป็น ต่อมทอนซิลอักเสบ แล้วอาการนี้เกิดจากอะไร สาเหตุไหน สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง มาดูเลย!!

สาเหตุการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบ
ไวรัสเป็นสาเหตุที่มักก่อให้เกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ในกรณีที่การติดเชื้อเกิดจากแบคทีเรีย สเตร็ปโตคอกคัส (ชนิดเอ) เป็นสายพันธุ์ที่มักก่อให้เกิดอาการคออักเสบ แต่แบคทีเรียหรือสเตร็ปโตคอกคัสสายพันธุ์อื่นก็อาจเป็นสาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบได้เช่นกัน ต่อมทอนซิล เป็นด่านแรกที่ป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคที่เข้าสู่ทางปาก การได้รับเชื้อโรคไวรัสและแบคทีเรียเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ โดยระบบภูมิคุ้มกันของต่อมทอนซิลมักจะลดลงหลังวัยเจริญพันธุ์ ทำให้ผู้ใหญ่ไม่ค่อยพบต่อมทอนซิลอักเสบ
อาการต่อมทอนซิลอักเสบ
ต่อมทอนซิลอักเสบมักพบในเด็กวัยก่อนเข้าเรียนและวัยรุ่น โดยมีอาการดังนี้
- เจ็บคอ อาจปวดร้าวไปบริเวณหูได้
- กลืนลำบาก
- มีไข้
- ปวดศีรษะ
- มีกลิ่นปาก
- เสียงแหบ
- ปวดท้อง
- คอแข็ง
- ต่อมทอนซิลบวม
- มีเมือกสีขาวหรือเหลืองเคลือบต่อมทอนซิล
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต
ในเด็กที่ยังไม่สามารถอธิบายอาการของตนเองได้ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ ดังต่อไปนี้
- น้ำลายไหลมากผิดปกติเพราะมีปัญหาการกลืน
- ไม่รับประทานหรืออยากอาหาร
- มีอาการงอแงผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยง
- อายุ โดยทั่วไปต่อมทอนซิลอักเสบมักพบในวัยเด็กและการติดเชื้อแบคทีเรียมักเกิดในเด็กอายุ 5-15 ปี
- การสัมผัสเชื้อโรค เด็กในวัยเรียนมีแนวโน้มที่จะสัมผัสเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ทำให้ป่วย เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบ เพราะมักใกล้ชิดเพื่อน
ภาวะแทรกซ้อน ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น
- การติดเชื้อบริเวณรอบต่อมทอนซิล
- หนองบริเวณช่องคอส่วนลึกหลังต่อมทอนซิล
- ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
การติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัสโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่พบไม่บ่อยนั้นจะสูงขึ้นหากรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบ หรือไม่รักษาต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัสหรือสายพันธุ์อื่น ๆ
- โรคไตอักเสบเฉียบพลันจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส
- Scarlet Fever
- ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever)
- ข้ออักเสบหลังการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส
วิธีการป้องกัน
- หมั่นล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
- งดการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกันหรือแบ่งทานอาหารร่วมกัน
- เปลี่ยนแปรงสีฟันทุกครั้งหลังทราบว่าต่อมทอนซิลอักเสบ
- ควรเตือนให้ล้างมือหลังไอหรือจาม
- ให้ใช้กระดาษทิชชูป้องปิดปากเวลาไอหรือจาม
- ให้พักอยู่บ้านระหว่างเจ็บป่วย
แหล่งที่มา โรงพยาบาลกรุงเทพ และ medparkhospital
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY