เคยหรือไม่? เล่นโทรศัพท์จน “นิ้วล็อก” หรือ ปวดตามข้อนิ้ว ไมได้เป็นแค่ผู้ใหญ่เท่านั้น วัยรุ่นก็สามารถเป็นได้ แก้ได้ไม่ยาก ง่ายนิดเดียว!
เชื่อว่าหลายๆคนต้องเคยเผชิญกับอาการปวดตามข้อนิ้ว หรือมีอาการนิ้วขยับไม่ได้ นั้นคือโรคนิ้วล็อก เป็นโรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย เมื่อก่อนจะเกิดผู้ใหญ่วัย 40-50 ปี จากการใช้งานนิ้วหนัก แต่ปัจจุบันพบในวัยรุ่นมากขึ้น และหนึ่งในอาการออฟฟิศซินโดรม
เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จึงมีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ้วล็อกได้ โดยอาการจะเริ่มจากการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว
กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ้วล็อก
- อาชีพที่ต้องเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ เช่น แม่บ้าน, พนักงานออฟฟิศ, คนทำอาหาร, ช่างไฟฟ้า, ช่างไม้, ช่างโทรศัพท์, ช่างทำผม, ทันตแพทย์ หรือคนสวน เป็นต้น
- โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊าท์ หรือโรครูมาตอยด์ เป็นต้น จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อกมากขึ้น


วิธีการรักษาโรคนิ้วล็อก และการลดความเสี่ยง
- ให้ยารับประทานในกลุ่ม NSAID เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ และพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง
- ใช้เครื่องดามนิ้ว หรือการนวดเบา ๆ การประคบร้อน และการทำกายภาพบำบัด
- การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ และสามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นาน ข้อจำกัดในการรักษานี้คือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 หรือ 3 ครั้งต่อนิ้วที่เป็นโรค
- การผ่าตัด โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้าง เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้สะดวก ไม่ติดขัด หลังผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยแผลหลังผ่าตัดห้ามโดนน้ำประมาณ 1-2 อาทิตย์
หากมีอาการไม่มาก สามารถบรรเทาอาการด้วยตัวเองได้ หรือ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
- ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบในน้ำเบาๆ (ไม่ควรกำมือแน่นจนเกินไป) จะทำให้ข้อฝืดลดลง
- ไม่หิ้วของหนักเกิน ถ้าจำเป็นต้องหิ้วให้ใช้ผ้าขนหนูรอง และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนการหิ้วของ เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
ท่าบริการนิ้วง่ายๆ ลดความเสี่ยงนิ้วล็อก
- กล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น-ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย ทำ 5-10 ครั้ง/เซต
- บริหารการกำ-แบมือ โดยฝึกกำ-แบ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้ว และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ โดยทำ 6-10 ครั้ง/เซต (กรณีนิ้วล็อกไปแล้ว งดทำท่า 2.2)
- หากเริ่มมีอาการปวดตึง แนะนำให้นำมือแช่น้ำอุ่นไว้ 15 – 20 นาทีทุกวัน (วันละ 2 รอบ เช้า – เย็น) หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบแพทย์และทำการรักษาทางกายภาพต่อไป
ข้อมูล : www.siphhospital.com
สามารถติดตามข่าวสาร และ เรื่องดีๆเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ เว็บไซต์ Bright Today หรือ Facebook Bright TV